ศธ.แจง ออกแนวทางหักหนี้ครูทั่วประเทศ รมว.ศธ.คอนเฟิร์ม ตอนแก่เงินเหลือแน่

กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แจงชัด หลังออกแนวทางหักหนี้ครูทั่วประเทศ สวัสดิภาพครูตอนแก่ชรา เงินเหลือแน่ๆ “เพิ่มพูน” รมว.ศธ. คอนเฟิร์ม ต้องมีเงินเดือนสุทธิ หลังหักจากหักชำระหนี้แล้ว ไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 30


วันที่ 13 ก.พ. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ และโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการนำเสนอหัวข้อข่าว เรื่องการหักเงินบำเหน็จบำนาญแก้ไขปัญหาหนี้สินครู โดยอาจทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับการหักหนี้จากเงินบำนาญ และเกรงว่าจะไม่มีเงินเหลือใช้หลังเกษียณนั้น

โฆษก ศธ. กล่าวว่า ในนามกระทรวงศึกษาธิการ จึงอยากชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับทุกฝ่ายว่า ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการหักเงินเดือนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่สวัสดิการภายในส่วนราชการและสหกรณ์ พ.ศ. 2551 ข้อ 7 (5) กำหนดไว้ว่า ข้าราชการที่ประสงค์จะให้ส่วนราชการหักเงินเดือน หรือเงินบำเหน็จบำนาญ เพื่อชำระหนี้เงินกู้ มีสิทธิที่จะได้เลือกใช้สวัสดิการภายในส่วนราชการ หรือสหกรณ์ได้ตามความประสงค์ แต่ทั้งนี้ การจะให้ส่วนราชการหักเงิน ณ ที่จ่ายเพื่อชำระหนี้เงินกู้นั้น จะต้องมีเงินเดือนสุทธิหลังหักจากหักชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 30 ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555

...

ในกรณีการหักหนี้จากเงินบำนาญของข้าราชการบำนาญ ต้องคำนวณจากฐานเงินบำนาญในสัดส่วนที่ระเบียบกำหนด คือ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 เพราะหากใช้การคำนวณจากฐานเงินเดือนก่อนเกษียณอายุราชการ อาจทำให้ลูกหนี้บางกลุ่มเหลือเงินเดือนสุทธิน้อยกว่าที่ระเบียบกำหนด เนื่องจากฐานของเงินเดือนก่อนเกษียณอายุราชการจะสูงกว่าฐานเงินบำนาญอยู่แล้ว ส่งผลให้ไม่เหลือเงินที่จะดำรงชีพในแต่ละเดือนได้

พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาฉบับนี้ เพื่อให้ส่วนราชการในสังกัดและองค์กรในกำกับ ศธ. ดำเนินการตามระเบียบอย่างเคร่งครัด และเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อสวัสดิภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษา เนื่องจากแต่ละคนมีภาระหนี้สินที่แตกต่างกันตามความจำเป็น เราจึงคำนึงถึงเงินเดือนคงเหลือสุทธิเพื่อการดำรงชีพในส่วนนี้เป็นอย่างมาก จึงอยากให้ครูได้ใช้เงินหลังหักล้างยอดหนี้สินอย่างสุขใจ “มีกิน มีเก็บ มีเหลือ มีใช้”

นอกจากนี้ ได้ดำเนินการตั้งสถานีแก้หนี้ โดยมีคณะกรรมการแก้ไขหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาแต่ละจังหวัด ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยประสานกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู หรือสถาบันการเงินอื่น และเชิญเจ้าหนี้ทุกรายร่วมเจรจาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ หรือแก้ไขปัญหาการชำระหนี้ แล้วสรุปรวบรวมรายงานผลการดำเนินการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการทราบ ในวันที่ 10 ของทุกเดือน เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...