วช.โชว์เคส ‘ปัญญาประดิษฐ์’ เปิดช่องวิจัยไทยสู่สตาร์ตอัป

E-nose ในอุตสาหกรรมอาหาร

เทคโนโลยีตรวจวัดกลิ่นแบบดิจิทัล สำหรับการวิเคราะห์คุณภาพในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม หรือ “จมูกอิเล็กทรอนิกส์กระเป๋าหิ้ว" (E-nose) เป็นสิ่งประดิษฐ์จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ในรูปแบบธุรกิจสตาร์ตอัปชื่อ “เอ็มยูไอ โรบอติกส์” (MUI Robotics)

เศรษฐา สียัง ผู้ร่วมก่อตั้ง MUI Robotics กล่าวว่า จมูกอิเล็กทรอนิกส์ถูกพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบของเครื่องตรวจวัดกลิ่นดิจิทัลแบบกระเป๋าหิ้ว และดิจิทัลแบบตั้งโต๊ะ ที่มีความสามารถเปลี่ยนข้อมูลกลิ่นไปเป็นข้อมูลดิจิทัล ใช้วิเคราะห์กลิ่นด้วยเอไอ สามารถนำไปใช้กับงานอาหารและเครื่องดื่ม

เช่น การคัดเลือกวัตถุดิบเข้าโรงงาน การรักษามาตรฐานผลิตภัณฑ์ระหว่างกระบวนการผลิต การตรวจสอบแหล่งที่มา การตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร

นอกจากนี้ก็ยังสามารถนำไปใช้งานกับภาคอุตสาหกรรมน้ำหอมและเครื่องสำอาง ตลอดจนใช้กับงานด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การหาแหล่งกำเนิดกลิ่นที่มีผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบฟาร์มปศุสัตว์ ตลอดจนให้คำแนะนำเรื่องระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์แก่โรงงานเพื่อแก้ไขปัญหากลิ่นรบกวน เป็นต้น

การทำงานของเครื่องดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. การใช้ผู้เชี่ยวชาญสอนเอไอเพื่อให้ได้กลิ่นตรงตามมาตรฐาน
  2. การให้เอไอดมกลิ่นตัวอย่างโดยตรง หลังจากตรวจวัดกลิ่นเสร็จ เอไอจะแปลงข้อมูลกลิ่นออกมาเป็นข้อมูลดิจิทัล ได้แก่ ตัวเลขที่บอกค่าต่างๆ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจเช็กค่าอีกรอบ เพื่อให้ตรงตามมาตรฐานที่วางไว้ได้

“การพัฒนาจมูกอิเล็กทรอนิกส์เป็นการลดภาระงานของนักดม เพราะนักดมที่เป็นมนุษย์ส่วนใหญ่มักพบปัญหาเรื่องสุขภาพ และมีข้อจำกัดเรื่องปริมาณการดมในแต่ละวัน อาจจะดมได้ไม่กี่กลิ่น ดังนั้น ไอเอจะเข้ามาช่วยลดข้อจำกัดในเรื่องนี้” เศรษฐา กล่าว

ปัจจุบัน MUI Robotics จำหน่ายเครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ไปยังประเทศในเขตอาเซียน และยุโรป โดยกลุ่มลูกค้าที่สนใจ ได้แก่ ธุรกิจร้านกาแฟ ธุรกิจร้านอาหาร รวมถึงการขอมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมขยายการจำหน่ายไปสู่ตลาดยุโรปและตลาดโลก

“ต่างประเทศมี E-nose ในตลาดเป็นจำนวนมาก แต่จุดเด่นของทีมวิจัยคือ การที่เราผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีจากคนไทยโดยตรง ราคาจะถูกกว่าการนำเข้า และมีการบริการหลังการขายที่ใกล้ชิดกว่า จึงมองว่า นวัตกรรมของเราจะตอบโจทย์การใช้งานของคนไทยโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ” เศรษฐา กล่าว

เอไอติดตามจับกุมคนร้าย

ระบบการติดตามจับกุมคนร้ายโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ งานวิจัยที่ได้รับรางวัลเวทีระดับนานาชาติ ในงาน “The 48th International Exhibition of Inventions Geneva” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

