ราเมศ ถามนายกฯ พูดสวนทางข้อเท็จจริงหรือไม่ ชี้ ประชาชนมองออกไม่จริงใจแก้ รธน.

“ราเมศ” ถามนายกฯ หลังบอกทุกฝ่ายต้องร่วมกันผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พูดสวนทางข้อเท็จจริงหรือไม่ ชี้ ประชาชนมองรัฐบาลไม่จริงใจแก้ไข

วันที่ 10 ธันวาคม 2566 นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเนื่องในวันรัฐธรรมนูญ ว่า พรรคประชาธิปัตย์ขอร่วมระลึกถึงการมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของประเทศไทย เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ดังนั้น ในวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี ถือว่ามีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ ในส่วนรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน สิ่งสำคัญคือทุกภาคส่วนจะต้องร่วมกันคือการผลักดันให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้มีความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งขณะนี้อุปสรรคในการขอแก้รัฐธรรมนูญก็ยังมีอยู่ จึงทำให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่สำเร็จสู่เป้าหมายได้ 

ทั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์นั้นมีเจตนารมณ์ชัดเจนในเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งหัวใจสำคัญของการนำไปสู่การแก้ไขเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์นั้น คือการแก้มาตรา 256 เพื่อให้สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ง่ายขึ้น โดยตัดสัดส่วนของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ให้เหมาะสม แล้วใช้เสียงส่วนใหญ่จากสภา เพราะหากกำหนดให้ สว. เห็นชอบด้วยในวาระที่ 1 และที่ 3 เป็นจำนวน 1 ใน 3 ทำให้ต้องได้รับความเห็นชอบมากถึง 84 คน จึงเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญในสาระสำคัญได้ 

ดังนั้น การแก้มาตรา 256 จึงมีความสำคัญมาก และในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์หลักการยังเป็นเช่นเดิม และมีหลักการชัดว่า ไม่ว่าจะมีการยกร่างใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติม จะต้องไม่แตะหมวด 1 กับหมวด 2 ที่ว่าด้วยรูปแบบของรัฐ คือ กำหนดให้ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งหมวดที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ ทั้ง 2 หมวดนี้ เป็นจุดยืนพรรคเพื่อนำไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง

...

นายราเมศ ระบุต่อไป ในความเป็นจริงรัฐธรรมนูญฉบับนี้นอกจากสิทธิของประชาชนลดน้อยถอยลงแล้ว ที่กล่าวอ้างว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกงก็ไม่เป็นความจริง เพราะกระบวนการที่เป็นหลักการพื้นฐานในการป้องกันการทุจริตไม่ได้มีหลักประกันไว้ในรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด พรรคประชาธิปัตย์มองเห็นถึงปัญหาเหล่านี้มานาน ตั้งแต่รัฐธรรมนูญยังไม่มีผลบังคับใช้ จึงเป็นที่มาที่พรรคไม่ได้รับรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 แต่เมื่อผ่านการลงประชามติ บังคับใช้เป็นรัฐธรรมนูญ พรรคก็ยอมรับกติกา แต่ก็ได้ตั้งความหวังว่าจะมีการแก้ไขในวันข้างหน้า โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิของประชาชน สิทธิชุมชน สิทธิผู้บริโภค สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิในที่ดินทำกิน การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น การป้องกันและปราบปรามทุจริต จะต้องมีกระบวนการที่ป้องกันการทุจริตจริงๆ ไม่ใช่เปิดช่องให้สมยอมกัน รวมถึงประเด็นอำนาจ สว. ด้วย ซึ่งทุกเรื่องล้วนเป็นสาระสำคัญที่จะต้องมีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในการตั้งต้นแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ตามในตอนท้าย นายราเมศ กล่าวว่า “ที่นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ทุกฝ่ายต้องร่วมกันผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนนั้น ก็ต้องย้อนถามนายกรัฐมนตรีว่า ทุกฝ่ายร่วมกันผลักดันนั้น ความหมายคือยกเว้นรัฐบาลที่ยังไม่พร้อมใช่หรือไม่ เพราะคำพูดล้วนแล้วแต่สวนทางกับข้อเท็จจริง ที่ประชาชนมองออกว่ารัฐบาลไม่ได้มีความจริงใจต่อกรณีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด”.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...