“โคลอมเบีย” กู้หีบมหาสมบัติ เรือซานโฮเซ พันล้านดอลล์ จมแคริบเบียน 300 ปีก่อน

รัฐบาลโคลอมเบียประกาศว่า กำลังพยายามกู้คืนซากเรือซานโฮเซ (San José) ที่อับปางลงใต้ท้องทะเลลึกในปี ค.ศ.1708 ซึ่งเชื่อกันว่า ได้บรรทุกทรัพย์สมบัติ และสิ่งของมีค่ามหาศาล หลายพันล้านดอลลาร์

เรือซานโฮเซ มีอายุกว่า 300 ปี แม้ตอนนี้จะเป็นเพียงซากเรือที่อับปางใต้ท้องทะเลแคริบเบียน แต่ทรัพย์สมบัติในเรือ ที่บางคนเรียกว่า “จอกศักดิ์สิทธิ์” ก็เพราะมีค่ามหาศาลเปรียบได้กับเป็นเครื่องภาชนะที่พระเยซูทรงใช้ใส่อาหารรับประทานอาหารมื้อสุดท้าย

เหตุนี้ ได้กลายเป็นข้อถกเถียงว่า ทรัพย์สมบัติล้ำค่าในเรือซานโฮเซ จะนำไปอนุรักษ์เป็นโบราณวัตถุ หรือใช้ประโยชน์เพื่อเศรษฐกิจประเทศดี

“จูแอน เดวิด คอร์เรีย” รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมโคลอมเบีย เผยว่า การสำรวจทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเก็บกู้เรือซานโฮเซ มีขึ้นครั้งแรก ระหว่างเดือน เม.ย. - พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในทะเลแคริบเบียน

“ซากเรืออับปางซานโฮเซ เป็นสมบัติล้ำค่าในการค้นพบทางโบราณคดี” คอร์เรียกล่าว หลังการพูดคุยเรื่องการเตรียมกู้ซากเรือซานโฮเซกับประธานาธิบดีโคลอมเบีย โดยเขาชี้ว่า นี่จะเป็นโอกาสให้โคลอมเบียเป็นประเทศแนวหน้าด้านการสำรวจโบราณคดีใต้น้ำ

เชื่อกันว่า เรือซานโฮเซบรรทุกเงินและทองกว่า 11 ล้านเหรียญ ตลอดจนมรกต อัญมณี สิ่งของมีค่า เดินทางออกจากดินแดนที่สเปนปกครองอยู่ในสมัยนั้น ถ้าหากเก็บกู้เรือดังกล่าวขึ้นมาได้ จะเป็นการค้นพบทรัพย์สินมีค่าครั้งใหญ่ มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์

“การกู้เรือซานโฮเซอาจใช้หุ่นยนต์หรือเรือดำน้ำของกองทัพเรือ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการสำรวจครั้งที่สอง ก่อนวางแผนดำเนินงานต่อไป” คอร์เรียเผย

เรือซานโฮเซจมลง ในระหว่างที่สเปน ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมและปกครองดินแดนโคลอมเบียขณะนั้น กำลังสู้รบกับอังกฤษ เมื่อ 315 ปี

ย้อนกลับไปจากปัจจุบัน การค้นพบเรือดังกล่าวมีขึ้นหลายสิบปีก่อน โดยเมื่อปี 2018 รัฐบาลโคลอมเบียเกือบจะล้มเลิกแผนการกู้ซากเรือซานโฮเซ ท่ามกลางข้อพิพาทกับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่อ้างสิทธิการค้นพบนี้ด้วยเช่นกัน

ในปีเดียวกัน องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้เรียกร้องให้โคลอมเบีย ดำเนินการกับเรือซานโฮเซ โดยไม่แสวงหาประโยชน์เชิงพาณิชย์

หนังสือของยูเนสโกระบุไว้ชัดเจนว่า หากโคลอมเบียอนุญาตให้ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากมรดกทางวัฒนธรรม จะเป็นการขัดต่อมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างร้ายแรง และหลักจริยธรรมระหว่างประเทศ ตามที่กำหนดไว้ ในอนุสัญญามรดกวัฒนธรรมใต้น้ำของยูเนสโก

ด้วยความร่วมมือของทีมผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศ ทำให้ตอนนี้สามารถระบุพิกัด ซึ่งเป็นจุดที่ซากเรือซานโฮเซอับปางลงใต้ท้องทะเล แต่ก็ยังเป็นความลับสูงสุดของประเทศอยู่ และไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ เพียงบอกพิกัดกว้างๆว่า เรือจมอยู่ที่ใดสักแห่งในคาบสมุทรบารู เมืองการ์ตาเฮนา ทางตอนใต้ของทะเลแคริบเบียน

หากแต่ตอนนี้ เรือดังกล่าวยังเป็นประเด็นการต่อสู้ทางกฎหมายระหว่างสหรัฐ โคลอมเบีย และสเปน ว่าใครจะเป็นเจ้าของ และมีสิทธิ์ในสมบัติที่จมใต้ทะเล อยู่กับซากเรือลำนี้

ตามข้อมูลเรือซานโฮเซ มีความสูง 3 ชั้น ยาว 45 เมตร พร้อมขนาดคานยาว 14 เมตร และยังติดปืนใหญ่จำนวน 64 กระบอก

อย่างไรก็ตาม ในรายงานการสำรวจครั้งแรกของโคลอมเบีย ได้พบปืนใหญ่ทำด้วยทองแดงที่ยังอยู่ในสภาพดี และปืนพกโบราณที่ทำให้รู้ทันที่ว่า นี่แหละคือเรือซานโฮเซ่ นอกจากนี้ยังมีเครื่องเคลือบเซรามิกโบราณอีกเป็นจำนวนมาก

ที่มา : TheGuardian

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...