“วิษณุ” ชี้ช่องกฎหมายเงินกู้ 5 แสนล้าน แนะ “ยิ่งลักษณ์” อยากขออภัยโทษต้องรับโทษ

“วิษณุ” ปัดตอบการเมืองปีหน้า ชี้ช่อง พ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนล้าน ผ่านวาระ 1 แล้วรัฐบาลลอยตัวได้ แต่ถ้าคว่ำก่อนต้องลาออก-ยุบสภาตามธรรมเนียม แนะ “ยิ่งลักษณ์” หากอยากขออภัยโทษต้องกลับมาเป็นนักโทษก่อน จึงจะถวายฎีกาได้

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 25 ธันวาคม 2566 นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล ถึงสถานการณ์การเมืองปี 2567 จะมีอะไรพลิกผันหรือไม่ ว่า ไม่ทราบ ตนตอบไม่ถูก ผู้สื่อข่าวถามต่อถึงกรณีที่สมาชิกวุฒิสภา (สว.) จะหมดวาระ 5 ปี ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือไม่ นายวิษณุ ตอบว่า สว.ชุดนี้ไม่อยู่ ก็มี สว.ใหม่มา บทบาทเขาก็เล่นอีกแบบหนึ่ง ในส่วนนี้คงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมาก เพียงแต่ว่าอาจมีเปลี่ยนเรื่องอื่นๆ เช่นเรื่องการเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ ส่วนรัฐบาลจะปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือไม่นั้น ตนไม่ทราบอยู่ที่รัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงจริงๆ 

ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า หากพ้นวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 ไปแล้ว สว.ชุดเดิมจะไม่มีส่วนเกี่ยวกับการเลือกนายกรัฐมนตรีแล้วใช่หรือไม่ นายวิษณุ ระบุว่า ไม่มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี แต่เรื่องอื่นยังมีอำนาจอยู่ จนกว่าจะมี สว.ชุดอื่นเข้ามา คาดว่าจะใช้เวลา 2 เดือน 

ส่วนคำถามในประเด็นที่รัฐบาลจะเสนอร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท เพื่อผลักดันโครงการดิจิทัลวอลเล็ต หากไม่ผ่านสภาฯ นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ถ้าไม่ผ่านสภาฯ วาระที่ 1 เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล ด้วยการยุบสภาหรือลาออก แต่ถ้าไม่ผ่านในวาระ 2 หรือ 3 หรือในชั้น สว. ไม่เป็นไร เพราะถ้าสภารับหลักการวาระ 1 แล้วกฎหมายนั้นก็ถือเป็นกฎหมายของสภา เพราะมีการไปแก้ไขแล้ว หลังจากนั้นจะผ่านหรือไม่ผ่านก็ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล แต่ช่วงวาระ 1 ถือเป็นเรื่องของรัฐบาลที่เสนอเข้าไป ถ้าไม่ผ่านก็เท่ากับไม่ไว้ใจรัฐบาล เรื่องนี้ไม่มีกฎหมายบังคับ แต่ธรรมเนียมปฏิบัติเป็นเช่นน้ัน ขณะที่วาระ 2 วาระ 3 ไม่มีธรรมเนียมด้วยซ้ำไป 

...

จากนั้นผู้สื่อข่าวถามต่อ หากกฎหมายไม่ผ่านตั้งแต่วาระ 1 ก่อนรับหลักการ นายกรัฐมนตรีไม่ออกได้หรือไม่ เพราะไม่มีกฎหมายบังคับ นายวิษณุ เผยว่า มันเป็นธรรมเนียมประเพณี มิเช่นนั้นจะถูกตำหนิ เช่นสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม กฎหมายไม่ผ่านก็ลาออก สมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ กฎหมายไม่ผ่านก็ยุบสภา ซึ่งในอังกฤษ ในญี่ปุ่น ก็เป็นเช่นนั้น เป็นธรรมเนียม ไม่ได้เขียนเป็นกฎหมายไว้ที่ไหน 

สำหรับกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หากต้องการขอพระราชทานอภัยโทษต้องดำเนินการอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า 1.ต้องเข้ามา 2.มอบตัวเป็นนักโทษ แล้วถึงจะถวายฎีกาได้ ถ้ายังไม่รับโทษยังไม่สามารถถวายฎีกาได้ ไม่เรียกว่าฎีกา สำหรับฎีกาคือสิ่งที่นักโทษเด็ดขาดเป็นผู้ถวายขึ้นไป ส่วนจะโปรดเกล้าฯ หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์จะกรุณา.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...