นักวิชาการ มช. เตือน เงินดิจิทัล 10,000 ชี้ ทักษิณกลับไทย สังคมถามเลือกปฏิบัติ

กรณีนักวิชาการ อาจารย์ มช. เตือน นโยบายพรรคเพื่อไทย เงินดิจิทัล 10,000 เสี่ยงผิด พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง ซึ่งนักวิชาการ มองนโยบายประชานิยม ในปัจจุบัน ต่างจากอดีต โดยเฉพาะ เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท หากใช้ผิดวัตุประสงค์ จะส่งผลถึงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนการกลับมารับโทษ ของนายทักษิณ ชินวัตร แม้จะมีผลดีในด้านความสมานฉันท์ทางการเมือง แต่อาจถูกสังคมตั้งคำถามในการเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกจากพรรคเพื่อไทย สามารถผ่านด่านเสียงโหวตจากที่ประชุมร่วมรัฐสภา และได้นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของประเทศไทย และเร่งเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายที่พรรคเพื่อไทยเคยหาเสียง โดย เฉพาะ นะโยบาย แจกเงิน ดิจิทัล 1 หมื่นบาท และ การขึ้นค่าแรง ปริญญาตรี 25,000 บาท และ ค่าแรงขั่นต่ำ 600 บาท 

ผศ.ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) มองว่า ปัจจุบัน บริบท และโครงสร้างของเศรษฐกิจไทย หลังจากการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด 19 ระบบเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวขึ้น และการเก็บภาษีของรัฐบาลเชื่อว่าอนาคตจะดีขึ้น

และสิ่งที่เราเห็นล่าสุดหลังจาก โหวตนายกรัฐตรีสำเร็จ ตลาดหุ้นก็ปรับตัวขึ้น  ในแง่ของเศรษฐกิจที่ดีขึ้น การพลักดัน นโยบายเรื่องของ เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่อุปสรรคสำคัญ ที่จะนำนโยบายประชานิยมมาใช้ มันต่างจากนโยบายประชานิยม ยุคเมื่อ 20 ปีก่อน เพราะปัจจุบัน มี พ.ร.บ.ว่าด้วยวินัยการเงินการคลัง พ.ศ. 2561 เข้ามาเกี่ยวข้อง ฉะนั้นการใช้เงินในปัจจุบัน ต้องระมัดระวัง เพราะหากใช้ผิดวัตถุประสงค์ นั้นหมายถึง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ โอกาสยั่งยืนของรัฐบาลก็ไปได้ไม่ไกล  

 

 

ขณะที่นโยบาย การปรับขึ้นค่าแรงขั้น ต่ำ 600 บาท เงินเดือน ปริญญาตรี ตรี 25,000 บาท จะต้องขึ้นอยู่กับการเจรจากับภาคเอกชน ถ้าเศรษฐกิจไปได้ดี รายได้ภาคเอกชนเพิ่มขึ้น การที่จะเพิ่มค่าแรงก็เป็นไปได้  

นอกจากนี้ พรรคเพื่อไทยก็ชูนโยบายของการปราบปรามยาเสพติด ในปัจจุบัน ปัญหายาเสพติดยังเพิ่มขึ้น และ นโยบายของรัฐบาลเดิมก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ขึ้นอยู่กับพรรคเพื่อไทย จะชูนโยบายแบบไหน ในการปราบปราม แม้ในอดีตเคยทำได้ ในยุคไทยรักไทย จึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อย

ส่วนการกลับมา ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สะท้อนว่า ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา ความขัดแย้งด้านการเมืองไทย ความขัดแย้งของกลุ่มคนชั้นนำ ตกลงกันได้

หมายความว่า สถานการณ์การเมืองที่ไม่ปกติ กลับมาสู่สภาวะปกติ เพราะฉะนั้น กำลังพิสูจน์ว่า ความขัดแย้งของกลุ่มการเมือง ชนชั้นนำ ส่งผลกระทบกับการพัฒนาประเทศสูงมาก ในปัจจุบันแม้ว่า จะกลับมาเพื่อรับโทษ จะส่งผลสั่นคลอนกับระบบกระบวนการยุติธรรม

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องออกมาตอบคำถาม โดยเฉพาะหลักการไม่เลือกปฏิบัติ เช่น การบังคับใช้กฎหมาย การอยู่ในความควบคุมของกรมราชทัณฑ์ ทำให้กรณีอดีตนายกฯทักษิณ จะเกิดคำถามจากสังคมถึงการเลือกปฏิบัติ แม้ว่าจะอยู่ในสถานะสร้างความสมานฉันท์ทางการเมือง แต่ไม่ได้หมายความว่า จะสามารให้อภิสิทธิ์ สิทธิพิเศษจนเกินเลย

และในอนาคต หากมีคดีลักษณะเดียวกันเพิ่มขึ้น มันจะมีผลเรื่องของการเมืองด้วย ความสมานฉันท์ทางด้านการเมืองเกิดเฉพาะชนชั้นนำ แต่กลุ่มนักโทษด้านการเมืองในคดีอื่น ๆ ที่ถูกปฏิบัติที่แตกต่างกัน จึงเป็นโจทย์ใหญ่ ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องตอบคำถาม

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...