ถ้ารู้จักจะยิ่งรัก "พันธ์ภักดี พัฒนกุล" จาก Armstrong สู่ ผบ.ทอ.คนที่ 30

เสียงปรบมือลั่นทุ่งดอนเมือง เมื่อ "บิ๊กไก่" พล.อ.อ.พันธ์ภักดี พัฒนกุล ได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) คนที่ 30 รับธงต่อจาก "บิ๊กตุ๊ด" พล.อ.อ.อลงกรณ์ วัณณรถ ต่างชื่นชม แซ่ซ้องในการตัดสินใจ ของ พล.อ.อ.อลงกรณ์ ที่มองถึงผลประโยชน์ และแผนพัฒนาความต่อเนื่องของกองทัพอากาศ

โดยเฉพาะการได้คนดี คนเก่ง คนมีความรู้ มีความสามารถ เข้าบริหารเพื่อให้ "กองทัพอากาศ" เป็นกองทัพที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ "UNBEATABLE AIR FORCE" ตาม Call sign-"Armstrong" 

หลังรับตำแหน่ง พล.อ.พันธ์ภักดี พัฒนกุล ได้เปิดตัว พร้อมแถลงนโยบาย ภายใต้การบริหารงาน 2 ปีในตำแหน่ง "ผบ.ทอ." โดยเลือกสถานที่ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เป็นเวทีแสดงเจตนารมณ์ให้ นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชการ นักเรียนนายเรืออากาศ และกำลังพลของกองทัพอากาศ โรงเรียนการบิน และกองบินต่างๆ ได้รับฟังอย่างทั่วถึง และตระหนักถึงหน้าที่อันสำคัญในการปฏิบัติงานราชการสำคัญ

...


และจากนี้ "กองทัพอากาศ" จะต้องเป็น กองทัพ ที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพผ่านการขับเคลื่อนนโยบาย 8 ด้าน

1. ด้านกำลังพลและการศึกษา (Personnel & Education), 2. ด้านข่าวกรองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Intelligence & IR), 3. ด้านยุทธการและการฝึก (Operations & Training), 4. ด้านการส่งกำลังบำรุง (Logistics), 5. ด้านกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ์ (Civil affairs & Public relations), 6. ด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ (ICT & Cyber), 7. ด้านสวัสดิการ (Welfare), 8. ด้านการกำกับดูแลมาตรฐาน (Standardization)


โดยยังเน้นย้ำถึงความสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ต้อง "รู้ รัก สามัคคี" คือ การรู้และรับผิดชอบหน้าที่ของตนเอง มีความจงรักภักดีต่อองค์กร และต้องมีความสมัครสมานสามัคคีในหมู่คณะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นกลไกพื้นฐานในการพัฒนากำลังพลให้รู้รักสำนึกในหน้าที่การเป็นทหารอากาศ

เพื่อนำกองทัพอากาศสู่ความแข็งแกร่งที่ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ โดยสอดคล้องกับชื่อนามเรียกขานว่า "ARMSTRONG" ที่มีความหมายถึงการเป็นผู้นำทหารอากาศที่เข้มแข็ง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละและทุ่มเทเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

 


นอกจากนี้ พล.อ.อ.พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผบ.ทอ. ยังมุ่งสนองตอบนโยบายของ "รัฐบาล" ในการชะลอการจัดซื้อ จัดหายุทโธปกรณ์ โดยเฉพาะโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ แต่จะใช้การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น จะเน้นการปรับปรุง ซ่อมบำรุง และจัดหาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย รวมถึงการช่วยเหลือประชาชน


ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน BT67 ที่จะสามารถบรรจุแท็งก์น้ำได้ในการดับไฟป่า รวมถึงการสลายหมอกควัน จะเน้นเรื่องความปลอดภัยเช่นการซ่อมแซมอากาศยาน

และในปี 2571 จะเริ่มทยอยปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ F16 ที่กองบิน 1 นครราชสีมา ซึ่งใช้เวลาประมาณ 5 ปี จะปลดประจำการ ระหว่างนี้พยายามซ่อมบำรุงเพื่อให้ปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะฉะนั้นการจัดหาเครื่องบินมาทดแทนต้องใช้ระยะเวลา

ขณะที่การจัดหาเครื่องบิน Gripen 1 ฝูง ต้องใช้เวลาถึง 10 ปี ในการฝึกนักบิน เพื่อให้เกิดความพร้อมรบ เพราะฉะนั้นต้องวางแผนล่วงหน้าและอาจจะต้องขอจัดหาเครื่องบินขับไล่ทดแทนในปีงบประมาณ 2568 โดยจะคำนึงถึงความคุ้มค่า เกิดประโยชน์กับกองทัพอากาศมากที่สุด


ประวัติ พล.อ.อ.พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผบ.ทอ.คนที่ 30 

เกิดวันที่ 28 มีนาคม 2508 เป็นชาว อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช สมรสกับ นางมนทิรา พัฒนกุล มีบุตรชาย 1 คน บุตรสาว 2 คน 


การศึกษา

เตรียมทหาร รุ่นที่ 24 (ตท.24) นายเรืออากาศ 31 (นนอ.31)

เป็น นักบิน CT-4A, T-37 Twinny, A-37B Dragonfly, F-5E/F Tiger shark, F-16A/B Fighting Falcon, JAS-39C Gripen


ตำแหน่งสำคัญ

-นักบินฝูงบิน 211 กองบิน 21 อุบลราชธานี (A-37B)

-นักบินฝูงบิน 403 กองบิน 4 ตาคลี (F-5E/E)

-นักบินฝูงบิน 103 กองบิน 1 นครราชสีมา (F-16)

-ครูการบิน/นักบินลองเครื่อง (F-16)

-อาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ

-นายทหารคนสนิทประจำเสนาธิการทหารอากาศ

-ผู้บังคับฝูง 403 กองบิน 4 ตาคลี (F-16)

-ฝ่ายเสนาธิการกองนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารอากาศ

-รองผู้บังคับการกองบิน 4 ตาคลี

-นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารอากาศ

-ผู้บังคับการกองบิน 7 (Gripen) สุราษฎร์ธานี

-ผู้ช่วยทูตไทยประจำกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร

-รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและบริหารกำลังพล กรมกำลังพลทหารอากาศ

-ผู้อำนวยการสำนักยุทธการและการฝึก กรมยุทธการทหารอากาศ

-ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารอากาศ

-รองเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ

-เจ้ากรมข่าวทหารอากาศ

-รองเสนาธิการทหารอากาศ

-เสนาธิการทหารอากาศ

-ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ


หลักสูตร

-ศิษย์การบิน น.83-31-1

-นายทหารชั้นผู้บังคับฝูงรุ่น 80

-โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่น 42

-วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่น 44

-วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 61

หลักสูตรภายนอก

-หลักสูตรนักบริหารงบประมาณระดับสูง รุ่น 5 สำนักงบประมาณ

-หลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล รุ่น 3 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล 

-หลักสูตรวิทยาการการจัดการสำหรับนักบริหารระดับสูง วบส.6 นิด้า

-หลักสูตรผู้บริหารหลักนิติธรรมและการพัฒนา สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...