“เพื่อไทย” เดินหน้าตั้ง กมธ.ศึกษา ก.ม.นิรโทษกรรม กรอบ 60 วัน ไม่ซื้อเวลา

พรรคเพื่อไทย เดินหน้า ตั้ง กมธ.ศึกษา ก.ม.นิรโทษกรรม กรอบ 60 วัน ยัน ไม่ซื้อเวลา ชี้ “ไม่นานเกินไป แต่ไม่ช้าเกินรอ” ยื่นแก้กฎหมายประชามติ ออกเสียงอิเล็กทรอนิกส์ได้ 

วันที่ 30 ม.ค. 2567 นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยนายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ สส.บัญชีรายชื่อ และรองโฆษกพรรคเพื่อไทย นายจิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย ร่วมแถลงข่าวเสนอร่างแก้ไขพระราชบัญญัติประชามติ ปี พ.ศ. 2567 และเดินหน้าตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ของนางสาวขัตติยา สวัสดิผล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย โดยจะเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถูกบรรจุเป็นวาระในที่ประชุมแล้ว ขอเลื่อนขึ้นมาเป็นญัตติด่วนในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันพุธที่ 31 มกราคม หรือ 1 กุมภาพันธ์ 2567

นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เนื่องจากขณะนี้มีความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายในการพิจารณาร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการนิรโทษกรรม จึงอยากรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย รวมทั้งฝ่ายพรรคการเมือง ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดจะต้องพิจารณากฎหมาย เพื่อหาข้อยุติให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยคณะกรรมาธิการที่จะเกิดขึ้น เป้าประสงค์ของพรรคเพื่อไทย คือต้องการให้ทุกพรรคการเมือง และบุคคลภายนอก เข้ามามีส่วนร่วมในคณะกรรมาธิการชุดนี้ให้ได้มากที่สุด โดยองค์ประกอบของคณะกรรมาธิการชุดนี้ ควรมีไม่เกิน 28-29 คน และกรรมาธิการควรมาจาก สส.ของพรรคที่มีจุดยืนในระบอบประชาธิปไตยอย่างเข้มแข็ง ได้รับการยอมรับ และควรเปิดกว้างให้ภาคประชาชนและนักวิชาการที่มีประสบการณ์ในเรื่องนี้เข้ามาร่วมศึกษา

พรรคเพื่อไทย ยืนยันว่า การเสนอตั้งคณะกรรมาธิการชุดนี้ ไม่ได้เป็นการซื้อเวลา เรายืนยันว่า การศึกษาในเรื่องนี้ ควรใช้เวลา “ไม่นานเกินไป แต่ไม่ช้าเกินรอ” คือไม่เกิน 60 วัน ซึ่งถือว่าเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม ไม่ช้าจนเกินไป และไม่เร็วจนเกินไป เพื่อความรอบคอบ รัดกุม รับฟังทุกเสียงสะท้อนให้มากที่สุด

...

สำหรับจุดยืนของพรรคเพื่อไทย มองว่า การนิรโทษกรรมควรเป็นนิมิตหมายอันดีในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยไม่ควรเป็นสาเหตุของการสร้างความขัดแย้งขึ้นมาใหม่

นอกจากนี้ ในวันที่ 1 ก.พ. 67 พรรคเพื่อไทยจะเสนอญัตติต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ปี พ.ศ.2564 โดย สส.ของพรรคเพื่อไทยได้ลงนามเรียบแล้ว และจะยื่นประธานสภาฯ ในเวลา 11.00 น. ซึ่งพรรคร่วมฝ่ายค้านก็เห็นด้วยในการแก้ไขกฎหมายนี้ โดยแก้ไขในประเด็นที่น่าสนใจ เช่น

1. ประชาชนต้องใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ (เสียงข้างมากแรก)
2. เมื่อออกเสียงแล้ว ต้องชนะกันที่เสียงข้างมากต้องเกินกว่าหรือมากกว่าผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน หรือผู้ประสงค์จะไม่ใช้สิทธิ (เสียงข้างมากสอง) จากเดิมที่ผู้ชนะกันเสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิ
3. การออกเสียงประชามติ สามารถการออกเสียงคะแนนเลือกตั้งทั่วไปพร้อมๆ กันได้ เพื่อประหยัดงบประมาณ
4. การออกเสียงสามารถออกเสียงโดยการกากบาทที่บัตร โดยจะเสนอให้ออกเสียงด้วยวิธีการอื่นๆ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนออกเสียงมากขึ้น เช่น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือไปรษณีย์ ฯลฯ ซึ่งขึ้นอยู่กับความพร้อมในการดำเนินการในการทำประชามติ
5. ถ้าจะออกเสียงประชามติ กกต.ต้องเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยได้แสดงความเห็น โดยเสมอภาคเท่าเทียมกัน จากเดิมที่กฎหมายมีข้อกำหนดห้ามรณรงค์ออกเสียง หรือ ไม่ออกเสียง

นายจิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคเพื่อไทย อยู่ระหว่างการเตรียมเสนอ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อสร้างหลักประกันการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานให้พี่น้องชาติพันธุ์ ได้เข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลและการศึกษา วางหลักการคุ้มครองส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การคงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยจะจัดให้มีกลไก “คณะกรรมการชาติพันธุ์แห่งชาติ” ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธาน และยังจัดให้มี “สมัชชากลุ่มชาติพันธุ์” ที่มีการรวบรวมกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เบื้องต้นมีพี่น้องชาติพันธุ์ 50 กลุ่ม มีการจัดทำข้อมูลประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ เพื่อให้เข้าถึงสิทธิ์การออกบัตรประชาชน ซึ่งปัจจุบันพบว่า มีพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ 500,000 คนไม่มีบัตรประชาชน นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาไปถึงพี่น้องชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่พื้นที่ราบสูงและชาวเล ซึ่งจะอาศัยในพื้นที่ป่า พื้นที่ทะเล ซึ่งจะส่งผลต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต และทำการประมง เพื่อไม่ให้เกิดข้อพิพาทในกฎหมายอื่นๆ ด้วย

ปัจจุบันสถานะของ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ อยู่ในขั้นตอนการรวบรวมรายชื่อ สส.พรรคเพื่อไทย หากครบแล้วจะเสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมกับร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ปี พ.ศ. 2564

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...