วิเคราะห์การเมืองไทย เกิดอะไรขึ้น 16 เสียงประชาธิปัตย์ โหวตหนุน "เศรษฐา"

วิเคราะห์การเมืองไทย หลังจาก "เศรษฐา ทวีสิน" เป็นนายกฯ คนที่ 30 กับเส้นทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ 16 เสียง แหกมติพรรค

เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 23 สิงหาคม 2566 ในรายการ "เปิดปากกับภาคภูมิ" ทางไทยรัฐทีวี ช่อง 32 ดำเนินรายการโดย นายภาคภูมิ พันธุ์สถิตย์ ได้พูดคุยกับแขกรับเชิญ รศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเมืองและการพัฒนา ม.รังสิต และอดีต กกต. และ ผศ.ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต วิเคราะห์การเมืองไทย หลังจาก "เศรษฐา ทวีสิน" เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของประเทศไทย

โดย รศ.สมชัย กล่าวว่า ในการโหวตนายกฯ เมื่อวานนี้ (22 สิงหาคม) ปัจจัยหลักที่จับตาคือพรรคพลังประชารัฐ พรรครวมไทยสร้างชาติ จะให้การสนับสนุนพรรคเพื่อไทยอย่างจริงใจหรือไม่ โดยเฉพาะการสนับสนุนจากทางฝั่ง สว. ซึ่งก่อนการโหวตนายกฯ ประมาณ 1 ชั่วโมง จะเริ่มเห็นสัญญาณชัดแล้วว่า สว. 2 กลุ่ม คือทางฝั่งของรวมไทยสร้างชาติ จะโหวตเห็นชอบ ขณะที่ สว.ทางฝั่งของพลังประชารัฐ งดออกเสียงเป็นส่วนใหญ่

รศ.สมชัย กล่าวอีกว่า ส่วนตัวมองว่าการตกลงร่วมจัดตั้งรัฐบาลและการลงคะแนนเสียงโหวตนายกฯ อยู่ในจุดที่ทุกคนพอใจในสิ่งที่ได้รับ จึงออกมาในแง่ของการตกลงให้คุณเศรษฐา เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ถ้าถามว่า ใจจริงอยากผลักไปถึงไหน ก็คงจะเป็นจุดที่ฝ่ายตัวเองได้ประโยชน์มากกว่านี้ ซึ่งเหตุผลของการจับมือกันของแต่ละฝ่าย ก็มีเหตุผลของตัวเองทั้งสิ้น ยกตัวอย่างพรรคเพื่อไทยที่จับมือกับ 2 ลุง ทั้งที่จริงแล้วอาจจะจับแค่ 1 ลุงก็ได้ แต่คาดว่าสาเหตุที่เลือกจับมือทั้ง 2 ลุง ก็เพื่อเป็นการถ่วงดุลซึ่งกันและกัน 

...

ด้าน ผศ.ดร.วันวิชิต กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ผมมองว่าการโหวตนายกรัฐมนตรีของคุณเศรษฐา จะออกมา 50:50 แต่หลังจากเห็นภาพของคุณเนวิน ชิดชอบ ทำให้มั่นใจมากขึ้นว่า คะแนนเสียงจะมาทางคุณเศรษฐา ขณะเดียวกันก็เป็นการการันตีว่า คะแนนเสียงของพรรคภูมิใจไทยจะสนับสนุนพรรคเพื่อไทย และปัจจัยที่สองคือการโพสต์ของพลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกวุฒิสภาไทย 

16 เสียงพรรคประชาธิปัตย์ แหกมติพรรคโหวต “เศรษฐา” เป็นนายกฯ 

เกี่ยวกับเรื่องนี้ รศ.สมชัย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้พรรคเพื่อไทยเคยเปิดทางแล้วว่า ใครโหวตให้จะพิจารณาให้ร่วมรัฐบาล แต่การจะมาร่วมรัฐบาลด้วยนั้น จะต้องมาทั้งหมดและมาในนามพรรค 

