รู้จัก 'แมรี โวลสโตนคราฟต์' แม่แห่งเฟมินิสต์ที่ มิสยูนิเวิร์ส 2023 เลือก

ในการตอบคำถามรอบสุดท้ายของการประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2023 ผู้เข้าแข่งขัน 3 คนได้รับคำถามว่า

"ถ้าคุณสามารถเป็นผู้หญิงได้ 1 คน ภายใน 1 ปี คุณจะเป็นใคร" 

คำตอบของ "เชนนิส ปาลาซิโอส" (Sheynnis Palacios) มิสนิคารากัวซึ่งคว้ามงกุฏมิสยูนิเวอร์ส 2023 มาครองก็คือ "แมรี โวลสโตนคราฟต์" ซึ่งทำให้หลายคนสงสัยว่าเธอคือใคร 

แมรี โวลสโตนคราฟต์ (Mary Wollstonecraft) เป็นทั้งครู นักคิด นักเขียน นักปรัชญา นักทฤษฎีประชาธิปไตยหญิงชาวอังกฤษ และเฟมินิสต์แห่งยุคศตวรรษที่ 18 ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้จักถ้าไม่เคยเข้าสู่วงการหนังสือฝั่งแนวคิดสตรีนิยม หรือ เฟมินิสม์ มาก่อน บางคนอาจเรียกเธอว่าเป็น "มารดาแห่งเฟมินิสม์" ที่ปูทางสู่การเรียกร้องสิทธิสตรีในยุคหลัง โดยเฉพาะสิทธิในการศึกษา

 

เว็บไซต์เดอะคอนเวอร์เซชันเรียกแมรี โวลสโตนคราฟต์ ว่าเป็น แม่แห่งเฟมินิสม์ในช่วงแรก (mother of first-wave feminism) เธอเกิดมาในครอบครัวชนชั้นกลางที่มีพ่อใช้ความรุนแรงกับแม่ น้องสาวก็เจอสามีที่ทำร้ายร่างกาย และด้วยข้อจำกัดเรื่องการหางานทำสำหรับผู้หญิงซึ่งมาจากข้อจำกัดด้านการศึกษาและแนวความคิดในยุคนั้น ทำให้เธอเป็นคนที่เรียกร้องเรื่องสิทธิในการศึกษาอย่างเท่าเทียมของผู้หญิง โดยเชื่อว่าผู้หญิงก็มีปัญญาและความสามารถได้ไม่แพ้ผู้ชาย หากได้รับการศึกษาและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี  

แมรี โวลสโตนคราฟต์ เคยเปิดโรงเรียนสอนหนังสือเด็กผู้หญิง ก่อนที่ชีวิตจะพลิกผันไปทำงานเป็นนักเขียน และเคยเข้าร่วมในการปฏิวัติฝรั่งเศส ผลงานมีชื่อที่สุดของเธอคือหนังสือเรื่อง "การปกป้องสิทธิสตรี" (A Vindication of the Rights of Woman) ที่ตีพิมพ์ในปี 1792 ซึ่งถือว่าล้ำหน้ากว่าใคร และสร้างความตระหนกตกตื่นแก่ผู้คนในสมัยเดียวกันอย่างยิ่ง

ทว่าการจะเป็นแมรี โวลสโตนคราฟต์ ใน 1 ปี อาจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเธอได้ชื่อว่าเป็น "ผู้มาก่อนกาล" หรือไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควรในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ และที่จริงแล้ว หลังจากที่เธอเสียชีวิตด้วยอายุเพียง 38 ปี จากการติดเชื้อหลังคลอดลูกในปี 1979 ผลงานของเธอก็ยังไม่ได้รับการยอมรับจนถึงยุคศตวรรษที่ 20 

Bookscape ระบุว่า แนวคิดของเธอไม่ได้รับการยอมรับ และไม่มีนักคิดคนใดวิพากษ์ประเด็นเดียวกันนี้อย่างจริงจังจนถึงศตวรรษที่ 20 ยิ่งกว่านั้น ชื่อเสียงของโวลสโตนคราฟต์ยังถูกทำลายด้วยชีวประวัติของเธอที่สามีเป็นผู้เขียนถึง ซึ่งเป็นการเปิดเผยชีวิตส่วนบุคคลที่ผิดจากขนบ

จึงอาจกล่าวได้ว่าหลักฐานแห่งความไม่เท่าเทียมทางเพศที่โวลสโตนคราฟต์กล่าวถึงนั้น ปรากฏชัดเจนที่สุดในชีวิตของเธอนั่นเอง

 

 

ที่มา: Bookscape , The Matter, Humanists, 

The Conversation , 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...