“ชัยธวัช” หนุนทำประชามติ 3 ครั้ง-“ชูศักดิ์” ชง ทำรัฐประหารผิดแบบไม่มีอายุความ

“ชูศักดิ์ ศิรินิล” เสนอแก้รัฐธรรมนูญโทษรัฐประหารมีความผิดไม่มีอายุความ ไม่มีนิรโทษกรรม ต้องตัดเสียง สว.โหวตนายกฯ ออก ด้าน ก้าวไกล หนุนทำประชามติ 3 ครั้ง ให้รัฐบาลทำก่อนสรรหา ส.ส.ร. ไม่ควรกีดกันใคร

วันที่ 10 ธันวาคม 2566 เวลา 18.00 น.  ที่รัฐสภา มีการเสวนาในหัวข้อ “รัฐธรรมนูญฉบับใหม่หน้าตาเป็นอย่างไร” มีผู้ร่วมเสวนา อาทิ นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล, นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองการสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร, นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้แทนกลุ่ม iLaw, นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย  และนายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 

นายชูศักดิ์ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญที่จะยกร่างใหม่ควรจะมี สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) มายกร่างเพื่อให้เห็นว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน ทำเพื่อประชาชนเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชน ตนเชื่อว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องเป็นประชาธิปไตยแน่นอน และหวังว่าจะประสบความสำเร็จ โดยควรแก้ไขมาตรา 256 เพราะกำหนดให้ต้องมีเสียง สว.สนับสนุน 1 ใน 3 ต้องตัดตรงนี้ออก แล้วทำให้เป็นรัฐธรรมนูญสามารถแก้ไขได้ง่าย แก้ไขได้ตลอดเวลา เช่นเดียวกับระบบถ่วงดุลอำนาจ ต้องให้องค์กรอิสระมาจากรัฐสภา และกำหนดให้รัฐประหารมีความผิดไม่มีอายุความ ไม่มีการนิรโทษกรรม ศาล หรือกระบวนการยุติธรรมไม่สามารถที่จะยอมรับการรัฐประหารได้ 

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

...

นายชัยธวัช กล่าวว่า สิ่งสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญน่าจะมี คือส่วนที่ 1.ต้องยึดโยงกับหลักการว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นของประชาชนให้มั่นใจตั้งแต่กระบวนการทำประชามติ การมี ส.ส.ร. ร่างรัฐธรรมนูญ พรรคก้าวไกลสนับสนุนให้ทำประชามติ 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 รัฐบาลทำก่อนที่พรรคการเมือง จะเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เข้าสู่สภาฯ เมื่อ ส.ส.ร. ทำร่างประชามติใหม่เสร็จแล้ว ก็ควรจะไปทำประชามติ แน่นอนว่าเสียเวลา และเสียงบมากพอสมควร แต่คิดว่าต้องให้ความสำคัญ ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งของประชาชนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ 2.กระบวนการ และเนื้อหาควรจะตอบโจทย์การเมืองไทยที่เป็นจริงในปัจจุบัน ซึ่งต้องยอมรับว่าที่เราขัดแย้งกัน 18 ปี สะท้อนปัญหาสังคมไทยไม่สามารถหาฉันทามติร่วมกันได้ว่าระบบระเบียบการเมืองแบบไหนที่เรายอมรับจะอยู่ร่วมกัน แม้จะมีความเห็นที่แตกต่างกัน ดังนั้นกระบวนการจัดประชามติ และกระบวนการสรรหา ส.ส.ร. ไม่ควรกีดกันคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งออกไปตั้งแต่ต้น ควรเป็นพื้นที่เปิดให้ทุกความคิดทุกคนรู้สึกว่าเขาได้รับการโอบรับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง แม้สุดท้ายรัฐธรรมนูญจะไม่ออกมา มีหน้าตาเหมือนกับความคิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 100% ซึ่งเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว แต่ต้องไม่กีดกันเขาไปตั้งแต่แรก.

นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...