'อธิบดีกรมการปกครอง' สั่งตรวจสอบโรงงานพลุทั่ว กทม.หวั่นซ้ำรอย สุพรรณบุรี


18 ม.ค.2567 ที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวถึงการตรวจสอบใบอนุญาตเหตุโรงงานพลุระเบิดที่ จ.สุพรรณบุรี จนมีผู้เสียชีวิตหลายราย ว่า โรงงานนี้ได้ใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย ตั้งแต่ปี 2564 และต่อใบอนุญาตทุกปี โดยผ่านการอนุมัติจากนายอำเภอเมืองสุพรรณบุรี หลังผ่านหลักเกณฑ์ อาทิ ผู้ขออนุญาตไม่มีประวัติอาชญากรรม สถานที่ตั้งโรงงานเป็นไปตามระเบียบของกฎหมายผังเมือง รวมถึงผ่านการทำประชาคมจากชาวบ้านในพื้นที่ ส่วนในพื้นที่ กทม. ตนได้ให้มีการตรวจสอบว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่  

ส่วนสาเหตุพลุระเบิดนั้น ยังไม่ทราบ แต่มีการยืนยันแล้วว่ามีผู้เสียชีวิต 23 ราย และล่าสุดเมื่อเช้าพบเพิ่มอีก 2 ราย ที่ไม่สามารถยืนยันตัวตนได้ ซึ่งวันนี้ทางนิติวิทยาศาสตร์ได้เข้าไปตรวจสอบพื้นที่ก่อนนำร่างไปพิสูจน์อัตลักษณ์ พร้อมย้ำว่า การตั้งโรงงานดังกล่าวได้รับการอนุญาตถูกต้อง และได้มีการกำชับแล้ว หลังเกิดเหตุพลุระเบิด ได้ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบตลอด 

ส่วนเหตุระเบิกสามารถเอาผิดทางกฎหมายกับผู้ใดได้บ้างนั้น อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า ต้องขอตรวจสอบสาเหตุที่แท้จริงก่อน ตอนนี้ยังไม่สามารถระบุต้นเหตุได้ 

เมื่อถามว่า โรงงานดังกล่าวเคยเกิดเหตุระเบิดเมื่อปี 2565 และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย ทำไมถึงได้รับการอนุญาตตั้งโรงงาน อธิบดีกรมการปกครอง ย้ำว่า การได้รับอนุญาตจะต้องขอพื้นที่และรับฟังเสียงชาวบ้านในพื้นที่ โดยทั้งหมดผ่านกระบวนการแล้ว ดังนั้นขอให้เจ้าหน้าที่ EOD ตรวจหาสาเหตุก่อน เพราะมีการตั้งข้อสังเกตว่าทำไมถึงมีคนไปรวมตัวภายในโรงงานดังกล่าวเยอะกว่า 20 คน คน ซึ่งไม่รู้ว่ามีงานเลี้ยงหรืออะไรหรือไม่ ก่อนที่จะเกิดเหตุ

ทั้งนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย ก็มีความห่วงใยและได้สั่งการจังหวัดให้ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ และมอบเงินช่วยเหลือเยียวยา นอกเหนือหน่วยงานกระทรวงอื่นด้วย

ส่วนที่สังคมตั้งคำถามว่าเงินช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียชีวิตน้อยไปหรือไม่ อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า จะมีการหาหน่วยงานอื่นเข้ามาช่วยเหลือเพิ่มเติม เพราะผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ เป็นผู้ใหญ่และมีบุตรที่ต้องศึกษาเล่าเรียน ดังนั้น จึงต้องดูว่าจะมีการตั้งกองทุนเพื่อมาดูแลหรือไม่ โดยทางผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี รับเรื่องดังกล่าวไปพิจารณาแล้ว

สำหรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นประกอบด้วย
-กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีเงินอุดหนุนช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม กรณีฉุกเฉิน ครอบครัวละ 3,000 บาท

-ราชประชานุเคราะห์ฯ มีค่าทำศพ 10,000 บาท

-กระทรวงแรงงาน โดยหน่วยงานจัดหางาน คุ้มครองแรงงาน ผู้ประกันตนและผู้ขึ้นทะเบียน จะช่วยเหลือด้วย

-กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี  แบ่งเงินช่วยเหลือดังนี้
ค่าจัดการศพ 50,000
ทุนเลี้ยงชีพครอบครัว 30,000
มีบุตรไม่เกิน 25 ปี ได้อีก 50,000
ทุนเลี้ยงชีพ กรณีบาดเจ็บสาหัส 30,000+ เลี้ยงชีพ 15,000

-กระทรวงยุติธรรม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่สอง) พ.ศ. 2559 โดยอยู่ที่คณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา (ผู้ว่าฯ เป็นประธาน) พิจารณาช่วยเหลือรายละไม่เกิน 200,000 บาท ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะอนุกรรมการฯ

-ท้องถิ่น (ประกาศภัย) 29,700 ส่วนถ้าเป็นหัวหน้าครอบครัว จะได้เพิ่มอีกเท่านึง (59,400)

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...