“สว.สถิตย์” แนะ 2 แหล่งเงินทุน ดึงเงินเข้ากองทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม

“สว.สถิตย์” แนะแนวทางดึงเงินเข้ากองทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม จากแหล่งที่มาเงินทุน 2 แหล่ง บัญชีธนาคารที่ไม่เคลื่อนไหวเกิน 10 ปี และเงินจากกองสลากที่ไม่มีผู้มารับรางวัล

วันที่ 16 มกราคม 2567 นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) อดีตปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวในระหว่างการประชุมวุฒิสภา เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ว่า วิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นการประกอบธุรกิจที่มีเป้าหมายหลักเพื่อสังคม เป็นหลักการบูรณาการร่วมกันระหว่างความสามารถในการประกอบธุรกิจกับอุดมการณ์เพื่อทำประโยชน์ต่อสังคม ตามหลักการที่เรียกว่า 3P คือ กำไร (Profit) สังคมหรือคน (People) สิ่งแวดล้อมหรือโลก (Planet) 

ดังนั้น ความรู้เรื่องการบริหารธุรกิจจึงเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินกิจการเพื่อสังคมหรือวิสาหกิจเพื่อสังคม ซึ่งหมายถึงว่าจะต้องประกอบธุรกิจให้มีกำไร องค์กรนั้นจึงจะอยู่ยั่งยืนได้ และสามารถทำประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไป ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นจะต้องให้ความรู้ในการบริหารธุรกิจให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคม ซึ่งในประการแรก จึงสมควรให้มีการจัดตั้งสถาบันวิทยาการวิสาหกิจเพื่อสังคมขึ้นมาเพื่อการนี้

ประการที่ 2 การประกอบธุรกิจเพื่อสังคมเช่นเดียวกันกับการประกอบธุรกิจอื่นๆ จำเป็นจะต้องมีแหล่งเงินทุนโดยเห็นว่า ควรจะประกอบด้วยแหล่งเงินทุนดังต่อไปนี้ 

1) สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ควรจะให้ความสนับสนุนเป็นพิเศษในการให้บริการทางการเงินกับวิสาหกิจเพื่อสังคม 

2) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยควรพิจารณาศึกษาเพื่อจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์วิสาหกิจเพื่อสังคม เพื่อเปิดโอกาสให้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคมสามารถระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์นี้ 

3) ควรสนับสนุนให้กองทุนวิสาหกิจเพื่อสังคมมีเงินทุนเพียงพอในการลงทุนกับวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยอาจมีแหล่งที่มาของทุน 2 แหล่ง คือ จากเงินในบัญชีธนาคารที่ไม่เคลื่อนไหวเกิน 10 ปี และจากเงินรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ผู้ถูกรางวัลไม่ได้ขอรับเงินภายใน 10 ปี

...

ประการที่ 3 ควรมีการสนับสนุนทางด้านการตลาด ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยภาครัฐควรให้โอกาสในการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นลำดับแรก หากคุณภาพและราคาเทียบได้กับผลิตภัณฑ์ของบริษัททั่วไป ส่วนภาคเอกชนก็ควรสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจเพื่อสังคม ทั้งในด้านการจัดซื้อและในด้านการให้พื้นที่สำหรับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจเพื่อสังคม 

นอกจากนี้ ควรพิจารณาจัดทำแอปพลิเคชัน (Application) ขึ้นมา เพื่อเป็นช่องทางในการซื้อขายผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยในแอปพลิเคชันนี้ อาจประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ สถานที่ และการเดินทางไปถึงผลิตภัณฑ์นั้น การซื้อขายผลิตภัณฑ์นั้นแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ได้ในแอปพลิเคชันนี้

ทั้งนี้ นายสถิตย์ เป็นผู้ที่มีส่วนสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมใน 2 เรื่องด้วยกัน คือ ในฐานะประธานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ผลักดันให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ สนับสนุนการดำเนินงานของวิสาหกิจเพื่อสังคม และในฐานะประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ได้เสนอแนะและผลักดันให้มีกฎหมายว่าด้วยวิสาหกิจเพื่อสังคม.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...