จี้สอบมือล่มวงเลือกหัวหน้าพรรคปชป.-“เดชอิศม์” แจง โหวต “เศรษฐา” ไม่ได้ขอร่วมรัฐบาล

ตัวแทนสมาชิกพรรค ปชป. ยื่นหนังสือให้ตรวจสอบหาตัว ขบวนการล่มองค์ประชุมเลือกหัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรค ด้าน “เดชอิศม์” แจง พรรคไม่ได้มีมติให้งดออกเสียงโหวตนายกฯ ชี้ เป็นเสียงส่วนมากลงความเห็น ยืนยัน ยังไม่มีการทาบทามร่วมรัฐบาล

วันที่ 29 สิงหาคม 2566 เมื่อเวลา 13.00 น. มีตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์จากกรุงเทพฯ ภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง เดินทางมายื่นหนังสือ เพื่อให้ทางกรรมการบริหารพรรคตรวจสอบข้อเท็จจริง ในการประชุมใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม

โดยช่วงเช้ามีการขอแก้ไขและยกเว้นข้อบังคับสิทธิ์การลงคะแนนเสียงของ สส.เขต ให้ลดน้อยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ และสมาชิกพรรครวมถึงกรรมการบริหารพรรคเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ แต่ปรากฏว่าในที่ประชุมไม่เห็นชอบ ก่อนจะมีการพักการประชุม จนมาถึงช่วงบ่ายจึงมีการเลือกผู้บริหารพรรค ก่อนจะทราบว่าองค์ประชุมไม่ครบจึงไม่สามารถเลือกผู้บริหารได้ หลังจากนั้นจึงมีการนัดอีกรอบคือวันที่ 6 สิงหาคม ซึ่งมองว่าการประชุมครั้งนี้มีกระบวนการที่ทำให้องค์ประชุมล่ม คือ สมาชิกบางรายมาประชุมแต่ไม่ลงชื่อ บางรายไม่เข้าร่วมประชุม และโหวตเตอร์บางส่วนก็เดินทางไปสปป.ลาว และมีอดีตผู้สมัครสส. พรรครวมไทยสร้างชาติเดินทางไปด้วย ระหว่างวันที่ 5-7 สิงหาคม จึงอยากบอกว่าการประชุมแต่ละครั้งของพรรคประชาธิปัตย์จะต้องเสียเงินไปจำนวนไม่ต่ำกว่าครั้งละ 3 ล้านบาท ในส่วนนี้มาจากค่าบำรุงสมาชิก การเสียภาษีของประชาชน ที่ศรัทธาในอุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ จึงมองว่าเป็นการไม่รับผิดชอบต่อประชาชน ไม่เคารพกรรมการบริหารพรรค และไม่เคารพข้อบังคับของพรรค วันนี้จึงเดินทางมายื่นหนังสือต่อรักษาการกรรมการบริหารพรรค ให้ดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริง ว่าบุคคลใดอยู่เบื้องหลัง ในการทำให้การประชุมล่ม และทำให้พรรคเสื่อมเสียชื่อเสียง ซึ่งในวันนี้ต้องการยื่นหนังสือต่อนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รักษาการหัวหน้าพรรคให้ดำเนินการสอบสวนตามข้อบังคับของหัวหน้าพรรค แต่ทราบว่าวันนี้นายจุรินทร์ ติดภารกิจ จึงจะยื่นหนังสือต่อนายเดชอิศม์ ขาวทอง รักษาการรองหัวหน้าพรรค แทน

...

ส่วนเรื่องที่ 2 การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์ได้ สส.เพียง 25 คน ซึ่งคนที่อยู่ในกลุ่มของเดชอิศม์ มีถึง 21 คน จึงมองว่าหาก สส.กลุ่มนี้ออกจากพรรค พรรคจะไม่มีความเป็นเสถียรภาพ และขอให้กำลังใจ ส่วนพวกตนเห็นว่า การที่จะโหวตให้ใครเป็นนายกฯ เป็นเอกสิทธิ์ส่วนบุคคล

