'อุตตม' เสนอ New Thailand Narrative กำหนดบริบทใหม่ฟื้นเศรษฐกิจประเทศ

วันที่ 20 มกราคม 2567 นายอุตตม สาวนายน ประธานกรรมการนโยบายพรรคพลังประชารัฐ ได้แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงแนวทางการฟื้นและพัฒนาเศรษฐกิจประเทศว่า วันที่ 16 มกราคม พรรคพลังประชารัฐ ได้จัดเวทีเสวนาในหัวข้อ 'พลิกมุมคิด เรื่องการเงินการคลัง' โดยมีตนเองกับนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ร่วมกันคิด เพื่อเสนอแนวทางการผลักดันเศรษฐกิจประเทศให้ขยายตัวทั้งในระยะสั้นอย่างเร่งด่วน และยั่งยืนในระยะยาว

 

 

การกำหนดบริบทใหม่ประเทศ (New Thailand Narrative) มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจท่ามกลางปัญหา ความเสี่ยงและความท้าทายมากมายในปัจจุบัน รวมทั้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นเราควรต้องหาแนวทางการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมๆ ที่เป็นอยู่ เพื่อสร้างแนวทางไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า

 

สิ่งที่ตนนำเสนอในเวทีเสวนาวันนั้น สรุปมุมมองสำคัญ คือ การสร้างบริบทใหม่ประเทศต้องเริ่มต้นจาก 'สังคมมติ' ที่ทุกฝ่ายต้องมีส่วนร่วมเป็นน้ำหนี่งใจเดียวภายใต้เป้าหมายเดียวกัน

 

ก่อนหน้านี้มีข่าวผ่านสื่อมวลชนถึงความคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลผู้ดูแลเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านนโยบายการคลัง กับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ดูแลด้านนโยบายเสถียรภาพการเงิน ซึ่งในอดีตอาจเป็นเรื่องปกติที่ต่างก็มีบทบาทหน้าที่ของตัวเอง แต่โลกวันนี้จะเห็นได้ว่าหลายประเทศชั้นนำเดินหน้าเครื่องมือทั้งนโบบายการเงินและและนโยบายการคลังควบคู่กัน เพราะความเสี่ยงและความท้าทายเศรษฐกิจโลกเพิ่มมากขึ้นรอบด้าน การใช้เครื่องมือทั้งสองโดยไม่สอดประสานกันทำให้การขับเคลื่อนไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการรับมือ

 

 

นายอุตตม ยังกล่าวอีกว่า มั่นใจว่าการขับเคลื่อนระหว่างการผลักดันเศรษฐกิจให้ขยายตัว สามารถทำได้ควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน เพราะความจริงทั้งสองเครื่องมือนั้นมีเป้าหมายเดียวกัน คือการทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน เพียงแต่ผู้มีหน้าที่ต้องพูดคุยทำงานสอดประสานกันให้มีจุด 'สมดุล' ทั้งสองด้าน

 

สำหรับนโยบายการคลัง การที่จะทำให้เข้าสู่สมดุลระหว่างการเร่งฟื้นเศรษฐกิจกับการเติบโตที่ยั่งยืน จำเป็นต้องใช้ชุดนโยบายและมาตรการที่รัดกุม ตรงเป้า ทั้งการแก้ปัญหาที่สั่งสมมานานจนกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อความอ่อนแอประเทศ ทั้งเรื่องปัญหาความเหลื่อมล้ำ หนี้สินภาคครัวเรือน การเข้าถึงแหล่งทุนของธุรกิจ SME การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะในโลกการแข่งขันปัจจุบัน รวมไปถึงการเข้าสู่สังคมสูงวัยที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจประเทศในอีกไม่นาน สิ่งเหล่านี้ภาคการคลังต้องกำหนดนโยบาย มาตรการและการลงทุนเข้าไปรองรับ สอดรับการปฏิรูปโครงสร้างการคลังและการใช้จ่ายงบประมาณ


 
ทุกฝ่ายทราบดีว่า ปี 2567 จะเป็นปีที่โลกมีความเสี่ยงทางเศรษฐกิจสูงมาก หากเราไม่สามารถเร่งการฟื้นเศรษฐกิจให้เติบโตได้เร็วกว่าที่เป็นอยู่ พร้อมๆกับสร้างความเข้มแข็งให้เพียงพอต่อการรับมือความเสี่ยงใหม่ๆ ที่ใหญ่กว่าเดิม เราอาจต้องเผชิญความยากลำบากยิ่งขึ้น ดังนั้นสังคมไทยต้องมาร่วมกันประกาศบริบทใหม่ New Thailand Narrative ให้โลกได้รับรู้ วันนี้เราต้องไม่ทำแบบเดิมๆ เพื่อผลลัพธ์แบบเดิมๆ อีกต่อไป

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘อีลอน มัสก์’ หนุน ‘ทรัมป์’ พนักงานบริจาคให้‘แฮร์ริส’

ข้อมูลจากโอเพนซีเคร็ตส์ องค์กรไม่หวังผลกำไรไม่แบ่งฝักฝ่าย ผู้ติดตามข้อมูลการบริจาคเงินหาเสียงและการล...

สหภาพแรงงาน Teamsters ไม่หนุน'ทรัมป์-แฮร์ริส'

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า สหภาพแรงงานทีมสเตอร์สมีสมาชิกกว่า 1.3 ล้านคน เป็นตัวแทนของกลุ่มคนขับรถบร...

ครึ่งแรกปี67จีนครองแชมป์ซื้อคอนโดเมียนมาซิวเบอร์สองแซงรัสเซีย2ปีซ้อน

วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เป...

อสังหาฯ แบกสต็อกอ่วม 1.57 ล้านล้าน เอ็นพีแอลพุ่ง ‘ทุกตลาดติดลบหนัก’

นายกสมาคมอาหารชุด หวังเร่งแก้นอมินีต่างชาติในตลาดบ้านมูลค่า 1 ล้านล้านบาท จัดเก็บภาษี หวังแบงก์ชาติล...