กมธ.มั่นคง ขอร่วมประชุม กมธ.ตำรวจ เชิญ “เศรษฐา” แจงปมตั๋ว ผกก. 7 ธ.ค.นี้

“โรม” เผย กมธ.มั่นคง ขอร่วมประชุม กมธ.ตำรวจ เชิญ “เศรษฐา” ตอบข้อซักถามปมแต่งตั้งโยกย้าย ผกก. 7 ธ.ค.นี้ พร้อมฝากรัฐบาล เตรียมมาตรการการรับมือในมิติสิทธิมนุษยชนและด้านเศรษฐกิจ หากสถานการณ์ชายแดนเมียนมารุนแรงมากขึ้น

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ และคณะ แถลงข่าวผลการประชุมที่อาคารรัฐสภา ว่า วันนี้ กมธ. ได้พิจารณา จำนวน 2 ประเด็นสำคัญ  

เรื่องแรก ติดตามภารกิจรับมือบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา ที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ รวมถึงเกิดกรณีผู้ลี้ภัยจากการสู้รบที่จะเข้ามาสู่ในประเทศไทย และเศรษฐกิจชายแดน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 

  • ตัวแทนจากกระทรวงมหาดไทย
  • ตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ
  • ตัวแทนผู้บัญชาการทหารสูงสุด 

ทั้งนี้ มองว่าสถานการณ์ยังอยู่ในภาวะที่ควบคุมได้ ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่าเมียนมาจะรับมือกับปัญหาภายในได้ ทางด้านกระทรวงมหาดไทย ยืนยันตัวเลขผู้หนีภัยสงครามตามแนวชายแดนไทยฝั่งตะวันตก เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ได้มีผู้หนีภัยบางส่วนได้กลับไปแล้ว โดยเฉพาะทาง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน แต่หากความรุนแรงมากขึ้นกว่านี้ รัฐบาลต้องมีการเตรียมมาตรการการรับมือในมิติสิทธิมนุษยชนและด้านเศรษฐกิจ 

...

เรื่องที่ 2 การพิจารณาเรื่องร้องเรียนตัวแทนแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ขอให้ช่วยเหลือผู้ต้องขังคดีการเมืองไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว และกรณีไม่ให้สิทธิในการพักโทษแก่นักโทษเด็ดขาดในคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ โดยมีข้อเรียกร้องให้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาขอบเขตและข้อจำกัดทางกฎหมายว่าด้วยสิทธิในการประกันตัว สำรวจและทบทวนกรณีการบังคับใช้กฎหมายในหมวดความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะในการปรับปรุงทั้งด้านนโยบายและข้อกฎหมาย รวมทั้ง สำรวจและศึกษาความเป็นไปได้ในการพักโทษแก่นักโทษการเมือง และผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่ง กมธ. ได้มีมติดังนี้

1. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาศึกษาเรื่องร้องเรียนนี้ โดยตั้ง นายปิยรัฐ จงเทพ เป็นประธานคณะทำงาน ทำหนังสือส่งข้อห่วงใยต่อสถานการณ์ความขัดแย้งถึงรัฐบาลเพื่อให้เตรียมแนวทางรับมือสถานการณ์ที่มีแนวโน้มขยายวงกว้างมากขึ้นในอนาคต

2. มอบหมายให้ นายมานพ คีรีภูวดล รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง รับผิดชอบร่างหนังสือของ กมธ. เรื่องติดตามภารกิจรับมือบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา ถึงรัฐบาลเป็นการเร่งด่วน

3. ตั้งอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษากฎหมายความมั่นคง 3 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติ การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551, พระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2557, พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548โดยมี นายรอมฎอน ปันจอร์ เป็นประธานอนุ กมธ.

4. ส่งหนังสือขอประชุมร่วมกับ กมธ.ตำรวจ ในวันที่ 7 ธันวาคม 2566 ต่อกรณีที่ กมธ.ตำรวจ โดยเชิญ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มาตอบข้อซักถามของ กมธ. เนื่องจากเหตุกรณีที่นายกรัฐมนตรีมีการกล่าวพาดพิงเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจในที่ประชุมพรรคเพื่อไทย ซึ่งอาจจะเข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญ.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘อีลอน มัสก์’ หนุน ‘ทรัมป์’ พนักงานบริจาคให้‘แฮร์ริส’

ข้อมูลจากโอเพนซีเคร็ตส์ องค์กรไม่หวังผลกำไรไม่แบ่งฝักฝ่าย ผู้ติดตามข้อมูลการบริจาคเงินหาเสียงและการล...

สหภาพแรงงาน Teamsters ไม่หนุน'ทรัมป์-แฮร์ริส'

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า สหภาพแรงงานทีมสเตอร์สมีสมาชิกกว่า 1.3 ล้านคน เป็นตัวแทนของกลุ่มคนขับรถบร...

ครึ่งแรกปี67จีนครองแชมป์ซื้อคอนโดเมียนมาซิวเบอร์สองแซงรัสเซีย2ปีซ้อน

วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เป...

อสังหาฯ แบกสต็อกอ่วม 1.57 ล้านล้าน เอ็นพีแอลพุ่ง ‘ทุกตลาดติดลบหนัก’

นายกสมาคมอาหารชุด หวังเร่งแก้นอมินีต่างชาติในตลาดบ้านมูลค่า 1 ล้านล้านบาท จัดเก็บภาษี หวังแบงก์ชาติล...