'ก้าวไกล' ชงข้อเสนอหยุดวงจร 'หมูเถื่อน' แนะ 'เศรษฐา' คุมเข้มกรมศุลฯ

เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2566 ที่พรรคก้าวไกล นายณรงเดช อุฬารกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล แถลง Policy Watch ประเด็นหมูเถื่อนที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชนในขณะนี้ โดยกล่าวถึงข้อร้องเรียนของเกษตรกรผู้เลี้ยงว่า ในขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น วัตถุดิบอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น 20% ในรอบ 2 ปี แต่ราคาขายหมูกลับลดลง ในการอภิปรายนโยบายรัฐบาลที่ผ่านมา ตนได้พูดถึงปัญหาหมูเถื่อนเป็นประเด็นแรก

ตั้งประเด็นไว้ทั้งหมด 3 ข้อ คือ

  1. สาเหตุที่ต้นทุนการเลี้ยงหมูเพิ่มขึ้น มาจากต้นทุนอาหารสัตว์แพงขึ้น
  2. การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ทำให้ปริมาณหมูในประเทศลดลงและมีราคาสูงขึ้น สร้างช่องว่างทำให้มีการลักลอบนำเข้าหมูผิดกฎหมาย
  3. การจับกุมหมูเถื่อนเกิดขึ้นน้อย อย่างผิดปกติ


นายณรงเดช กล่าวว่า สาเหตุของการนำเข้าหมูเถื่อน เนื่องจากปริมาณหมูที่หายไป จากเดิมปี 2564 มีจำนวนหมูหรือสุกรถึง 13 ล้านตัว แต่ในปี 2565 เหลือเพียง 10 ล้านตัว ปริมาณที่หายไป 2 ล้านตัวทำให้เกิดช่องว่างในการนำเข้าหมูเพื่อทดแทน กระทั่งเดือนกรกฎาคม 2565 ราคาหมูเริ่มพุ่งสูงขึ้น ก่อนจะขึ้นสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2565 ทำให้มีการนำเข้าหมูเถื่อนจากหลายประเทศที่มีต้นทุนการผลิตหมูต่ำกว่าประเทศไทย อาทิ บราซิล เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ สเปน และมีการจับกุมหมูเถื่อนครั้งแรกในปี 2565 ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ปริมาณหมู 4.9 ตัน แต่เรื่องก็เงียบหาย 

นายณรงเดช กล่าวอีกว่า ก่อนที่ปี 2566 จะมีการชี้เบาะแสนำจับเนื้อหมู 161 ตู้ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี โดยปัจจุบันมีการจับกุมหมูเถื่อนได้เพียง 5 ล้านตันจาก 161 ตู้ที่ท่าเรือแหลมฉบังเพียงแห่งเดียว ไม่มีการจับกุมจากกรณีอื่นอีกเลย และมีการขยายผลไปยัง 10 บริษัท เนื้อหมูอีก 2,300 ตู้ หรือ 69 ล้านกิโลกรัม แต่ผ่านมา 7 เดือนไม่มีความคืบหน้า เพิ่งมีความคืบหน้าภายในสัปดาห์นี้เพียงสัปดาห์เดียว จากปริมาณหมูที่หายไป 2 ล้านตัวในปี 2565 คาดว่าในปี 2565 ปีเดียวจะมีหมูทะลักเข้ามาถึง 150 ล้านกิโลกรัม และในปี 2566 คาดว่าจะมีอย่างน้อย 75 ล้านกิโลกรัม เมื่อเทียบกับปริมาณหมูที่จับกุมได้เพียง 5 ล้านกิโลกรัม ถือว่าน้อยมาก

“ต้องยอมรับว่ารู้สึกแปลกใจในท่าทีของนายกรัฐมนตรี ที่ต่อว่าอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ที่รับผิดชอบหมูเถื่อน 161 ตู้ ที่ได้รับไว้เป็นคดีพิเศษเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2566 เพราะคนที่นายกฯ ควรต่อว่า คือ เศรษฐา ทวีสิน ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพราะมีหน้าที่กำกับดูแลกรมศุลกากร แต่กลับปล่อยปละละเลยให้หมูเถื่อนทะลักเข้ามาจนส่งผลกระทบต่อเกษตรกร โดยเฉพาะรายย่อยที่เลี้ยงหมู 1-500 ตัว กว่า 40,000 ราย ที่ยังไม่สามารถกลับมาประกอบอาชีพได้” นายณรงเดช กล่าว

