'นายกฯ' ถอด ‘กรรมการประชามติรธน.’ ดึง ‘วุฒิสาร-ดร.เอ้-ปลัด ดีอีเอส’ ร่วมทีม

พันธกิจรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน หนึ่งในนั้นคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อสร้างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ดูเหมือนว่ารายชื่อกรรมการประชามติรัฐธรรมนูญ "กรรมการประชามติรธน." ที่ปรากฏรายชื่อตามสื่อต่างๆ ถูกกระแสสังคมท้วงติงถึงการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนจากทุกภาคส่วนในสังคม รวมทั้งขาดบุคคลที่มีความเป็นกลาง ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้

มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ลงนามยกเลิกคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 256/2566 เรื่อง คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 3 ตุลาคม และลงนามคำสั่งนายกฯที่ 264/2566 แต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวใหม่จำนวน 34 คน

โดยมีการปรับเปลี่ยนตัวบุคคลบางส่วนที่จะเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการ ภายหลังจากที่พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วม สำหรับรายชื่อบุคคลใหม่ที่จะเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการ 4 คน ประกอบด้วย

1.ศ.วุฒิสาร ตันไชย อดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า เป็นรองประธานกรรมการคนที่ 1

2.ดร.เอ้- ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อดีตผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. พรรคประชาธิปัตย์

3.ศ.พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

4.นายชวลิต วิชยสุทธิ์ อดีต สส.นครพนม จากพรรคไทยสร้างไทย

 

5.นายเจือ ราชสีห์ จากพรรครวมไทยสร้างชาติ

 

6.นายกฤช เอื้อวงศ์ อดีตรองเลขาฯ กกต. ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย

สำหรับบุคคลที่ถูกปรับเปลี่ยน ประกอบด้วย รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ,ดร.นพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย, น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ โฆษกพรรคเพื่อไทย, นายเดชอิศม์ ขาวทอง รักษาการรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์.,ดร.ธนกร วังบุญคงชนะ รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ และนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย

ทั้งนี้ ในส่วนของตำแหน่งประธาน รองประธาน กรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ ยังเป็นบุคคลเดิมที่ได้รับแต่งตั้งไปก่อนหน้านี้

ล่าสุด ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการเปลี่ยนรายชื่อในคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ว่า “เข้าใจว่าอย่างนั้น เพราะสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาท้วงติงมา ก็ต้องฟัง ไม่เกี่ยวกับเรื่องบุคคล แต่เป็นเรื่อง สส.ร่วมเป็นคณะกรรมการไม่ได้”

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...