'หัวเว่ย - เทนเซ็นต์' ติดท็อป 10 โลก ถือสิทธิบัตรความมั่นคงไซเบอร์มากที่สุด

สำนักข่าวนิกเคอิ เอเชีย และซีเอ็นบีซี รายงานว่า บริษัทสัญชาติจีนถือครองสิทธิบัตรในภาคเทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกเพิ่มมากขึ้น ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับจีนที่ทวีความรุนแรงขึ้น

ข้อมูลที่รวบรวมโดยนิกเคอิ เอเชียร่วมกับเล็กซิสเน็กซิส ผู้ให้บริการข้อมูลของสหรัฐระบุว่า กลุ่มบริษัทจีน เช่น "หัวเว่ย" และ "เทนเซ็นต์" ติด 6 ใน 10 อันดับแรกของบริษัทที่มีการถือครองสิทธิบัตรในภาคเทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกในปีนี้ จากการรวบรวมสิทธิบัตรที่จดทะเบียนใน 95 ประเทศและภูมิภาค ระหว่างเดือนม.ค.- ส.ค.2566

รายงานบรรดาค่ายบริษัทเทคโนโลยีจากจีนเป็นรองเพียงแค่ "ไอบีเอ็ม" ยักษ์ใหญ่ด้านไอทีจากสหรัฐ ที่ครองแชมป์ผู้ถือสิทธิบัตรในด้านนี้มากที่สุด 6,363 ฉบับ  ตามมาด้วย หัวเว่ยและเทนเซ็นต์ ในอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ 

สำหรับบริษัทจีนที่ติดกลุ่มท็อป 10 ของโลก มีดังนี้ 

  • หัวเว่ย 5,735 ฉบับ (อันดับ 2)
  • เทนเซ็นต์ 4,803 ฉบับ (อันดับ 3)
  • แอนท์ กรุ๊ป 3,922 ฉบับ (อันดับ 6)
  • สเตท กริด คอร์ป 3,696 ฉบับ
  • อาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิง 3,122 ฉบับ 
  • ไชน่า อินเวสต์เมนต์ คอร์ป (CIC) 3,042 ฉบับ 

ซีเอ็นบีซี รายงานว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นผลมาจากความตึงเครียดที่ทวีความรุนแรงขึ้นระหว่างสหรัฐและจีน ซึ่งผลักดันให้จีน และบริษัทท้องถิ่นพยายามพึ่งพาตนเองในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเมื่อไม่นานมานี้ สหรัฐได้ออกมาตรการจำกัดในการส่งออกชิปปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ไปยังจีน ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นว่าจีนจะใช้ชิปเหล่านั้นเพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางการทหารของตน

ฮิโรโกะ โคซากะ หัวหน้าฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชีย สำหรับแผนกทรัพย์สินทางปัญญาของเล็กซิสเน็กซิส เจแปน กล่าวว่า "บริษัทจีนยื่นขอจดทะเบียนเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ปี 2561"

หากเทียบการจดทะเบียนสิทธิบัตรในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา จะพบว่า ไอบีเอ็มจดทะเบียนเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า เมื่อเทียบกับหัวเว่ยและเทนเซ็นต์ ที่เพิ่มขึ้นมากถึง 2.3 เท่า และ 13 เท่า ตามลำดับ 

ทั้งนี้ หัวเว่ยตกเป็นเป้าหมายของมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย และห่วงโซ่อุปทานของสหรัฐ นับตั้งแต่สหรัฐคุมเข้มการส่งออกของบรรดาบริษัทเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างเข้มงวดเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา

 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...