นักวิชาการไม่เห็นด้วย เปลี่ยนเกณฑ์ "เงินดิจิทัล" ชี้ต้องทำตามสัญญาประชาคม

นักวิชาการไม่เห็นด้วย หากรัฐบาลจะเปลี่ยนเกณฑ์ "เงินดิจิทัล" ชี้เป็นนโยบายที่สัญญากับประชาชนไว้แล้ว ด้าน "ศิริกัญญา" แนะเรื่องนี้คงต้องมีการปรึกษาหาทางออกกันใหม่

วันที่ 26 ต.ค. 2566 ใน "NewsRoom" รายการทอล์กคุยข่าวใหญ่ ทางไทยรัฐออนไลน์ ดำเนินรายการโดย คิงส์ พีระวัฒน์ อัฐนาค และ กาย พงศ์เกษม สัตยาประเสริฐ วันนี้เป็นการพูดคุยกันในประเด็นร้อนแรง ที่สังคมกำลังเฝ้ารอกับ เงื่อนไขการรับ "เงินดิจิทัล" ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.ดร.กิตติ ลิ่มสกุล นักวิชาการ อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า สำหรับเรื่องระยะทาง เป็นอำเภออาจจะรับได้ แต่เรื่องของการแยกชั้นตามรายได้ คิดว่าไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ และปรัชญาของดิจิทัลวอลเล็ต เพราะเราอยากให้มันเป็นทั่วหน้า ปรัชญาคือการกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ใช่ความเท่าเทียม ซึ่งการที่นักวิชาการหลายคนเสนอว่าให้แยกเป็นทาร์เก็ตแบบนี้มันไม่ใช่ ตนขอเสนอว่าต้องให้กันถ้วนหน้า หากคนรายเยอะ ไม่อยากใช้สิทธิ์ก็แค่ไม่ต้องรับ ไม่เห็นจะต้องกังวลอะไร

...

โดยปรัชญาที่มีเสนอ 3 เงื่อนไขขึ้นมานั้น ตนมองว่าการให้กลุ่มเฉพาะ หรือให้กลุ่มที่ควรให้มันก็ไม่ผิด แต่มันไม่ตรงกับดิจิทัลวอลเล็ต เพราะมันจะไม่ทำให้เศรษฐกิจไม่โต มันจะคล้ายกับรัฐบาลที่แล้ว เป็นสังคมสงเคราะห์ สำหรับเรื่องการโตของ GDP ที่บอกว่ามีการโตอยู่แล้ว ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะมันถูกกระตุ้น แต่โตที่แค่ตัว C แต่ครั้งนี้ที่จะแจกเงินดิจิทัล มันจะไม่ใช่แค่นั้นเพราะรัฐบาลอยากเห็นให้เอาไปบริโภคส่วนหนึ่ง สัก 50 เปอร์เซ็นต์ อีกส่วนหนึ่งก็ไปรวมตัวทำวิสาหกิจชุมชน ก่อให้เกิดการผลิต เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นรัฐบาลเขาก็อยากจะเห็นว่าควรจะใส่อะไรลงไป เพื่อให้มันเกิดผลในระยะยาว

เมื่อถามการกระตุ้นเศรษฐกิจ ศ.ดร.กิตติ เผยว่า เพื่อนบ้านอาเซียนเขาโตกว่าเราทั้งนั้น แต่ค่าเฉลี่ยของเราแค่ 2 ถ้าดูภาพรวมแล้ว เราต่ำกว่าชาวบ้านโดยไม่จำเป็น แต่หากเราไม่เพิ่มการเจริญเติบโต ก็จะตามเพื่อนบ้านไม่ทัน และไม่ดึงดูดความสนใจให้คนมาลงทุน และมันก็จะต่ำกว่าชาวบ้านไปอีก ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องเสียหายมาก แต่ถ้าแจกถ้วนหน้าไม่ได้ แล้วต้องตัดกลุ่มรายได้สูงออก มันก็ไม่ต่างจากเดิม แถมต้นทุนในการเช็กรายได้ จะแพงกว่าเดิม และวุ่นวายโดยไม่จำเป็นอีก แล้วมันไม่กระตุ้นด้วย 

สำหรับเงื่อนไขในส่วนของพ่อค้าแม่ค้า ที่ต้องอยู่ในระบบฐานภาษีเท่านั้น ตามจริงพ่อค้าที่ขึ้นทะเบียน แสดงว่าเขาต้องการเงินสด แต่หากเก็บไว้แล้วไม่แลก มันก็อาจจะมีเรื่องที่ต้องตั้งโต๊ะพิจารณากันอีกในเรื่องของเงินที่จำนำมาจ่ายให้เขาในอนาคต ซึ่งเรื่องนี้ตนเองก็ยังไม่ชัดเจน ซึ่งที่ตนเองพูด ก็อยากจะให้นายกฯ คิดให้รอบคอบ เพราะเรามาไกล เป็นมติมหาชนไปแล้วว่าถ้วนหน้า

สำหรับคำถามที่ว่า การใช้นโยบายกึ่งการคลัง มันเสี่ยงต่อเสถียรภาพไหม ตนว่ามันไม่เสี่ยง แต่ก็ขอให้รับฟัง และตีความว่าหากมีอะไรติดขัด ก็ต้องดูเรื่องของกฎหมาย หรือหากมันจ่ายให้ไม่ทันจริงๆ ตามเวลาที่เคยพูดไว้ ก็จ่ายเอาเป็นส่วนๆ ไป เพราะการไม่ให้ ก็เหมือนไม่รักษาคำพูด ถ้าจะบอกว่าไม่ให้ถ้วนหน้า อันนี้ตนไม่เห็นด้วย เพราะเป็นคำสัญญาประชาคมไปแล้ว แต่ตนเองก็เชื่อว่ารัฐบาลทำได้ ภาวนาว่านายกฯ แจกให้ทุกคน ส่วนเรื่องที่จะให้หลายครั้งหรือไม่นั้น ตนคิดว่าหากเงินไม่พอ ก็แบ่งๆ ให้ไป และต้องให้ประชาชนระดมเงินกันรวมเป็นวิสาหกิจชุมชน ขอให้นายกฯ ทำให้สำเร็จ 

