"สิทธิพล" เห็นด้วย นักวิชาการ ส่งสัญญาณอันตราย นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต

"สิทธิพล" ทีมเศรษฐกิจก้าวไกล เห็นด้วยทุกประตู 99 นักวิชาการ คณาจารย์เศรษฐศาสตร์ ส่งสัญญาณอันตรายนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต เตือน 3 ช่องโหว่ ได้ไม่คุ้มเสีย สร้างภาระลูกหลาน เสี่ยงไม่โปร่งใสใช้เงินนอกงบฯ เลี่ยงตรวจสอบ

วันที่ 7 ต.ค. 66 นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะทีมเศรษฐกิจ พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี 99 นักเศรษฐศาสตร์ นักวิชาการ และคณาจารย์ ลงชื่อแถลงการณ์ร่วมเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก นโยบายแจกเงิน Digital 10,000 บาท ว่า การที่อดีตผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ถึง 2 คน รวมถึงอาจารย์ และนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์จำนวนมาก แสดงความกังวลจริงจังแถลงการณ์ต่อสาธารณะ สะท้อนพยันอันตรายขนาดของความเสียหายที่รออยู่ ในแง่ปรากฏการณ์นี้ เป็นสัญญาณสำคัญหนึ่งที่รัฐบาลควรจะต้องทบทวน และคือสัญลักษณ์ที่สาธารณชนน่าช่วยสะท้อนถึงรัฐบาล และนักการเมืองของรัฐบาล ก้าวไกลเคยเตือนเเล้วทั้งตอนดีเบตหาเสียง และตอนครม.แจกแจงนโยบายต่อรัฐสภา ว่ามันจะได้ไม่คุ้มเสีย เพราะต้นทุนที่ใช้จะสูงกว่าประโยชน์ที่ได้มา ซึ่งตนเห็นด้วยกับทุกข้อของแถลงการณ์

นายสิทธิพล กล่าวว่า ปัญหาของนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต มี 3 ข้อ 1.ไม่มีประสิทธิภาพ 2.ไม่คุ้มค่า 3.ไม่โปร่งใส เสี่ยงสร้างภาระทางการคลังจำนวนมาก

ขยายความข้อ 1.เรื่องไม่มีประสิทธิภาพ นั้น ช่วงโควิด-19 ปี 64 เราใช้งบกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเม็ดเงินขนาดใกล้เคียง กันกับเงินนโยบายดิจิทัล วอลเล็ต ผลคือเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวน้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศ อื่นๆ มันอาจสะท้อนว่า การที่รัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเครื่องมือแบบเดิม โดยหวังผลให้มันดีกว่าเดิมจึงเกิดยาก ดิจิทัลวอลเล็ต มีเป้าหมายพยายามจะกระตุ้นผ่านการบริโภค แต่สิ่งที่สะท้อนว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภค คือ แจกเงินเพื่อหวังให้คน กิน ใช้ เที่ยว จับจ่ายใช้สอย เพื่อทำให้เศรษฐกิจบูม คาดหวังได้ยากในแง่ของโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ดูจากสัดส่วนการบริโภคต่อรายได้ของคนไทย พบว่า ถ้าคนไทยมีเงิน 100 บาท จะใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเมื่อเทียบกับรายได้ประมาณ 70% วันนี้คนไทยบริโภคเยอะอยู่แล้ว การเอาเงินมาให้ประชาชน แล้วหวังให้ประชาชนเปลี่ยนวิธีการใช้เงินคงยาก แทนที่จะใช้ เขาก็เก็บเงินเข้ากระเป๋าไว้ หมายความว่าสุดท้ายแล้วประชาชนอาจไม่ได้ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แค่เปลี่ยนเอาเงินที่ตัวเองจะใช้เก็บไว้ แล้วเอาเงินที่รัฐบาลบังคับให้ใช้ภายใน 6 เดือน ไปใช้ก่อนแทน

...

"พูดง่ายๆ ประชาชนอาจเก็บเงินของตัวเองไว้แล้วใช้เงินของรัฐบาลก่อน และเอาเงินของตัวเองที่เก็บไว้ไปใช้หลังจาก 6 เดือนดังนั้นความคาดหวังที่รัฐบาลบอกว่า อยากจะไปช่วยทำให้เกิดพายุหมุนทางเศรษฐกิจ อาจจะไม่เป็นไปตามที่รัฐบาลคาดหวัง สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลคาดหวังและรัฐบาลพูดคืออยากให้กระตุ้นการใช้จ่ายและหวังให้กระตุ้นการลงทุนให้เอกชนต่างๆ ลงทุนถามจริงๆ เถอะว่าในมุมผู้ประกอบการถ้าเขารู้ว่าเงินนี้มันมาแค่หกเดือนเขาจะไปลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม หรือจะไปลงทุนขยายการผลิตเพิ่มหรือ ไม่น่าใช่ เพราะรู้ว่าเงินนี้มาช่วงสั้นๆ การหวังว่าจะให้มีการขยายการลงทุนมากขึ้นก็เป็นไปได้ยาก"


