ครม. เคาะงบปี2568 วงเงิน 3.6 ล้านล้านบาท ขาดดุล 7.13 แสนล. คิดเป็น 3.56% ต่อ GDP

วันนี้ (16 มกราคม 2567) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (16 มกราคม 2567) มีมติเห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 3,600,000 ล้านบาท และการปรับปรุงปฏิทินงบฯ ปี 68
 
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ตาม พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 24 กำหนดให้ในการจัดทำงบฯ ประจำปี ให้สำนักงบประมาณ (สงป.) กำหนดนโยบายงบฯ ประจำปี ประมาณการรายได้ วงเงินงบฯ และวิธีการเพื่อชดเชยการขาดงบดุลฯ และเสนอต่อ ครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบ ประกอบกับตามปฏิทินงบฯ ปี 68 กำหนดให้ ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบนโยบาย วงเงินงบฯ และโครงสร้างงบฯ ปี 68 ในวันที่ 16 ม.ค. 67 โดยปีงบฯ 68 คาดว่า รัฐบาลจะจัดเก็บรายได้รวมจำนวน 3,454,400 ล้านบาท เมื่อหักการคืนภาษีของกรมสรรพากร และอื่นๆ คงเหลือรายได้สุทธิจำนวน 2,887,000 ล้านบาท
 

ค. 66 สำหรับ งบฯ ลงทุน และงบฯ ชำระคืนต้นเงินกู้ มีสัดส่วนอยู่ภายในกรอบที่กำหนดตาม พ.ร.บ การเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
 
1) โครงสร้างงบประมาณ ประกอบด้วยประมาณการรายจ่าย ดังต่อไปนี้ (1) รายจ่ายประจำ จำนวน 2,713,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 180,873.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.14 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75.38 ของวงเงินงบประมาณ เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ
พ.ศ. 2567 ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 72.78 (2) รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ไม่มีรายการที่ต้องเสนอตั้งงบประมาณ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตั้งบประมาณไว้ จำนวน 118,361.1 ล้านบาท) (3) รายจ่ายลงทุน จำนวน 742,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ
พ.ศ. 2567 จำนวน 24,577.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.42 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.62 ของวงเงินงบประมาณรวม เท่ากับสัดส่วนต่องบประมาณของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (4) รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 144,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 25,680 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.70 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.00 ของวงเงินงบประมาณรวม เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งมีสัดส่วยร้อยละ 3.40
 

2) รายได้สุทธิ จำนวน 2,887,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 100,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.59
 
3) งบประมาณขาดดุล จำนวน 713,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 20,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.89 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.56 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ซึ่งนับว่าลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งก่อนหน้านี้มีสัดส่วนที่ร้อยละ 3.64
 
นอกจากนี้ ครม. ยังมีมติเห็นชอบการปรับปรุงปฏิทินงบฯ ปี 68 เนื่องจาก (1) ข้อสั่งการของ นรม. เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 ที่ขอให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญกับการนำนโยบายของรัฐบาลมากำหนดเป็นจุดเน้นที่ต้องดำเนินการในปีงบประมาณ 68 และใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนงาน/โครงการรองรับต่อไป โดยมีการกำหนดสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณที่สะท้อนถึงนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ชัดเจน มีการกำหนดตัวชี้วัดในการดำเนินแผนงาน/โครงการที่ชัดเจน สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม และกรณีจะเพิ่มหรือลดงบประมาณในรายการใด ต้องสามารถอธิบายเหตุผล และความจำเป็นได้อย่างชัดเจน (2) ให้จังหวัด และกลุ่มจังหวัดสามารถจัดทำข้อเสนอโครงการที่จะตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ให้สอดคล้องกับข้อเสนอของการกระจายอำนาจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานเชิงพื้นที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ ซึ่งด้วยหลักการและเหตุผลทั้ง 2 ข้อข้างต้นนี้ จึงได้มีการเสนอปรับปรุงปฏิทินงบฯ ปี 68
 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...