ด้าน คุณศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้กล่าวว่า ที่เราไม่เห็นด้วยในเรื่องของเงินดิจิทัล เพราะช่วงเวลาไม่เหมาะกับการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดนั้น เพราะมันไม่ได้ตกต่ำขนาดนั้น เราไม่เห็นด้วยที่จะมาอัดฉีดระยะสั้นขนาด สำหรับเรื่องของความคุ้มค่านั้น ก็รอว่าทางรัฐบาลจะเปิดเผยตัวเองออกมาอย่างไรบ้าง

แต่สิ่งที่เรากังวลมาตลอด คือแหล่งที่มาของเงิน เพราะตั้งแต่แรกมันมีข้อมูลมาว่ามันไม่น่าจะเป็นไปได้อยู่แล้ว แต่ต่อมามันก็เห็นปัญหาหลายอย่าง จนต้องตั้งคำถามว่า หรือมันมาถึงทางตันแล้ว สำหรับเงื่อนไข ที่คณะอนุกรรมการพูดมา ทั้งทางเลือกที่ 1 และ 2 จะเห็นว่าจำนวนผู้ได้รับเงินน้อยลงมานิดเดียวเอง ซึ่งก็ยังคงเป็นเม็ดเงินที่มากอยู่ดี แต่หากเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ได้เฉพาะผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มันก็มีความเป็นไปได้ แต่ก็จะสูญเสียความสามารถของการกระตุ้นเศรษกิจ ซึ่งไม่ตรงกับจุดประสงค์ที่เสนอนโยบายไว้ตั้งแต่แรก แต่มันมีหลายวิธี ที่จะทำให้เศรษฐกิจกลับมาคึกคักได้ 

ซึ่งตัวเงินมันจะมาปีหน้าอยู่แล้ว ส่วนตัวเลขจีดีพี มันก็จะโตขึ้นอยู่แล้ว และเมื่อมาดู ก็จะพบว่าตัวเลขที่ทำไม่ให้มันโตขึ้น คือเรื่องของการส่งออก จริงๆ แล้วมันมีทางเลือกอื่น แต่ไม่ใช่การกระตุ้นระยะสั้นอย่างทุกวันนี้ แน่นอนว่าประเทศเราฟื้นตัวช้าจากโควิด เพราะเราไม่เคยผ่านสถานการณ์ติดลบจากโควิด ซึ่งมันไม่ได้เป็นเพราะเราบริโภคต่ำ แต่เราไปผูกเศรษฐกิจจากประเทศจีนที่เขาฟื้นตัวช้า มีความเชื่อมโยงในเรื่องของการค้า และการท่องเที่ยว ทำให้เราฟื้นตัวช้า ดังนั้นมันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง มากกว่าเศรษฐกิจที่โตช้ามากกว่าปกติ 

สำหรับเรื่องการแจกเงิน เราต้องดูเรื่องผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่าคนที่เขาได้นั้น ได้ใช้เงินมากกว่าปกติเท่าไร ซึ่งเราก็ไม่ได้มีเจตนาชี้ให้เห็นว่ามันมีงานวิจัยที่เหมือนกัน เมื่อถามว่าจะแจกทั้งหมดเลยทุกคน หรือแจกตามเงื่อนไขที่งอกมา คิดว่าแบบไหนที่โอเคสุดนั้น คุณศิริกัญญา กล่าวว่า ตนเองคิดว่า หากไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณ การแจกเงินให้ทั้งหมดก็น่าจะเป็นไปได้

แต่พอเรามาดูการคลัง และงบประมาณแล้ว ก็เป็นไปได้ยาก แม้จะใช้เงื่อนไขคนถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐก็ตาม ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องมาคุยกัน เพราะหลายเงื่อนไขมันติดปัญหา แม้คนนำเสนอว่า หากงบประมาณไม่พอ ก็ให้จ่ายเป็นงบผูกพัน เรื่องนี้มันก็กลับมาอยู่ที่อุปสรรคหลัก คืองบประมาณมันไม่เพียงพอ แม้จะแจกหลายครั้ง แต่สิ่งที่หายไป ก็คือเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจ และสุดท้ายแล้วมันก็เหมือนแค่คำมั่นสัญญาที่รัฐบาลทำเพื่อรักษาหน้าไว้เฉยๆ โดยที่ไม่คำนึงถึงผลลัพธ์

สำหรับการแจกให้ประชาชนนั้น ในความเห็นของตน เวลาที่บอกจะกระตุ้นเศรษฐกิจ หนึ่งในมาตรการที่สำคัญคือต้องทำได้เร็ว แต่การแจกเป็นสิ่งอื่น นอกเหนือจากนั้น มันก็ต้องใช้เวลาเพิ่มเติม ดังนั้นการใช้เป็นเงินสดก็น่าจะเป็นการกระตุ้นทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า 


อย่างไรก็ตาม ติดตาม "NewsRoom" สดทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 18.30-19.30 น. ทางยูทูบไทยรัฐออนไลน์ และเฟซบุ๊กไทยรัฐออนไลน์.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...