'ปานปรีย์' เตรียมหารือ ‘บลิงเคน’ เยือนสหรัฐอย่างเป็นทางการ 12 ก.พ. นี้

นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงการเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการของ นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่กรุงวอชิงตันดีซี ระหว่างวันที่ 10-12 ก.พ.2567 ตามคำเชิญของนายแอนโทนี เจ. บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ ระหว่างไทยกับสหรัฐที่มีมาอย่างยาวนาน และมองไปสู่อนาคต เพราะไทยและสหรัฐฯมีความสัมพันธ์ที่เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ 

สำหรับประเด็นหลักที่จะหารือกับนายบลิงเคน อาทิ "ความมั่นคง" เรื่องการฝึกซ้อมรบร่วมคอบร้าโกลด์ ที่ยังเปิดให้หลายประเทศในภูมิภาคเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งเรื่องความมั่นคงมีการหารือในระดับนโยบายและจะยกระดับต่อไป โดยการพูดคุยไม่ใช่เรื่องของความสัมพันธ์สองฝ่ายเพียงอย่างเดียว ยังมีความสัมพันธ์ในระดับภูมิภาค 

อีกประเด็นที่ต้องคุยกันต่อไปคือเรื่องของ "เมียนมา" ที่สหรัฐสนใจบทบาทของไทยที่เพิ่มความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมกับเมียนมาตามแนวชายแดน ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการมีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์ ระหว่างรัฐบาลทหารเมียนมา อาเซียน และประชาคมโลก

นายสีหศักดิ์กล่าวอีกว่า เรื่องสำคัญคือประเด็นด้านภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ที่สหรัฐพยายามผลักดันกรอบความร่วมมือเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (IPEF) ที่มีการเจรจาหลายรอบและประเทศไทยก็มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ซึ่งจะต้องหารือกันว่าจะกระชับความร่วมมือในการผลักดันกรอบ IPEF ให้มีความคืบหน้าอย่างไร

ส่วนความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ประเทศไทยมีโครงการ "แลนด์บริดจ์" นั้น นายสีหศักดิ์ กล่าวว่า สหรัฐมีความสนใจและอยากมีบทบาทที่ต้องการสร้างความเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาค ซึ่งโครงการแลนด์บริดจ์มีความสำคัญในการส่งเสริมความเชื่อมโยงระดับภูมิภาค และประเทศไทยมีความจริงจังในการดำเนินโครงการนี้

เมื่อถามว่าเป็นผลสืบเนื่องกันหรือไม่ภายหลังจากที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางเยือนสหรัฐอเมริกา และได้มีโอกาสพูดคุยถึงโครงการแลนด์บริดจ์ นายสีหศักดิ์ กล่าวว่า ถือเป็นผลสืบเนื่องกันเพราะตอนนี้สหรัฐอเมริกามีความสนใจในโครงการแลนด์บริดจ์ โดยมองเห็นว่าโครงการนี้จะช่วยส่งเสริมการเชื่อมโยงในภูมิภาค ไม่ใช่เพียงการส่งเสริมบทบาทของไทยในการเป็นศูนย์กลาง แต่ยังเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก 

ที่ผ่านมาบทบาทของสหรัฐเน้นไปที่เรื่องการเมือง ความมั่นคง แต่ระยะหลังเน้นผลักดันกรอบความร่วมมือเน้นเศรษฐกิจในอินโดแปซิฟิก นอกจาก IPEF ความเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจก็พยายามผลักดันเช่นเดียวกัน

นอกจากนายปานปรีย์จะได้พบกับนายบลิงเคนแล้ว จะมีวาระการพบกับวุฒิสมาชิก (สว.) ของสหรัฐด้วย โดยจะพบกับนายคริส แวน ฮอลเลน ประธานอนุกรรมการว่าด้วยเอเชียตะวันออก แปซิฟิก และนโยบายความปลอดภัยทางไซเบอร์ระหว่างประเทศ คณะกรรมการความสัมพันธ์ต่างประเทศวุฒิสภา รวมถึงจะพบกับ แทมมี่ ดัคเวิร์ธ วุฒิสมาชิกหญิงเชื้อสายไทย

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...