“ปชป.” ทวงคืบหน้ารัฐบาล ทำประชามติ ชี้ ทำงานเงียบ จนน่าสงสัย ยื้อแก้ รธน.

“ปชป.” ทวงความคืบหน้ารัฐบาล เรื่องทำประชามติ ชี้ ทำงานเงียบ จนน่าสงสัยทอดเวลา ยื้อแก้ รธน.ยืนยัน พร้อมให้ความร่วมมือเต็มที่ แต่จะต้องไม่แตะหมวด 1 และหมวด 2

วันที่ 2 ธ.ค. 2566 นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จากการที่ได้ติดตามการทำงานของคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามตินั้น พบว่ามีความเคลื่อนไหวน้อยมาก พร้อมกับตั้งข้อสังเกตว่า อาจเป็นการทอดเวลา ยื้อเวลา เพื่อไม่ให้มีการเริ่มต้นแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งที่รัฐบาลได้เคยให้คำมั่นสัญญาไว้

นอกจากนี้ที่ผ่านมาในสภาผู้แทนราษฎร ได้เคยมีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของรัฐธรรมนูญแล้วหลายครั้ง ตนจึงอยากเรียกร้องให้ คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้ไปนำผลการศึกษามาใช้ประกอบการพิจารณา เพื่อให้ระยะเวลาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความรวดเร็ว รอบคอบ อีกทั้งจำเป็นจะต้องมีการนำออกมาให้เกิดการถกเถียงในวงกว้าง อย่างกรณีที่มาของ ส.ส.ร. ที่กำลังดำเนินการอย่างเงียบๆ ไม่เกิดการรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวางอย่างแท้จริง

“รัฐบาลควรวางกรอบในการศึกษาเรื่องนี้ให้ชัดเจน ไม่ใช่ยื้อเวลาไปวันๆ ไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง ซึ่งขณะนี้ก็ผ่านสมัยประชุมไปอีก 1 สมัยประชุมแล้ว รัฐบาลก็ต้องเร่งอธิบายกรอบระยะเวลา กระบวนการดำเนินการให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบด้วย ซึ่งเรื่องของการแก้รัฐธรรมนูญ หรือจะเป็นเรื่องการร่างใหม่ก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่า เราพร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ แต่จะต้องไม่แตะหมวด 1 และหมวด 2” นายราเมศ กล่าว...

พร้อมกับเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการยื่นแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญไปแล้ว 7 ฉบับ ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบ หรือประสบความสำเร็จไป 1 ฉบับ ส่วนอีก 6 ฉบับนั้น พรรคก็จะได้ผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนผ่านกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญในอนาคตต่อไป

...

นอกจากนี้ ยังย้ำในตอนท้ายว่า พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้มีมติส่งตัวแทนของพรรคเข้าไปนั่งในคณะกรรมการชุดดังกล่าว ขณะที่กระบวนการใดจะเกิดประโยชน์กับการดำเนินการ พรรคก็พร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ แต่ถ้าเรื่องไหนที่พรรคต้องมีการท้วงติง หรือเป็นเรื่องที่พรรคได้ทำมาตลอด ก็จำเป็นที่จะต้องสื่อสารไปยังคณะกรรมการชุดดังกล่าว เพื่อให้เกิดการเดินหน้าเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญได้อย่างแท้จริง

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...