ผศ.ดร.วันวิชิต กล่าวว่า พรรคแรกในชีวิตที่ผมเลือกคือพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็เลือกแค่ครั้งเดียว ส่วนตัวคิดว่าสิ่งหนึ่งตลอด 4 ปีที่ผ่านมา จุดพลิกผันของพรรคประชาธิปัตย์ คือการเข้าร่วมกับรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ขณะเดียวกัน เสน่ห์ของผู้นำของพรรคตลอด 4 ปี ก็ไม่ได้แผ่ไปให้คนใหม่ๆ ในพรรค รวมทั้งมีการปราศรัยแบบเก่า เล่นการเมืองแบบเดิม

รศ.สมชัย กล่าวว่า หากให้วิเคราะห์โครงสร้างของพรรคประชาธิปัตย์ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ สส.เขต มี 22 และ สส.บัญชีรายชื่อ ในส่วนของบัญชีรายชื่อมาจากความนิยมพรรคทั้งประเทศ แต่เหลือประมาณ 9 แสนคะแนน แสดงว่าความนิยมของพรรคลดลง ส่วนคะแนนจาก สส.เขต เป็นการทำคะแนนในพื้นที่ เป็นการทำด้วยตัวเอง ทำให้ 22 คนนี้ไม่ได้ผูกพันกับพรรค และส่วนใหญ่เป็น สส.ใหม่ จึงอยากมีส่วนอยู่ในรัฐบาลที่สามารถสร้างผลงานได้ และต่อยอดทางการเมืองได้ ดังนั้นวิธีคิดของทั้ง 2 ฝ่ายไม่ตรงกัน โดยทางฝ่ายบัญชีรายชื่อนั้นมีความคิดว่า ไม่อยากร่วมรัฐบาลแล้ว เพราะแม้จะทำผลงาน แต่สุดท้ายคนก็เลือกด้วยจุดยืนทางการเมือง 

ดังนั้นจึงมองว่า 16 เสียงที่ให้ไป ต้องบอกว่าโดนกินฟรี เพราะโควตาเขาเต็มหมดแล้ว และยังเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีการแหกมติกันแบบนี้

เปรียบเทียบปี 2562 กับปี 2566 

รศ.สมชัย กล่าวว่า ในปี 2562 เป็นการเสียคำพูดของคุณอภิสิทธิ์ ซึ่งคุณอภิสิทธิ์ก็รับผิดชอบด้วยการลาออก แต่ผลที่เกิดขึ้นเป็นการพิสูจน์ว่า แม้ประชาธิปัตย์จะคุมกระทรวงสำคัญอย่างกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ แต่ก็ไม่สามารถใช้งบประมาณแผ่นดินให้เป็นที่พอใจของประชาชนได้ ดูได้จากคะแนนที่ลดลง แต่ครั้งนี้การตัดสินใจไปโหวต 16 เสียง เป็นการโหวตที่ไม่ได้อะไรเลย 

แต่ก็อาจจะเกิดจุดพลิกผัน ในกรณีที่พรรคพลังประชารัฐต่อรองเยอะ อาจจะมีการดึงพรรคประชาธิปัตย์เข้ามา แต่จะมาแค่ 16 คนไม่ได้ จะต้องมาทั้งพรรคประชาธิปัตย์ ดังนั้นอาจจะมีเทียบเชิญจากพรรคเพื่อไทย ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์จะต้องมีประชุมเพื่อหามติกัน แต่ก็เป็นอนาคตที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้

ผศ.ดร.วันวิชิต กล่าวว่า ครั้งนี้ประชาธิปัตย์ยับเยินที่สุด ทั้งผลการเลือกตั้ง ทั้งภาพลักษณ์ ทั้งที่เป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดพรรคหนึ่งที่คนให้ความเคารพ สิ่งสำคัญคือการที่ไม่สามารถผลักดันให้คนรุ่นใหม่เข้ามา ทำให้กำลังรบไม่เพียงพอ ไม่สามารถส่งไปดีเบตในช่วงหาเสียงได้ ทำให้ภาพลักษณ์ ภาพความเสียหาย ดังนั้นคิดว่าหากจะกู้ภาพลักษณ์ จะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี เพื่อสะสมความเชื่อมั่น และควรเลิกเล่นการเมืองแบบเก่า จะต้องเป็นพรรคของคนไทยทั้งประเทศ.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...