จับตา สส.ปชป. โหวตสวนมติพรรค เลือกนายกฯ 'จุรินทร์' รับมีคนขอใช้เอกสิทธิ์

เมื่อวันที่ 22 ส.ค.2566 ที่รัฐสภา เวลา 10.30 น.นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ให้สัมภาษณ์ก่อนการโหวตเลือกนายกฯว่า เสียงส่วนใหญ่ของพรรคให้งดออกเสียง  

เมื่อถามว่า ไม่ใช่มติเอกฉันท์ใช่หรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ก็เป็นเอกสิทธิ์ เสียงส่วนใหญ่แต่เสียงส่วนใหญ่ของพรรค เห็นแบบนี้ จะเรียกว่ามติพรรคก็ได้ โดยในที่ประชุมมีสมาชิกบางท่าน บอกว่าขอเป็นเอกสิทธิ์ ในการที่จะโหวตเลือกนายกฯในครั้งนี้ ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ขัดข้อง  สำหรับตน ขอโหวตตามมติของพรรคคือเสียงส่วนใหญ่ ที่จะงดออกเสียง

เมื่อถามถึง ผู้ใหญ่ของพรรค เช่น นายชวน หลีกภัย และ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน จะลงมติอย่างไร นายจุรินทร์ กล่าวว่า ไม่ทราบ ต้องไปถามท่านเอง 

เมื่อถามว่าแนวทางการทำงานของพรรคประชาธิปัตย์ในรัฐสภา จากนี้จะเป็นอย่างไรนายจุรินทร์ กล่าวว่า ถ้าไม่เป็นรัฐบาลก็ต้องเป็นฝ่ายค้าน  ตนในฐานะรักษาการหัวหน้าพรรค ไม่เคยมอบให้ใครไปเจรจาจัดตั้งรัฐบาล เพราะฉะนั้น เมื่อมีการตั้งรัฐบาลเสร็จสิ้นแล้ว เราก็พร้อมทำหน้าที่ของเรา เมื่อไม่เป็นรัฐบาลก็เป็นฝ่ายค้าน และมีหน้าที่ในการตรวจสอบรัฐบาล

เมื่อถามว่าหากเป็นฝ่ายค้าน ร่วมกับพรรคก้าวไกลจะแบ่งงานกันอย่างไร นายจุรินทร์ กล่าวว่า บอกล่วงหน้าไม่ได้ เพียงแต่ว่า เราก็ทำหน้าที่ของเรา และเราพร้อมยืนยันในสิ่งที่ เป็นประโยชน์สูงสุด กับประเทศ และประชาชนไม่ว่าเราจะมีหน้าที่อะไร 

"ประชาธิปัตย์ เคยเป็นทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลก็เคยเป็น แกนนำฝ่ายค้านก็เคยเป็น เพราะฉะนั้น เราตระหนักดี ในภารกิจที่ต้องทำต่อไป ไม่ต้องกังวล"

เมื่อถามว่า หากมีสมาชิกคนใดคนหนึ่ง ยกมือโหวตให้ นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดทนายกฯเพื่อไทย จะเป็นการขัดมติพรรคหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า มติของพรรค คืองดออกเสียง แต่หากมีใครไปโหวต แบบนั้น ตนคงพูดไม่ได้เพราะเรื่องนี้ยังไม่เกิด แต่ส่วนตัวแล้วไม่คิดว่าจะมี เพราะในที่ประชุมได้พูดกันชัดเจน

เมื่อถามว่า มองการกลับมาของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อย่างไรบ้าง นายจุรินทร์ กล่าวว่า ตนเคยพูดแล้วว่าไม่มีใครห้ามไม่ให้นายทักษิณกลับมา แต่เมื่อกลับมาแล้วก็ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ถือเป็นหลักสำคัญของบ้านเมือง ประเทศเราปกครองด้วยนิติรัฐ เพราะฉะนั้นกฎหมายต้องเป็นกฎหมาย ทุกคนมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง ถ้ากฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ บ้านเมืองก็ไปลำบาก เพราะฉะนั้นการบังคับใช้กฎหมายเป็นเรื่องสำคัญ ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันและเท่าเทียมกัน นี่คือหลัก ไม่มีข้อยกเว้น

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...