ฐิตาภรณ์ กนกรัตน ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า ระบบการติดตามจับกุมคนร้ายโดยใช้เอไอ ถูกนำมาใช้ในงานตำรวจเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลอาชญากรรมผ่านระบบกล้อง CCTV อัจฉริยะ

การทำงานของระบบดังกล่าวสามารถตรวจจับเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้นในฉากของวิดีโอ โดยมีการรับภาพจากกล้อง CCTV และใช้เทคนิค Generative Adversarial Networks หรือ GAN เพื่อหาจุดผิดปกติ ระบุเวลาที่เกิดเหตุ ระบุใบหน้าผู้ก่อการร้าย สี ป้ายทะเบียนรถยนต์ จากนั้นจะแจ้งเตือนไปยังเจ้าหน้าที่ผ่านโทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่อระบบไว้

“เมื่อใช้เอไอเข้ามาช่วย จะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมีความปลอดภัยและพร้อมในการเข้าเผชิญกับภารกิจ ยังลดภาระงานตรวจสอบบางส่วน เพราะมีเอไอคอยสอดส่องอีกแรง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตำรวจได้มากขึ้น” ฐิตาภรณ์ กล่าว

ปัจจุบันระบบเอไอติดตามจับกุมคนร้ายถูกนำไปเป็นแนวทางประยุกต์ใช้กับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย มจธ. ได้ร่วมร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยี โดยมีหน่วยงานทางการศึกษานอกสังกัดตำรวจ 18 หน่วยงาน พร้อมหน่วยงานด้านการศึกษาภายในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 21 หน่วยงาน เพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์ของเครื่องมือและทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

วช.ผลักดันวิจัยไทย

วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า กิจกรรม “งานประกวดผลงานประดิษฐ์คิดค้น” เป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาให้รางวัลการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งแบ่งรางวัลออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น

การประกวดดังกล่าว เป็นเวทีให้นักประดิษฐ์ได้นำนวัตกรรมที่ตนเองคิดค้นออกเผยแพร่สู่สาธารณชน เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของนักประดิษฐ์ไทยในการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ ก็เพื่อให้คณะทำงานพิจารณาประเมินรางวัลฯ ได้ซักถามรายละเอียดเกี่ยวกับผลงานเพิ่มเติมซึ่งจะทำให้นักประดิษฐ์ได้มีโอกาสรับฟังข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปพัฒนาผลงานต่อไป

สำหรับผู้ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2567 จะเข้ารับรางวัลในงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567” ระหว่างวันที่ 2-6 ก.พ.2567

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

มาแล้ว รายชื่อ 11 ตัวจริง อาร์เซนอล-ลิเวอร์พูล บิ๊กแมตช์พรีเมียร์ลีกคืนนี้

มาแล้ว รายชื่อ 11 ตัวจริง อาร์เซนอล และ ลิเวอร์พูล ก่อนดวลเดือดศึกพรีเมียร์ลีก อังกฤศ คืนนี้ เริ่มแข...

ถึงเวลาต้องเลือก ‘อิหร่าน’ โต้กลับ หรือเลี่ยงความรุนแรง ‘อิสราเอล’

เหตุการณ์อิสราเอล โจมตีอิหร่าน ทำให้สงครามตะวันออกกลางรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่ง "การหลีกเลี่ยง หรือจะเสี่ย...

จีนเผย ‘ท่าประตูสู่อาเซียน’ ส่งออกชิ้นส่วนรถ NEV พุ่ง 70 เท่าใน 5 ปี

สำนักข่าวซินหัวรายงาน เมื่อนับถึงวันที่ 22 ต.ค. มีตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุชิ้นส่วนยานยนต์พลังงานใหม่ 1...

เอ็นเอชเค คาด พรรคแอลดีพีไม่ได้เสียงข้างมากในสภา

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานข่าวด่วน อ้างการคาดการณ์จากสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคของญี่ปุ่น เบื้องต้นยังไม่ทรา...