ภูมิใจไทย ยื่นร่างกฎหมายยกเลิกประกาศ-คำสั่ง คสช. แทรกแซงสื่อ-เสรีภาพประชาชน

“สฤษฏ์พงษ์” นำทีม สส.ภูมิใจไทย ยื่นร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช. ตั้งเป้ายกเลิก 71 ฉบับ ที่เป็นการแทรกแซงควบคุมสื่อมวลชน-สิทธิเสรีภาพประชาชน 

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จังหวัดกระบี่ พรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วย นายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ สส.สระบุรี และนายเรืองวิทย์ คูณวัฒนาพงษ์ สส.สุรินทร์ พรรคภูมิใจไทย แถลงข่าวภายหลังการยื่นร่าง พระราชบัญญัติยกเลิกประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย พ.ศ. .... ต่อ นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร และเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร 

นายสฤษฏ์พงษ์ กล่าวว่า พรรคภูมิใจไทยได้ยื่นเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ระบบไปเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 สืบเนื่องจาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย มอบหมายให้ นายศุภชัย ใจสมุทร และทีมฝ่ายกฎหมายของพรรคภูมิใจไทย ไปศึกษาในเรื่องของประกาศและคำสั่งของ คสช. ที่มีปัญหาเป็นอุปสรรคในเรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตย และได้รับร้องเรียนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งจากการศึกษาประกาศ และคำสั่ง คสช. มีทั้งหมด 240 ฉบับ การยกเลิกต้องออกเป็นกฎหมาย ซึ่งจะมีทั้งสิ้น 71 ฉบับ โดยศักดิ์ของกฎหมาย คำสั่ง และประกาศของ คสช. เทียบเท่ากับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ดังนั้น ถ้าจะยกเลิกจะต้องทำเป็น พ.ร.บ. ซึ่งจากการศึกษาพบว่า คำสั่งของ คสช. ที่จะบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไปนั้นมีทั้งหมด 37 ฉบับ ที่ต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) และกฎกระทรวงอย่างละ 2 ฉบับ เป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) 55 เรื่อง  

...

สำหรับร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกคำสั่ง คสช. ฉบับที่ยื่นนี้ ยกร่างเอาไว้ 7 มาตรา เป็นกฎหมายพ่วง หลายๆ ฉบับแนบท้ายร่างที่นำเสนอ เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้ประเทศของเราเข้าสู่ระบบประชาธิปไตย แต่ยังมีเรื่องเป็นอุปสรรคในการไปแทรกแซงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพี่น้องประชาชนและสื่อมวลชน รวมถึงสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุม จึงอยากให้เพื่อนสมาชิก สส. ให้ความเห็นชอบและผ่านร่างกฎหมายนี้โดยเร็ว

นายสฤษฏ์พงษ์ ระบุในช่วงท้ายว่า “ประเทศไทยในวันนี้มีประกาศคณะปฏิวัติที่บังคับใช้อยู่รวมกว่า 1,000 ฉบับ ซึ่งก่อนครบวาระสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 มีการพยายามทำกฎหมายโดยการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการจัดทำประมวลกฎหมาย และกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงโดยสะดวก แต่ กมธ.ชุดนี้ ดำเนินการไปเพียง 12 ครั้ง ก็ไม่สำเร็จ ผมไม่ได้ตําหนิในเรื่องของประกาศคณะปฏิวัติ แต่เมื่อมีความจําเป็น บางฉบับใช้เป็นเครื่องมือในการปกครองประเทศได้ดี แต่ในปัจจุบันการทําจากคําว่าประกาศคณะปฏิวัติ มาให้เป็นกฎหมายจากฝ่ายบัญญัติ มันจะดูดีในสายตาต่างชาติ จะมาลงทุนในประเทศไทย เรามีรัฐสภาที่เป็นสภานิติบัญญัติ ที่นี่เป็นที่ผลิตกฎหมาย ที่นี่เป็นที่ผลิตเครื่องมือในการปกครอง เรามีพื้นที่ 424,000 ตารางเมตร ลงทุนเป็นหมื่นล้าน เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ไม่จําเป็นจะต้องให้อํานาจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในเรื่องของการที่มายึดอํานาจ และออกกฎหมายแทนสภานิติบัญญัติ”

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...