รัฐบาล ย้ำ แลนด์บริดจ์คือจุดยุทธศาสตร์ขนส่งทั่วโลก เชื่อมั่นดึงดูดต่างชาติลงทุน

โฆษกรัฐบาล เผย Landbridge คือจุดยุทธศาสตร์การขนส่งทั่วโลก เชื่อมั่นดึงดูดต่างชาติลงทุนอุตสาหกรรมในไทยเพื่อกระจายสินค้าสู่ตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ ย้ำ ไทยมีความพร้อม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันในเวทีโลก 

วันที่ 17 มกราคม 2567 นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงเพิ่มเติมต่อประเด็นโครงการ Landbridge ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ว่า รัฐบาลมุ่งต่อยอดใช้ประโยชน์ ในฐานะที่ไทยมีจุดแข็ง เป็นพื้นที่ทางผ่านหลักของโครงข่ายความร่วมมือต่างๆ ในทวีปเอเชีย และเป็นจุดศูนย์กลางความเชื่อมโยงระหว่างภาคพื้นทวีปกับมหาสมุทรของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากข้อได้เปรียบด้านปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Factor) นี้ จึงเป็นโอกาสการพัฒนาให้ไทยเป็นจุดศูนย์กลางลงทุนอุตสาหกรรมและการขนส่งของภูมิภาคและของโลกในการผลิตและกระจายสินค้าสู่นานาประเทศอย่างแท้จริง 

โฆษกรัฐบาล ระบุต่อไปว่า โครงการ Landbridge จะสามารถเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าที่ผลิตในไทยไปสู่ประเทศสมาชิกความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTEC) ภูมิภาคเบงกอลอีก 6 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ เมียนมา เนปาล ภูฏาน ศรีลังกา และอินเดีย ที่มีประชากรจำนวนประมาณ 1,730 ล้านคน ถือว่าเป็น Missing Market หรือตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสำหรับการลงทุน คาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มการเติบโตที่สูงขึ้น อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อสินค้าไปยังตลาดในกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion: GMS) ได้แก่ ลาว กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม และจีน พื้นที่ทางธุรกิจแบบ Blue Ocean ที่มีการแข่งขันไม่สูงมากและมีคู่แข่งน้อย  

...

ทั้งนี้ การเชื่อมอ่าวไทย-อันดามันด้วยโครงการ Landbridge จะนำไปสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ทั้งสองฝั่ง สร้างความเจริญ กระจายรายได้ให้พื้นที่ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนไทยและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ รวมทั้ง Landbridge อยู่ในพื้นที่ที่สมบูรณ์แบบสามารถลดความเสี่ยงต่อเหตุไม่คาดคิดหากเกิดกับเส้นทางการเดินเรือเส้นทางอื่น

“รัฐบาลมองวิสัยทัศน์ต่อโครงการ Landbridge ในภาพกว้างว่าจะเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักลงทุนที่ต้องการบริหารความเสี่ยง เห็นประโยชน์จากโอกาส และเชื่อมั่นว่าจะเป็นอีกปัจจัยขับเคลื่อนให้ไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมการผลิตและการขนส่งของภูมิภาคและของโลกอย่างแท้จริง รวมทั้ง ถือเป็นการเพิ่มช่องทางการขนส่งทางเรือของโลกเพื่อการขนส่งสินค้าได้เร็ว คล่องตัว และปลอดภัย ด้วยการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Competition) ของโลกทำให้เกิดประโยชน์จากปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Factor) ของไทย”

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...