หลังจากที่รับมอบช่อดอกไม้เพื่อเป็นกำลังใจแล้ว นายเดชอิศม์ ขาวทอง รักษาการรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ชี้แจงถึง เหตุการณ์ของการประชุมร่วมกันเพื่อคัดเลือกหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ที่ต้องล้มเลิกถึง 2 ครั้ง ว่า หลังจากวันที่ 9 กรกฎาคม ทาง นายชัยชนะ เดชเดโช รองโฆษกพรรคได้ยื่นญัตติขอให้มีการประชุมเรื่อง หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ในวันที่ 30 กรกฎาคม แต่ขณะนั้น นายนิพนธ์ บุญญามณี นายสาธิต ปิตุเตชะ นางสาวผ่องศรี ธาราภูมิ ได้ขอร้องให้เลื่อนการประชุมไปเป็นวันที่ 6 สิงหาคม ซึ่งทางกลุ่มของพวกตนก็เห็นด้วยและคิดว่าน่าจะมีผู้เข้าร่วมครบองค์ประชุม แต่ระหว่างนั้นก็พอทราบข้อมูลมาว่ามีกลุ่มบุคคลในพรรคประชาธิปัตย์คนใด คนหนึ่ง พยายามแทรกแซงเพื่อให้องค์ประชุมไม่สามารถเดินหน้าได้ในวันที่ 6 สิงหาคม จนเมื่อมาถึงวันที่ 6 สิงหาคม ก็เห็นว่ายังคงมีสมาชิกพรรคหลายคนที่นั่งอยู่ด้านล่างของโรงแรมและไม่เข้าร่วมประชุมจึงทำให้องค์ประชุมล่ม 

และในส่วนประเด็นที่ สส. ทั้ง 16 คนของพรรคประชาธิปัตย์โหวตเห็นชอบให้นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นยืนยันว่า เป็นการเห็นชอบเพื่อประเทศชาติที่จะเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งหลังจากที่มีการโหวตเห็นชอบแล้ว ขณะนี้ยืนยันว่ายังไม่มีพรรคการเมืองใดฝ่ายรัฐบาลทาบทามให้เข้าร่วมรัฐบาล โดยหลักการในการที่จะเข้าร่วมรัฐบาลนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 ข้อคือ 1. มีการทาบทามมายังพรรคประชาธิปัตย์เพื่อเชิญให้ เข้าร่วมรัฐบาล 2. ต้องผ่านการประชุมและเห็นชอบจากกรรมการบริหารพรรค และจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค 3. เมื่อผลการประชุมลงมติอย่างไรก็ต้องปฏิบัติตามอย่างนั้น แต่ในการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับการลงมติเรื่องนายกรัฐมนตรีก่อนหน้าที่จะมีการลงคะแนนเสียงนั้น ในที่ประชุมมีเพียงนายชวน หลีกภัย และนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ที่ขออนุญาตลงความเห็นว่า ไม่เห็นด้วย ส่วนทาง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รักษาการหัวหน้าพรรค เสนอให้งดออกเสียง แต่ยืนยันว่าในการประชุมครั้งนั้นไม่มีมติของพรรคว่าให้งดออกเสียงเป็นเพียงเสียงส่วนใหญ่ที่เห็นด้วย จนมาถึงช่วงเช้าของวันที่ 22 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันลงคะแนนเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี ทางกลุ่มสส. พรรคประชาธิปัตย์ ทั้ง 16 คนได้มีการประชุมหารือกันเกี่ยวกับแนวทางการลงคะแนนเสียง ก่อนจะมีมติว่า เห็นชอบนายเศรษฐา เพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ โดยยืนยันว่าการกระทำดังกล่าวไม่ได้เป็นการเรียกร้องขอเข้าร่วมรัฐบาล และหลังจากนี้จะเป็นฝ่ายค้านให้สมบูรณ์แบบที่สุด แต่อยากให้ดูตอนต่อไปว่าจะค้านจริงหรือค้านไม่จริง

ซึ่งหากย้อนไปถึงการจัดตั้งรัฐบาลก่อนหน้านี้ของพรรคก้าวไกลหากว่าไม่มีนโยบายแก้ไขมาตรา 112 ทางกลุ่มของพวกตนก็จะโหวตเห็นชอบให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี เช่นกัน 

เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามว่ากังวลหรือไม่ ที่ทางคณะกรรมการบริหารพรรคจะลงความเห็นมีมติขับ 16 สส. ออกจากพรรค โดยนายเดชอิศม์ ตอบว่า ไม่มีความกังวลแต่อย่างใด แล้วแต่มติของกรรมการบริหารพรรค 

“พรรคประชาธิปัตย์ มีความแปลกคือ เสียงส่วนน้อยจะดังกว่าเสียงส่วนมาก และ สส.สอบตกจะมีเสียงดังมากกว่า สส.ที่สอบได้ คนนอกพรรคจะมีเสียงดังมากกว่าคนที่อยู่ในพรรค ซึ่งก็มีพรรคเดียวในประเทศไทยที่เป็นแบบนี้” นายเดชอิศม์ กล่าว

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...