'ดิเรกฤทธิ์' โวยรัฐบาล เตะถ่วง 'ซักฟอก' ลากยาว มี.ค.หวังยื้อหมดอายุ สว.

5 กพ.2567 ที่รัฐสภา นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลตอบรับการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 153 ในช่วงหลังวันที่ 15 มี.ค.เป็น กรอบเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ว่า ความเห็นส่วนตัว อยากจะตำหนิรัฐบาล ว่าการใช้สิทธิของวุฒิสภาเพื่อเปิดอภิปรายเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล และประชาชน เป็นการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ที่ระบุอยู่ในมาตรา 171 ถ้าท่านจะปฎิเสธการทำหน้าที่ของวุฒิสภา โดยเห็นว่าการทำหน้าที่ในฝ่ายบริหารและทำตามนโยบายอื่นๆ สำคัญกว่าเรื่องนี้ ตนคิดว่าน่าจะไม่ถูกต้อง ละเลยความสำคัญของการทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องมาชี้แจงทั้งคณะร้ฐมนตรี (ครม.) 

“ขอเรียนว่า เรื่องที่เราเปิดอภิปรายทั้ง 7 ประเด็น นานวันเข้า ข้อมูล ข้อเรียกร้อง ข้อสงสัยมากมายของประชาชนได้เกิดขึ้น ถ้าปล่อยให้มีการดำเนินการในบางเรื่อง อาจจะสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติอย่างแก้ไขไม่ได้ เพราะฉะนั้น วุฒิสภาเห็นว่า มีเรื่องที่สำคัญเพียงพอที่จะเปิดอภิปราย มีความสุกงอมมากพอ และจำเป็นต้องเท่าทันกับห้วงเวลาที่จะเกิดปัญหา เรามีเหตุมีผล เรายกร่างหนังสือมา และทำตามเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญทุกประการ ดังนั้น การที่รัฐบาลจะมาตอบเราปลายเดือน มี.ค.เป็นต้นไป หรือปล่อยให้เราหมดวาระการดำรงตำแหน่งนั้น ไม่ควรกระทำ เพราะเป็นการละเลยการทำหน้าที่ที่ดีของรัฐบาลของประชาชน“ นายดิเรกฤทธิ์ กล่าว

ส่วนจะมองว่าเป็นการดึงเวลา เพื่อให้กระแสเบาลงไปหรือไม่นั้น ก็เป็นเหตุผลที่ประชาชนคลางแคลงสงสัยเหมือนกัน การดึงเวลาไว้ ไม่ได้มีประโยชน์ต่อรัฐบาลเลย มีแต่ผลเสีย เพราะเป็นหน้าที่ที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับระบบรัฐสภา และตัวแทนของประชาชน 

ดังนั้น เมื่อวุฒิสภาทำหน้าที่เหล่านี้ รัฐบาลต้องวางเรื่องอื่น รัฐบาลต้องให้ความสำคัญ และมาตอบ แถลงข้อเท็จจริง แถลงปัญหา ข้อจำกัด เพื่อหาวิธีการจัดการกับเรื่องที่รัฐบาลจะขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน

สำหรับเวลาที่ให้รัฐบาลอภิปรายนั้น นายดิเรกฤทธิ์ กล่าวว่า ตามที่ทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรไป คือ 2 วัน จันทร์และอังคารในเดือน ก.พ. ซึ่งก็มีหลายสัปดาห์ ดังนั้น ท่านจะต้องยินยอม พร้อมใจ หาวันให้เรา บรรจุลงระเบียบวาระ

“แต่ถ้าท่านละเลย หรือให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อยไปหน่อย ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าตำหนิ หากท่านเห็นว่า มีเรื่องอื่นที่สำคัญกว่า แล้วให้เวลาเราปลาย มี.ค. ซึ่งท่านก็ไม่แน่ใจด้วยซ้ำ เป็นเพียงข่าวจากแกนนำของรัฐบาล ไม่ได้ให้ตามคำขอของเรา ถ้าเกิดท่านติดภารกิจอีก มันจะไปเดือน เม.ย.ใช่หรือไม่ อย่างไร ถ้าไป เม.ย. แล้วเปิดไม่ได้ ติดสมัยประชุม ก็จะถึงวิธีการที่ไม่ต้องมาอธิบายเลยใช่หรือไม่“ นายดิเรกฤทธิ์ กล่าว

เมื่อถามถึงกรณีที่ประธานวุฒิสภา ยังไม่บรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องเร่งด่วน นายดิเรกฤทธิ์ กล่าวว่า ตนจะถามนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เหมือนกันว่า ทำไม ถึงยอมให้รัฐบาลเขาต่อรองเราได้ เพราะเรากำหนดไปแล้ว หากเขาไม่มา เราก็อภิปรายข้างเดียวไปเลย หากรัฐบาลไม่มา ก็ถือว่าไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เรื่องอย่างนี้ ไม่ให้ความสำคัญไม่ได้ เพราะระบบรัฐสภาไปไม่ได้ ดังนั้น รัฐบาลต้องมาแถลงข้อเท็จจริง ชี้แจงข้อขัดข้อง และคำถามที่วุฒิสภาแจ้งไปแล้ว

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...