'สส.ประชาชาติ' ลุกค้านร่างกม.สมรสเท่าเทียม หวั่นกระทบวิถีคนมุสลิม

ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการประชุมสภาฯ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ... หรือ ร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ที่มีผู้เสนอต่อสภาฯ 4 ฉบับ  คือ ฉบับของคณะรัฐมนตรี,​ฉบับของพรรคก้าวไกล, ฉบับของพรรคประชาธิปัตย์ และฉบับของภาคประชาชน ในนามภาคีสีรุ้ง ซึ่งเร่ิมพิจารณามาตั้งแต่ช่วงบ่าย ทั้งนี้พบว่ามี สส.ร่วมลงชื่อเพื่อขออภิปรายก่อนลงมติในวาระชั้นรับหลักการ เกือบ 50 คน

โดยส่วนใหญ่ที่อภิปรายพร้อมสนับสนุนร่างกฎหมายสมรสเท่าเทีม ซึ่งได้ยกความจำเป็นของสังคมที่มีความหลากหลาย และมีบุคคลเพศเดียวกันต้องการได้สิทธิตามกฎหมายเพื่อให้เกิดการคุ้มครองตามหลักความเสมอภาคเท่าเทียมและไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ

อย่างไรก็ดียังมี สส. ที่อภิปรายแสดงความไม่เห็นด้วยและประกาศจุดยืนไม่รับหลักการ เป็นในส่วนของพรรคประชาชาติ โดยในการอภิปรายของนายซูการ์โน มะทา สส.ยะลา พรรคประชาชาติ และ  นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สส.นราธิวาส พรรคประชาชาติ ยืนยันในเจตนาตามหลักการทางศาสนาที่ยึดถือการครองคู่ต้องเป็นชายกับหญิงเท่านั้น พร้อมแสดงเหตุผลที่จะไม่รับหลักการของร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ยกเว้นฉบับที่เสนอโดย ครม.  ที่กำหนดบทงดเว้นการบังคับใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ขณะที่นายกมลศักดิ์ ลุกอภิปรายว่า พรรคประชาชาติขอแสดงจุดยืนว่าไม่เห็นด้วย แม้ว่าจะมีบทยกเว้นการบังคับร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีการบังคับใช้กฎหมายครอบครัวและมรดก ทั้งนี้ตนและพรรคประชาชาติไม่สบายใจ จึงอยากเสนอไปยังกรรมาธิการที่จะตั้งขึ้น เพราะทราบว่าสภาฯ จะลงมติรับหลักการ คือ  การให้ความเคารพในการนับถือศาสนาหลักปฏิบัติในศรัทธา ที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยให้ระบุข้อความในทำนองเดียวกันกับ มาตรา 66 ในร่างของครม. โดยให้ครอบคลุมผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามทั่วประเทศ มาพิจารณาด้วย ทั้งนี้ผมยอมรับความเห็นที่แตกต่างกัน และอยากให้ทุกฝ่ายเคารพในหลักความเชื่อและศรัทธา เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย

ขณะที่นายวรวิทย์ บารู สส.ปัตตานี พรรคประชาชาติ อภิปรายเรียกร้องว่าตนขอให้สส. คำนึงถึงสิทธิของผู้ที่นับถือและปฏิบัติตามความเชื่อศาสนาที่รัฐธรรมนูญรับรองด้วย ไม่ใช่คำนึงถึงสิทธิทางเพศสภาพเท่านั้น

 

"หากในสภาฯ ปรากฎว่าเรามีความอิสระ เป็นไปตามลักษณะที่แสวงหา วันข้างหน้าจะหาคนที่เกิดใหม่ได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นจริง เพราะความพยายามของมนุษย์ไม่ได้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง แม้จะแสวงหาสิ่งที่ถูกต้องตามความคิด แต่มีสิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือ กรณีตัวอย่างการละเมิดทางเพศเด็กต่ำกว่า 18 ปี พบว่ามีประเละเลยต่อศีลธรรมในสังคม พรรคประชาชาติไม่ได้หาเสียงแต่เชื่อว่าจะถูกตั้งคำถามจากคนในพื้นที่ที่จะกระทบวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ในสังคมมุสลิม"  นายวรวิทย์ อภิปราย

 

อย่างไรก็ดีในส่วนของพรรคก้าวไกลที่สนับสนุนร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม โดย  น.ส.กฤษฎิ์  ชีวะธรรมมานนท์ สส.ชลบุรี พรรคก้าวไกล ลุกอภิปรายช่วงหนึ่งและขอเรียกร้องให้ผู้ที่เป็นชาวมุสลิมรับหลักการของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว เพราะการแก้ไขกฎหมายนั้นเพื่อคุ้มครองสิทธิทางทรัพย์สินของคู่สมรสของคู่รักทุกเพศทุกวัยได้รับการรับรองสิทธิอย่างเสมอภาค

เช่นเดียวกับนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า ตนเคารพความเห็นต่างในหลักการทางศาสนาและความศรัทธา ทั้งนี้ตนพร้อมรับฟังรายละเอียด ทั้งนี้ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมไม่มีเฉพาะการสมรสเท่านั้น เพราะยังมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิด้วย

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...