นายณรงเดช กล่าวด้วยว่า สำหรับปัญหาหมูเถื่อนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือหมูเถื่อนที่อยู่ในประเทศ เป็นหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร กรมการค้าภายใน และดีเอสไอ ต้องทำการจับกุม ส่วนกลุ่มที่ 2 คือหมู่เถื่อนที่กำลังจะเข้าประเทศที่ค้างอยู่ที่ท่าเรือแหลมฉบัง หากเราไม่สามารถปิดประตูไม่ให้หมู่เถื่อนเข้ามาในประเทศได้ ปัญหานี้ก็จะเหมือนแมวจับหนู แก้ไม่มีวันจบ ตนจึงอยากถามไปยังนายกฯ ว่า วันนี้กรมศุลกากรได้ปรับมาตรการต่างๆ ในการจัดการปัญหาหมูเถื่อน ตรวจสอบเฝ้าระวังตู้สินค้าที่แหลมฉบังแล้วหรือไม่  เพราะหมูเถื่อนถึง 150 ล้านกิโลกรัม ต้องถูกใส่ตู้คอนเทนเนอร์แช่เย็นเข้ามาทางท่าเรือ ไม่สามารถเข้ามาตามช่องทางธรรมชาติได้

นายณรงเดช กล่าวถึงข้อเสนอของพรรคก้าวไกล ในการหยุดวงจรหมูเถื่อน ดังนี้ 

  1. ปิดประตูไม่ให้หมูเถื่อนเข้าประเทศ ยกเลิก Green Line ในสินค้าที่มีที่มาจากประเทศที่มีประวัติเคยถูกจับกุมหมูเถื่อน ตรวจสอบเฝ้าระวังตู้สินค้าจากบริษัทชิปปิ้งที่เกี่ยวข้อง หากมีการสำแดงเป็นปลา ต้องให้กรมประมงร่วมตรวจสอบ
  2. หาหมูที่ตกค้างในประเทศ ให้กรมการค้าภายในออกประกาศ ให้ผู้ครอบครองเนื้อหมูหรือส่วนประกอบตั้งแต่ 1 ตัน ชี้แจงการครอบครองและที่มา และร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ในการตรวจสอบ 
  3. เร่งดำเนินคดีและทำลายสินค้าที่ผิดกฎหมาย 
  4. ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตทุกราย 

นายณรงเดช ตั้งข้อสังเกตประเด็นเพิ่มเติมด้วยว่า วันนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อยที่ได้รับผลกระทบอย่างน้อย 40,000 ราย ยังไม่ได้รับการดูแล รวมถึงค่าชดเชยจาก ASF ที่เกษตรกรถูกทำลายหมู ทุกวันนี้ก็ยังถูกทวงถาม นอกจากนี้ ที่ดีเอสไอรับผิดชอบในส่วนของคดีพิเศษ 161 ตู้และที่กำลังขยายผล
แต่หมูเถื่อนนอกจากส่วนนี้ นายกฯได้สั่งการหน่วยงานใดรับผิดชอบ การดำเนินการทำลายสินค้าของกลาง เหตุใดจึงล่าช้าทั้งที่มีการจับกุมตั้งแต่เดือนมิถุนายน กรมศุลกากรจะมีการปรับมาตรการเพิ่มเติมหรือไม่ และกระทรวงพาณิชย์จะเข้ามาควบคุมราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ส่งผลต่อต้นทุนของเกษตรกรหรือไม่ 

"เป้าหมายของพรรคก้าวไกล คือการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ให้สามารถกลับมาประกอบอาชีพเลี้ยงหมูได้ ภายใต้โครงสร้างการแข่งขันที่เท่าเทียม ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ สามารถขายหมูในราคาที่เป็นธรรม" นายณรงเดช กล่าว

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...