แกนนำอดีต อนค.อุทธรณ์สู้คดีแฟลชม็อบ เทียบคดีปิดสนามบินม็อบ พธม.โดนแค่ปรับ

เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2567 ที่ศาลแขวงปทุมวัน ผู้สื่อข่าวรายงานภายหลังศาลพิพากษาจำคุก 4 เดือน ปรับ 10,200 บาท จำเลย 8 คน แต่รอลงอาญา 2 ปี ในความผิดตาม พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะฯ จากการร่วมชุมนุมแฟลชม็อบ บริเวณสกายวอล์กสี่แยกปทุมวัน หน้าหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2562 โดยจำเลย 8 รายประกอบด้วย  น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา, นายพริษฐ์ ชีวารักษ์, นายธนวัฒน์ วงค์ไชย, นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ, นายปิยบุตร แสงกนกกุล, น.ส.พรรณิการ์ วานิช, นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และนายไพรัฏฐโชติก์ จันทรขจร นั้น

นายปิยบุตร แสงกนกกุล อดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ปัจจุบันเป็นเลขาธิการคณะก้าวหน้า ให้สัมภาษณ์ว่า คดีนี้มีหลายประเด็นในการยื่นอุทธรณ์ต่อ  พร้อมเทียบเคียงกับคดีปิดสนามบินของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีผลกระทบจำนวนมาก และเป็นความผิดชัดเจน แต่ศาลพิจารณาสั่งปรับคนละ 20,000 บาท

นายปิยบุตร กล่าวว่า คดีการชุมนุมแฟลชม็อบ เป็นการชุมนุมใช้ระยะเวลาไม่นาน หลังเลิกชุมนุมก็มีการช่วยกันเก็บขยะ ศาลใช้ระยะเวลาอ่านคำพิพากษานานกว่าการชุมนุมดังกล่าว สุดท้ายถูกจำคุกถึง 4 เดือน ปรับ 10,200 บาท เป็นเหตุผลที่จะต้องอุทธรณ์คดีเพื่อให้ศาลสูงพิจารณา ส่วนเรื่องความไม่เหมาะสมของกฎหมายก็อยากจะฝากให้พรรคก้าวไกลไปพิจารณาแก้ไขในสภาต่อไป

ส่วนนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวว่า จากการหารือกับจำเลยคนอื่น ว่า จะ ต้องยื่นอุทธรณ์คดีเพราะมีประเด็น ข้อเท็จจริงเรื่องของระยะของการชุมนุมใกล้เขตพระราชฐานว่า อาจจะมีความคลาดเคลื่อนของ 150 เมตรว่าวัดจากจุดไหน เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานกับคดีอื่ นๆ  โดยการที่ศาลตัดสินในลักษณะนี้ ไม่ทำให้พรรคก้าวไกลเสียเครดิตทางการเมือง เนื่องจากประชาชนมีความเข้าใจในข้อเท็จจริง อยากโฟกัสเรื่องงานเพราะสัปดาห์หน้าจะไปสภาอภิปรายเรื่องของปัญหาการประมง

ขณะที่นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ในฐานะทนายความฝั่งจำเลย กล่าวว่า จำเลยยังติดใจในประเด็นเรื่องของระยะ 150 เมตรของเขตมาตรฐานว่าวัดจากจุดไหน ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าว มีการเทียบเคียงกับคดีอื่น ที่มีการชุมนุมสถานที่เดียวกัน จุดเดียวกัน ซึ่งศาลอาญากรุงเทพใต้ เคยมีคำพิพากษายกฟ้อง ข้อหาชุมนุมใกล้เขตพระราชฐานในระยะ 150 เมตร ทั้งที่เป็นการชุมนุมจุดเดียว อีกทั้งในประเด็นเรื่องของการไม่แจ้งการชุมนุมต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ศาลแขวงจังหวัดเชียงราย เคยมีคำวินิจฉัยว่าไม่จำเป็นต้องขออนุญาต เพียงแต่ต้องแจ้งพนักงานสอบสวนให้ทราบเท่านั้น แต่หากมีการโพสต์ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียก็ถือว่าเจ้าหน้าที่รับรู้แล้ว

นายกฤษฎางค์ กล่าวอีกว่า คดีนี้ตำรวจรับรู้ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2562 แล้วว่ามีการชุมนุม เนื่องจากจำเลยมีการโพสต์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และความคิดเห็นส่วนตัวในฐานะทนาย คิดว่าจำเลยควรที่จะอุทธรณ์คดี เรื่องนี้ไม่ต้องการเอาชนะ แต่ต้องการความจริง ตนเคารพคำพิพากษาศาล แต่เคารพข้อเท็จจริงมากกว่า ส่วนอัยการจะอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานหนักกว่าเดิมหรือไม่ ต้องถามทางอัยการ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...