“ยุทธพร” ชี้ หาก พ.ร.บ.กู้เงิน ดิจิทัลวอลเล็ต ไม่ผ่าน นายกฯ ต้องรับผิดชอบ

"ยุทธพร" กรรมการศึกษาการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ รับ หนักใจ กฎหมายประชามติ หวั่น "ตกม้าตาย" แต่แรก เหตุเสียงผ่าน ต้องเกินกึ่งหนึ่ง ชี้ หาก พ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท เงินดิจิทัลวอลเล็ต ไม่ผ่าน นายกฯ ต้องรับผิดชอบ

วันที่ 15 พ.ย. เมื่อเวลา 09.15 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในฐานะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กล่าวถึงแนวทางการทำประชามติว่า เรื่องการทำประชามติในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเห็นชอบให้ทำ 2 ครั้ง ซึ่งการทำประชามติต้องพิจารณาทั้งในแง่กฎหมายและประเด็นทางการเมือง ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน ส่วนตัวคิดว่า จะต้องทำประชามติ 2-3 ครั้ง ซึ่งตอนนี้ที่หนักใจ คือ เรื่องของการทำประชามติ เพราะมีกฎหมายประชามติเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งต้องใช้เสียงข้างมากสองชั้น ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดเรื่องของการรณรงค์ให้มีการโนโหวต นั่นคือ การให้อยู่บ้าน ไม่ออกมาใช้สิทธิ์ ทำให้เสียงประชามติไม่ถึงกึ่งหนึ่ง และตกม้าตายไปตั้งแต่ขั้นตอนแรกเลย มันมีโอกาสเป็นไปได้ แต่ถ้าเสียงขั้นตอนแรกเกินกึ่งหนึ่ง ขั้นตอนที่สองก็เกินกึ่งหนึ่งอีก กระบวนการทำประชามติก็จะได้รับความเห็นชอบต่อไป

...

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะต้องแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 ก่อนใช่หรือไม่ นายยุทธพร กล่าวว่า มีโอกาสที่จะต้องทำอย่างนั้น เพื่อที่จะทำให้โอกาสของการทำประชามติเป็นไปได้ แนวทางแก้มี 2 ทาง คือ ทำให้เหลือเสียงข้างมากชั้นเดียว กับเสียงข้างมากยังเป็นสองอยู่ แต่ในชั้นที่สองอาจจะลดสัดส่วน ไม่ต้องถึง 50%

นายยุทธพร ยังกล่าวถึงกระแสเสียงวิจารณ์ นโยบายดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาลไม่ตรงปก ว่า เป็นเรื่องที่พรรคเพื่อไทย เดินหน้าก็ไม่ได้ ถอยหลังก็ไม่ดี เปรียบเป็นสภาวะทางสองแพร่ง สำหรับรัฐบาลพอสมควร เพราะเป็นนโยบายหลักที่ใช้ในการหาเสียง ถ้าถอยกระบวนการตั้งคำถามจะเกิดขึ้น พรรคเพื่อไทยไม่สามารถล้มเลิกนโยบายนี้ได้ และต้องยอมรับว่า ในช่วงของการข้ามขั้วทางการเมือง เครดิตและความเชื่อมั่นของพรรคเพื่อไทย ก็เป็นปัญหาใหญ่ แต่เมื่อข้ามขั้วแล้วนโยบายและผลงานถือเป็นสิ่งสำคัญ พรรคเพื่อไทยและรัฐบาลจะถอยไม่ได้ในเรื่องนี้ ขณะเดียวกัน ถ้าเดินหน้าจะต้องถูกกระบวนการตรวจสอบจากหลายหน่วยงาน เช่น ป.ป.ช. ซึ่งมีคณะทำงานขอข้อมูลในหลายเรื่อง รวมไปถึงข้อกฎหมายต่างๆ เช่น พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง เรื่องการเสนอ พ.ร.บ.กู้เงิน ว่า จะขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ จะมีคนไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ที่จะคล้ายกับ พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท ทุกอย่างถือเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางกฎหมายและทางการเมืองด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากสุดท้ายกฎหมายไม่ผ่านทั้งชั้นสภา หรือศาลรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบอย่างไร นายยุทธพร กล่าวว่า ปกติตามธรรมเนียม นายกฯ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลจะต้องแสดงความรับผิดชอบ แม้ว่ากฎหมายไม่ได้เขียนเอาไว้ว่า จะต้องทำอย่างไร ในกรณีกฎหมายสำคัญไม่ผ่าน แต่คงต้องแสดงความรับผิดชอบ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...