“ศรีสุวรรณ” ยื่น ป.ป.ช. เอาผิดราชทัณฑ์ ฐานช่วย “ทักษิณ” ไม่ให้ต้องนอนคุก

“ศรีสุวรรณ จรรยา” ยื่นร้องต่อ ป.ป.ช. ไต่สวนเอาผิดผู้บริหารกรมราชทัณฑ์ทั้งหมด อ้าง ช่วยเหลือ “ทักษิณ ชินวัตร” ไม่ให้ต้องนอนคุก เข้าข่ายร่วมกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือไม่

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 24 สิงหาคม 2566 นายศรีสุวรรณ จรรยา แกนนำองค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน เดินทางมายังสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ถนนสนามบินน้ำ จ.นนทบุรี ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อขอให้ไต่สวนและวินิจฉัยผู้บริหารกรมราชทัณฑ์ทั้งระบบ ว่ามีส่วนช่วย นายทักษิณ ชินวัตร ที่ต้องโทษจำคุก 8 ปี ตามคำพิพากษาของศาลอาญาทุจริตฯ ให้ไม่ต้องนอนคุกแม้แต่วันเดียว ทั้งอนุมัติให้ไปนอนโรงพยาบาลตำรวจ อ้างเป็นโรคความดัน เชื่อว่าอาจเป็นทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดกัน เข้าข่ายร่วมกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือไม่

นายศรีสุวรรณ ระบุต่อไปว่า หลังจากที่ นายทักษิณ ถูกนำเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ทำการตรวจสุขภาพตามระเบียบเพียงไม่กี่นาที กรมราชทัณฑ์ก็ออกมาตั้งโต๊ะแถลงว่า นายทักษิณ อยู่ในกลุ่มเปราะบาง เพราะอายุเกิน 70 ปี และดูแค่ประวัติทางการรักษาที่ผ่านมาป่วยถึง 4 โรค ต้องเฝ้าระวังรักษาอย่างต่อเนื่อง หลายโรคต้องดูแลโดยแพทย์เฉพาะทาง

...

“การอ้างเรื่องสุขภาพ ขัดหรือแย้งต่อพฤติกรรมของ นายทักษิณ ที่ก่อนหน้านี้ที่อยู่ต่างประเทศออกมาโชว์ฟิต ไม่มีปัญหาสุขภาพ ทั้งเดินทางไปประเทศต่างๆ ทั่วโลกเป็นว่าเล่น แต่พอเข้าไปในรั้วของเรือนจำกลับเป็นชายแก่อมโรค ที่กรมราชทัณฑ์ต้องทะนุถนอม แยกขังเดี่ยว และยังไม่ทันข้ามคืนก็อนุมัติให้ไปนอนรักษาตัวบนเตียงนอนนุ่มๆ ของ รพ.ตำรวจ เป็นที่ครหาของสังคมและญาติผู้ต้องขังอื่นที่ก็มักเป็นโรคความดันโลหิตสูงกันส่วนใหญ่ ว่าได้รับการทะนุถนอมเหมือน นช.ทักษิณ หรือไม่”

ส่วนของทรงผมของ นายทักษิณ กรมราชทัณฑ์อ้างว่าไม่ต้องตัด ไม่ต้องกล้อนผมอย่างนักโทษทั่วไป ถือได้ว่าเป็นการใช้ดุลยพินิจที่ขัดต่อระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการตัดผมผู้ต้องขัง ที่บังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2565 เป็นต้นมาแล้ว โดยในระเบียบดังกล่าวกำหนดไว้ชัดเจนในข้อ 9 ว่า นักโทษเด็ดขาดชายให้ไว้ผมสั้น ด้านหน้าและด้านกลางศีรษะยาวไม่เกิน 5 เซนติเมตร ชายผมรอบศีรษะเกรียนชิดผิวหนัง และระเบียบดังกล่าวไม่ได้มีข้อกำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ให้เทวดาคนใด จะเลี่ยงไม่ตัดไม่ได้

ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับมาถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566

ในช่วงท้าย นายศรีสุวรรณ ยังระบุด้วยว่า “พฤติการณ์และการกระทำของผู้บริหารของกรมราชทัณฑ์ มีข้อพิรุธอีกมากมายที่สังคมไทยไม่ควรปล่อยให้ระบบราชการของรัฐใช้อำนาจหรือดุลยพินิจที่อาจขัดต่อระเบียบ กฎหมาย และรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 27 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เกี่ยวกับการห้ามการเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวกับสภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคมได้ องค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน จึงต้องนำความพร้อมพยานหลักฐานมายื่นร้องต่อ ป.ป.ช. เพื่อขอให้ใช้อำนาจตามกฎหมายในการไต่สวนและวินิจฉัยเอาผิดผู้บริหารของกรมราชทัณฑ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องต่อไป”

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...