นายสิทธิพล กล่าวว่า ข้อ 2.ไม่คุ้มค่า คือ ทุกอย่างมีค่าเสียโอกาส และราคาที่ต้องจ่าย รัฐบาลกำลังเอาเงิน 560,000 ล้านบาท ไปแจก แต่ประเทศยังมีโครงการอื่นๆ ที่ต้องการใช้งบนี้ เช่นเพื่อการศึกษาสาธารณสุข สวัสดิการ งบลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ต้องถูกตัดแน่นอน ถ้าไม่ถูกตัดแปลว่ารัฐบาลจะต้องไปกู้เงิน หรือหาเงินจากแหล่งอื่นๆ เรื่องนี้มีหลักฐาน คือ งบประมาณ ปี 66 ทั้งปี รัฐใช้ทั้งสิ้นประมาณ สามล้านล้านบาท เป็นงบลงทุนประมาณสี่เเสนเก้าหมื่นล้านบาท สร้างถนนสร้าง สะพาน จัดการน้ำ พัฒนาที่ดินงบจัดหาครุภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ การศึกษารวมกันทั้งหมดของปี 66 อยู่ที่ห้าเเสนล้านบาท หมายความว่าค่าเสียโอกาสของการเอาเงิน เงิน 560,000 ล้านบาท ไปทำดิจิทัลวอลเล็ต คือ การเอางบลงทุนของทั้งประเทศไทยไปเทหมดหน้าตักให้กับเรื่องเรื่องเดียวแล้วมันเป็นเรื่องระยะสั้นด้วย ผลที่ได้คือต่อไปอาจจะไม่มีวันเกิดสะพาน ไม่มีวันเกิดอาคาร หรืออุปกรณ์การศึกษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การแพทย์ อีกเรื่องของหลักฐานความไม่คุ้มค่า คือ มันมีงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ที่สถาบันวิจัยของสถาบันการเงินเขาประเมินเลยว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบดิจิทัลวอลเล็ต เกิดผลถ้าเป็นในเชิงตัวเลขนี้คือน้อยมากหมายความว่าใช้งบกระตุ้นประมาณ 3.6% ของจีดีพีแต่กระตุ้นได้เพียง 1% ของจีดีพี นี่คือตัวเลขงานวิจัยที่โชว์ให้เห็นหนักว่าได้ไม่คุ้มเสีย


นายสิทธิพล กล่าวว่า ข้อ 3.ไม่ยั่งยืน และเป็นภาระกับลูกหลาน คือสิ่งที่รัฐบาลกำลังจะทำ ต้องเอาภาษีที่เก็บจากประชาชน มาใช้จ่าย งบประมาณมันไม่ได้งอกจากท้องฟ้า แต่มาจากภาษีของประชาชนแน่นอน สิ่งที่เกิดขึ้นมันกำลังสร้างภาระทางการคลังในอนาคต รัฐบาลก็มีแนวโน้มที่จะเผชิญข้อจำกัดหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นหนี้สาธารณะ สังคมผู้สูงอายุ ที่สำคัญสุดที่ต้องบันทึกไว้ก็คือรัฐบาลกำลังดำเนินนโยบายภายใต้ความสุ่มเสี่ยงว่าอาจจะไม่โปร่งใสเลี่ยงการตรวจสอบโดยหันไปใช้แหล่งเงินนอกงบประมาณอย่างที่รัฐบาลมีนโยบาย ขยายกรอบเงินนอกงบประมาณจาก 32% เป็น 45% ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี สิ่งนี้มันเป็นการเลี่ยงการตรวจสอบ และเลี่ยงไม่ให้ภาระที่เพิ่มขึ้นถูกนับรวมเป็นหนี้สาธารณะ แต่ถามว่าสุดท้ายแล้วรัฐบาลต้องจ่ายไหม ตอบสั้นๆ ง่ายๆ คือต้องจ่าย แล้วเงินนั้นมาจากไหน ก็มาจากภาษีประชาชนทั้งนั้น สิ่งที่ตนในฐานะเศรษฐศาสตร์ และพรรคการเมือง ฝ่ายค้าน รวมถึง นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากจะต้องตั้งคำถามก็คือมันไม่ใช่แค่ไม่ยั่งยืน แต่รัฐบาลกำลังดำเนินการด้วยวิธีที่เลี่ยงการตรวจสอบไม่โปร่งใสนี่คือปัญหาสำคัญของนโยบายนี้

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘อีลอน มัสก์’ หนุน ‘ทรัมป์’ พนักงานบริจาคให้‘แฮร์ริส’

ข้อมูลจากโอเพนซีเคร็ตส์ องค์กรไม่หวังผลกำไรไม่แบ่งฝักฝ่าย ผู้ติดตามข้อมูลการบริจาคเงินหาเสียงและการล...

สหภาพแรงงาน Teamsters ไม่หนุน'ทรัมป์-แฮร์ริส'

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า สหภาพแรงงานทีมสเตอร์สมีสมาชิกกว่า 1.3 ล้านคน เป็นตัวแทนของกลุ่มคนขับรถบร...

ครึ่งแรกปี67จีนครองแชมป์ซื้อคอนโดเมียนมาซิวเบอร์สองแซงรัสเซีย2ปีซ้อน

วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เป...

อสังหาฯ แบกสต็อกอ่วม 1.57 ล้านล้าน เอ็นพีแอลพุ่ง ‘ทุกตลาดติดลบหนัก’

นายกสมาคมอาหารชุด หวังเร่งแก้นอมินีต่างชาติในตลาดบ้านมูลค่า 1 ล้านล้านบาท จัดเก็บภาษี หวังแบงก์ชาติล...