ประชาชาติ ย้ำจุดยืน เลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน-กฎหมายพิเศษ จังหวัดชายแดนภาคใต้

ประชาชาติ ย้ำจุดยืน ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน-กฎหมายพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชี้ แถลงการณ์ แนะ รัฐบาลเป็นกลาง ไม่เกี่ยว ท่าทีนายกฯ สภาฯ ตั้ง กมธ.วิสามัญเพื่อศึกษาและเสนอแนวทางกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2566 ที่รัฐสภา นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สส.นราธิวาส และโฆษกพรรคประชาชาติ (ปช.) แถลงถึงการต่ออายุพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะครบกำหนดในวันที่ 20 ต.ค.นี้ ว่า นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน (กบฉ.) ได้เชิญ สส.ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ คือ จ.นราธิวาส จ.ยะลา จ.ปัตตานี จ.สงขลา และจ.สตูล เพื่อสะท้อนรับฟังประด็นปัญหาในเรื่องนี้ ซึ่งพรรคประชาชาติ ยืนยันมาตลอดว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือกฎหมายพิเศษ เช่น กฎอัยการศึกที่ใช้บังคับในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถึงเวลาแล้วที่ต้องยกเลิก แล้วนำกฎหมายปกติมาบังคับใช้ ส่วนจะยกเลิกในคราวเดียว ยกเลิกบางอำเภอ หรือทีละอำเภอ ก็แล้วแต่ทางประธานกบฉ. จะพิจารณาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถือว่าเป็นนิมิตหมายในทางบวก ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ประธานกบฉ. มาพบ สส. ที่เป็นตัวแทนของประชาชนในพื้นที่ เพราะปกติ กบฉ. จะเชิญเพียงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ อาทิ กอ.รมน. สมช. ตำรวจ ทหารที่เกี่ยวข้อง มาพูดคุยหารือเท่านั้น จึงขอเรียกร้องถึงเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ลดจำนวนด่านตรวจให้น้อยลง เพราะเกินความจำเป็น อีกทั้งเป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีและทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงว่าเปลี่ยนรัฐบาลใหม่แล้ว บรรยากาศก็น่าจะดีขึ้น

เมื่อถามถึงญัตติเพื่อขอให้สภาฯ ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญเพื่อศึกษาและเสนอแนวทางกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่พรรคประชาชาติ เสนอในครั้งนี้ จะมีสัญญาณในแง่บวกมากกว่าในอดีตที่ผ่านมาหรือไม่ นายกมลศักดิ์ กล่าวว่า ทุกยุคสมัย สภาฯ มีการตั้งกมธ.วิสามัญพิจารณามาตลอด แต่พิจารณาในภาพรวม รอบนี้จะมีการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพูดคุยสันติภาพ ที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยจะนำกระบวนการพูดคุยสันติภาพที่เคยดำเนินการมา 3 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ ให้สภาฯ พิจารณาศึกษาเป็นครั้งแรก ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่จะนำมาศึกษาในสภาฯ เพราะปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาขัดแย้งยืดเยื้อ ตนมองว่าเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ จึงต้องให้คนทั้งประเทศรับทราบ เพื่อให้เข้าใจปัญหามากกว่าเดิม ส่วนสภาฯ จะเห็นชอบหรือไม่นั้น ตนทราบมาว่าทั้งวิปรัฐบาล และวิปฝ่ายค้านเห็นชอบที่จะมีการตั้งกมธ.วิสามัญฯ ขึ้นมาพิจารณา

...

เมื่อถามถึงกรณีพรรคประชาชาติ ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับความไม่สงบในตะวันออกกลางคล้ายกับแถลงการณ์ของสำนักจุฬาราชมนตรี ที่อยากให้รัฐบาลไทยวางตัวเป็นกลางทางการเมือง สะท้อนความไม่พอใจของชาวมุสลิมไทยต่อท่าที นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ออกมาประณามการโจมตีอิสราเอลหรือไม่ โฆษกพรรคประชาชาติ กล่าวว่า ไม่เกี่ยวข้องกัน เป็นความเห็นของพรรคประชาชาติ ตามแถลงการณ์เราอยากให้วางตัวเป็นกลางในความขัดแย้ง

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...