ชี้ “ทักษิณ” ไม่มีอภิสิทธิ์ชน อยู่ รพ.ตำรวจ ตามระเบียบกรมราชทัณฑ์

“พายัพ ปั้นเกตุ” ชี้ สิทธิรักษาพยาบาล เป็นสิทธิพื้นฐานของผู้ต้องขัง ระบุ “อดีตนายกฯ ทักษิณ” รักษาตัวจากอาการป่วยที่โรงพยาบาลตำรวจ เป็นไปตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ ไม่มีอภิสิทธิ์ชนใดๆ อย่างที่ม็อบโจมตี

วันที่ 11 ธันวาคม 2566 นายพายัพ ปั้นเกตุ ที่ปรึกษาของรองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) ให้ความเห็นกรณีมีกลุ่มมวลชนไปเรียกร้องที่โรงพยาบาลตำรวจ และกล่าวหาอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ในเรื่องการรักษาพยาบาลว่า อดีตนายกฯ ทักษิณ ได้เดินทางกลับประเทศไทยและเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อรับโทษ โดยผ่านการตรวจคนเข้าเมืองและไปรายงานตัวรับโทษ จากนั้นก็เข้าสู่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แต่สถานพยาบาลแดน 7 พิเศษกรุงเทพฯ ตรวจร่างกายและอาการป่วยแล้ว พบว่าอดีตนายกฯ ทักษิณ เป็นผู้สูงอายุ อายุเกิน 70 ปี มีอาการป่วยเรื้อรัง มีโรคประจำตัวหลายโรค แพทย์โรงพยาบาลราชทัณฑ์เฝ้าดูอาการระยะหนึ่งแล้วมีความเห็นว่า อาการน่าวิตกกังวลเกินขีดความสามารถที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์จะรับรักษาตัวได้ จึงส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ เนื่องจากมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และตรวจพบว่ามีโรคเรื้อรังหลายโรคที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยเฉพาะโรคหัวใจ ประกอบกับคนไข้เป็นผู้สูงอายุ มีอายุเกิน 70 ปี สภาพร่างกายไม่แข็งแรงเพียงพอ แม้คนไข้จะออกกำลังกายและดูแลตนเองอย่างดีก็ตาม

นายพายัพ กล่าวว่า ต่อมาอดีตนายกฯ ทักษิณ ก็ได้เข้ารับการผ่าตัดหลายครั้งจากหลายอาการดังที่เป็นข่าวมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งหมดที่ตนได้กล่าว ถือเป็นสิทธิของผู้ต้องขังหรือนักโทษที่กรมราชทัณฑ์ถือปฏิบัติมานานแล้ว มิใช่เป็นเรื่องอภิสิทธิ์ชน ตามที่มีผู้กล่าวกันอยู่ในขณะนี้ใดๆ ทั้งสิ้น

นายพายัพ กล่าวว่า ตนเคยเป็นนักโทษชาย (นช.) ติดคุกที่เรือนจำพัทยา คดีชุมนุมทางการเมืองปี 2552 ซึ่งตนมีโรคประจำตัวเรื้อรังหลายโรค โดยเฉพาะโรคหัวใจ ซึ่งแพทย์และพยาบาลในเรือนจำก็ได้มีการตรวจดูอาการเช่นกัน และได้ให้อยู่ในการดูแลของสถานพยาบาลในเรือนจำ อีกทั้งตนเคยมีอาการโรคหัวใจกำเริบ ต้องปั๊มหัวใจกันในเรือนจำ แต่ไม่มีเครื่องมือแพทย์และขาดแพทย์เฉพาะทางอยู่ประจำ จึงปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วส่งตัวไปรักษาต่อยังโรงพยาบาลบางละมุง เมื่อมีอาการหัวใจหยุดเต้นอีก สุดท้ายก็ต้องส่งตัวเข้าเรือนจำในกรุงเทพมหานคร และไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเช่นกัน 

...


“ผมจำเป็นต้องออกมาพูดทำความเข้าใจกับสังคมว่า คนคุกมีความเสี่ยงและอันตรายต่อชีวิตมากน้อยเพียงใด และการรักษาอาการป่วยเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน แม้จะเป็นผู้ต้องขังหรือนักโทษที่จะได้รับการรักษาพยาบาลจากอาการป่วย ซึ่งเป็นหลักการสากล” นายพายัพ กล่าวย้ำ.

นายพายัพ ปั้นเกตุ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...