“รังสิมันต์-รอมฎอน” รับหนังสือนักกิจกรรมชายแดนใต้ ร้องปมถูกกฎหมายปิดปาก

“รังสิมันต์-รอมฎอน” กมธ.ความมั่นคงฯ รับหนังสือนักกิจกรรมชายแดนใต้ ปม แม่ทัพภาค 4 ฟ้องดำเนินคดี ใช้กฎหมายปิดปาก ชี้ วิธีคิดหน่วยงานความมั่นคงมีปัญหา ห่วงการดำเนินคดีส่งผลเสียต่อกระบวนการสันติภาพ จ่อเชิญหน่วยงานแจง 25 ม.ค. 

วันที่ 17 ม.ค. 67 ที่อาคารรัฐสภา นักกิจกรรมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ เพื่อร้องเรียนกรณีที่แม่ทัพภาคที่ 4 ฟ้องร้องดำเนินคดีนักกิจกรรมในพื้นที่ ทั้งกรณีการสวมชุดมลายู และการจัดกิจกรรมระดมทุนช่วยเหลือครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ โดยมี รังสิมันต์ โรม และรอมฎอน ปันจอร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นตัวแทนคณะกรรมาธิการฯ เข้ารับหนังสือร้องเรียนดังกล่าว

รังสิมันต์ ระบุว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถ้ารัฐยังใช้วิธีคิดภายใต้กรอบ “ความมั่นคง” แบบเดิมก็คงจะได้ผลแบบเดิม ที่ผ่านมาแม้ตนและเพื่อน สส.จากหลายพรรคจะได้ทำหน้าที่ผู้แทนเป็นปากเป็นเสียงอย่างเต็มที่แล้ว แต่ลำพังกลไกรัฐสภาอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ภาคประชาชนหลายฝ่ายก็พยายามทำทุกวิถีทางในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้น แต่ต้องยอมรับว่าวิธีคิดที่ผ่านมาของรัฐอาจจะทำให้ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้

ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการความมั่นคงฯ ซึ่งมี สส.จากพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้หลายคน และมีตัวแทนจากหลายพรรคการเมือง ได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น โดยในวันที่ 25 มกราคมนี้จะมีการประชุมกันในประเด็นการใช้กฎหมายและการคุกคามต่อทั้งนักกิจกรรมและประชาชนในพื้นที่ชายแดนใต้ ซึ่งตนหวังว่าจะมีตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ รวมถึง กอ.รมน. เข้าร่วมด้วย เพื่อนำไปสู่การหาทางออกร่วมกันได้

...

“ยืนยันว่าเราอยากเห็นสันติภาพในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จริง การแก้ปัญหาต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ซึ่งเราหวังว่าจะเป็นสะพานในการแก้ปัญหาที่ประชาชนได้รับความไม่เป็นธรรมให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด” รังสิมันต์ กล่าว 

ขณะที่ รอมฎอน ระบุว่า ความน่าสนใจของกรณีนี้คือ นิยามของคำว่า “ความมั่นคง” ควรครอบคลุมกว้างแค่ไหน โดยขณะนี้คณะกรรมาธิการความมั่นคงฯ ไม่ได้ดูแค่เรื่องของการทหาร หรือความมั่นคงในแบบจารีตเท่านั้น แต่เราดูไปไกลกว่านั้น ซึ่งรวมถึงการสร้างสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย ดังนั้นรัฐต้องมีนิยามเกี่ยวกับความมั่นคงใหม่ ซึ่งมีความเกี่ยวโยงและเป็นธรรมกับประชาชนมากขึ้น

“จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากมิติของการดำเนินคดีแล้ว ยังมีผลกระทบในทางการเมืองและนโยบายการสร้างสันติสุขของรัฐบาล ซึ่งจะส่งผลต่อผู้คนที่มีส่วนได้ส่วนเสียมากมาย ดังนั้นสภาผู้แทนราษฎรควรจะได้เป็นพื้นที่ในการพูดคุยและหาทางออกร่วมกัน เราอาจจะได้นิยามความหมายใหม่ของคำว่าความมั่นคงที่เป็นธรรมต่อประชาชนมากขึ้น” นายรอมฎอน กล่าว.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...