“เศรษฐา” ย้ำความเป็นหุ้นส่วนแบบใจถึงใจ หนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์-ซอฟต์พาวเวอร์

นายกฯ เน้นย้ำความเป็นหุ้นส่วนแบบใจถึงใจ ในความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น แลกเปลี่ยนระดับประชาชนที่ใกล้ชิด พร้อมผลักดันความร่วมมือพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ซอฟต์พาวเวอร์ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม  

วันที่ 17 ธันวาคม 2566 เมื่อเวลา 11.50 น. (ตามเวลาท้องถิ่นกรุงโตเกียว ซึ่งเร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง) ณ โรงแรม Okura Tokyo กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมและกล่าวถ้อยแถลงในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษฯ ช่วงที่ 2 การหารือระหว่างรับประทานอาหารกลางวัน ภายใต้หัวข้อ “Heart to Heart Partners across Generations” โดยภายหลังเสร็จสิ้น นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญว่า

นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนแบบใจถึงใจ (Heart-to-Heart Partnership) ผ่านการแลกเปลี่ยนในระดับประชาชน ทั้งในด้านการศึกษาและวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งถือเป็นรากฐานที่สำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน ญี่ปุ่นถือเป็นพันธมิตรที่ไทยให้ความไว้วางใจอย่างมาก โดยเฉพาะการเสริมสร้างมิตรภาพระหว่างประชาชน โดยนายกรัฐมนตรีเห็นว่าการสร้างความร่วมมือระหว่างรุ่นสู่รุ่นที่แท้จริงในอนาคต จะต้องคำนึงถึงค่านิยมและทัศนคติที่แตกต่างกันของคนหนุ่มสาว รวมถึงต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชนด้วย  

ขณะเดียวกัน นายเศรษฐา ยังได้กล่าวถึงโครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมมิตรภาพและสร้างความประทับใจในญี่ปุ่นให้กับทั้งเยาวชนไทยและอาเซียน รวมถึงแอนิเมชันญี่ปุ่น ซึ่งสามารถดึงดูดผู้ชมได้จากรุ่นสู่รุ่น สร้างแรงบันดาลใจ ส่งเสริมความเข้าใจในวัฒนธรรมญี่ปุ่น และปลูกฝังค่านิยมเชิงบวก โดยนายกรัฐมนตรีระบุช่วงหนึ่งว่า เติบโตมาพร้อมกับตัวการ์ตูนหน้ากากเสือ (Tiger Mask) และกาโม่มนุษย์กายสิทธิ์ (Spectreman) ซึ่งถือเป็นซูเปอร์ฮีโร่กลุ่มแรกๆ ของโลก ที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่หลายคนในการมุ่งมั่นทำงานเพื่อโลกที่ดีขึ้นและสงบสุข 

...

ทั้งนี้ รัฐบาลไทยตระหนักถึงศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยไทยมีอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่กำลังเติบโต ทั้งการออกแบบ แฟชั่น อาหาร ภาพยนตร์ ดนตรี ศิลปะการแสดง เกม และการสร้างเนื้อหาดิจิทัล ซึ่งไทยพร้อมมีความร่วมมือกับญี่ปุ่นและอาเซียนในการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม  

ทางด้านความร่วมมือด้านการศึกษาและการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน เช่น โครงการ Japan East-Asia Network of Exchange for Students and Youths (JENESYS) และโครงการที่ริเริ่มใหม่ Partnership to Co-create a Future with the Next Generation (WA Project 2.0) ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นว่าความร่วมมือดังกล่าว ควรได้รับการส่งเสริมให้เข้มแข็ง เพื่อวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต และยินดีที่ญี่ปุ่นบริจาคเงิน 40,000 ล้านเยน เพื่อสนับสนุนความมุ่งมั่นนี้ 

อย่างไรก็ตาม ในตอนท้ายนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำการก้าวไปข้างหน้า พร้อมกับการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนแบบใจถึงใจต่อไป เพื่อเพิ่มความเข้าใจอันดีต่อกันที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และสนับสนุนให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจให้กับคนรุ่นต่อๆ ไป.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...