สธ. สั่งติดตามโรคปอดอักเสบในเด็กระบาดที่จีนใกล้ชิด เฝ้าระวัง-เข้ม 4 มาตรการ

“หมอชลน่าน” รมว.สาธารณสุข สั่งการกรมควบคุมโรค ติดตามการระบาดของโรคปอดอักเสบในเด็กที่จีนอย่างใกล้ชิด เฝ้าระวัง เพิ่มความเข้มข้น 4 มาตรการ

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 จากการระบาดของโรคปอดอักเสบในเด็กที่ประเทศจีน ทำให้มีข้อกังวลเรื่องการแพร่ระบาดมายังประเทศไทย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันชัดเจนว่า โรคปอดอักเสบในเด็กที่ประเทศจีน เกิดจากเชื้อก่อโรคตัวเดิมที่ว่างเว้นการระบาดช่วง 3 ปีในช่วงของการเข้มงวดมาตรการโควิด-19 แต่เพื่อความไม่ประมาท ได้สั่งการให้กรมควบคุมโรคติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข ระดมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ได้แก่ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ, ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ และ รศ. (พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ และหน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมมาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรครองรับ

หากสถานการณ์มีความจำเป็นจะเพิ่มความเข้มข้นใน 4 มาตรการ ดังนี้

1. มาตรการเฝ้าระวังโรค ให้ทุกจังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดท่องเที่ยว ติดตามสถานการณ์โรคปอดอักเสบในโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิด กรณีพบผู้ป่วยปอดอักเสบไม่ทราบสาเหตุ ให้เก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งทางเดินหายใจส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาเชื้อก่อโรค หากพบผู้ป่วยปอดอักเสบจำนวนมากผิดปกติ หรือบุคลากรทางการแพทย์เป็นปอดอักเสบ หรือพบผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรงเฉียบพลันหรือเสียชีวิตไม่ทราบสาเหตุให้รีบสอบสวนและเก็บตัวอย่างส่งตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและควบคุมโรคต่อไป

2. มาตรการป้องกันโรคส่วนบุคคล ให้สื่อสารความเสี่ยงกับประชาชน ทั้งเรื่องการสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือบ่อยๆ สำหรับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจและผู้ที่ใกล้ชิดผู้ป่วย โดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุ

...

3. มาตรการด้านการรักษา ให้โรงพยาบาลเตรียมชุดอุปกรณ์ป้องกันตนเอง ยา เวชภัณฑ์และเตียง เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินตามแผนการตอบโต้สถานการณ์ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง เมืองท่องเที่ยว 

4. กรณีพบการระบาดของโรคปอดอักเสบรุนแรงไม่ทราบสาเหตุเป็นวงกว้างในต่างประเทศ จะยกระดับการเฝ้าระวัง ตรวจคัดกรองผู้ป่วยที่เดินทางมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค โดยด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศที่สนามบินนานาชาติคัดกรองผู้มีอาการทางเดินหายใจและเก็บตัวอย่างตรวจหาเชื้อก่อโรค รวมทั้งจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขเพื่อรับมือกับสถานการณ์ได้ทันที

นพ.ชลน่าน ระบุในช่วงท้ายด้วยว่า ขอให้ประชาชนตระหนักเพื่อระมัดระวังป้องกันแต่ไม่ต้องวิตกกังวล ติดตามข้อมูลสถานการณ์ และคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุขเป็นระยะต่อไป.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...