เทียบกรณีศึกษา 'เยาวชน-ความรุนแรง' ทั่วโลก | กันต์ เอี่ยมอินทรา

เพราะนอกจากจะมีผู้เสียหายโดยตรงคือ ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และครอบครัวแล้ว ยังควรให้ความสำคัญถึงผู้ที่อาจได้รับผลกระทบทางจิตใจจากเหตุการณ์ดังกล่าว และที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ชื่อเสียงภาพลักษณ์ของประเทศโดยเฉพาะในมุมมองของนักท่องเที่ยว

แน่นอนว่า เหตุการณ์นี้อาจจะถูกมองว่าเป็นกรณีปัจเจกบุคคล แต่ก็ไม่ควรมองข้ามถึงปัญหาในเชิงระบบ ทั้งในเรื่องของสถาบันครอบครัว การเข้าถึงอาวุธปืน ทั้งปืนแท้ ปืนเถื่อน หรือปืนประดิษฐ์ รวมไปถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระสุน ทั้งในเรื่องของระบบเตือนภัยของรัฐ ทั้งการตรวจจับป้องกันอาวุธในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งก็ควรให้ความสนใจเช่นกัน

เหตุการณ์ความรุนแรงลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในไทย แต่ความถี่นั้นเริ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนน่าแปลกใจ ความภูมิใจของสังคมไทยที่เคยได้ชื่อว่าเป็นสังคมที่ปลอดภัยในอดีตนั้น ทุกวันนี้แทบจะพูดเช่นนั้นได้ยาก ถึงแม้ว่าหากเทียบกับสหรัฐ หรือในโลกตะวันตกที่ภาพเหตุการณ์ความรุนแรงเช่นนี้พบเห็นได้บ่อยครั้งกว่า

คำแนะนำทางจิตวิทยาหนึ่งที่ถือเป็นมาตรฐานทางวิชาการที่ควรปฎิบัติคือ การไม่ให้แสงหรือความโด่งดังต่อผู้ที่ก่อความรุนแรงนี้ เพราะในทางทฤษฎีนั้นเชื่อว่า มีแนวโน้มจะส่งต่อสร้างให้เกิดแรงบันดาลใจต่อการกระทำซ้ำ ดังนั้น การปกปิดชื่อ หน้าตา หรือการให้รายละเอียดเฉพาะแค่บางประการจึงเป็นที่นิยมในทางสากล ถึงแม้ว่าหลักนี้จะขัดกับอารมณ์ความรู้สึกของคนในสังคมที่จะทั้งโกรธหรือรังเกียจอยากที่จะประณามการกระทำที่ป่าเถื่อนนี้ก็ตาม

สิ่งที่น่าแปลกใจและมีความเชื่อมโยงกันทั่วโลกคือ การกระทำผิดต่อกฎหมายของเยาวชนนั้นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อย่างกรณีความรุนแรงที่สยามพารากอนนี้ ก็ถูกเชื่อมโยงถึงความรุนแรงในทำนองเดียวกันนี้ที่เกิดขึ้นในสหรัฐ ซึ่งจุดเชื่อมโยงก็คือการแต่งตัว ดังนั้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่มีการรณรงค์การไม่ให้แสง หรืองดการให้พื้นที่สื่อกับฆาตกร เพื่อไม่ให้เกิดพฤติกรรมลอกเลียนแบบ

ที่สหรัฐ มีการนัดรวมตัวกับเพื่อทำการปล้นร้านและห้างสรรพสินค้าที่เรียกว่า “Flash Mob Robbery” โดยใช้แพลตฟอร์มทางโซเชียลมีเดีย ทำการนัดกับบุคคลที่ไม่รู้จักเพื่อรวมตัวกันปล้นร้านค้า อาทิ ร้าน Apple ร้านขายเสื้อผ้า Zara ร้านขายอุปกรณ์กีฬา ร้านค้าสินค้าแบรนด์เนม หรือแม้กระทั่งร้านค้าสะดวกซื้อจนทำให้ร้านค้าหรือห้างในบางพื้นที่เสี่ยงในสหรัฐจำต้องปิดตัว

ขณะที่เทรนด์การรวมตัวกันเฉพาะกิจเพื่อปล้นนี้ ก็ได้ลุกลามไปยังยุโรปอย่างประเทศอังกฤษ ที่ล่าสุดเมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา เกิดการรวมตัวครั้งใหญ่ของ Flash Mob จำนวน 50-70 คน ทำการปล้นร้านขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำกลางย่าน Oxford St. ซึ่งเป็นย่านชอปปิงชื่อดังของลอนดอน โดยการนัดรวมตัวนี้เกิดขึ้นในช่วงกลางวันแสกๆ และทำการนัดผ่านโซเชียลมีเดียอย่าง TikTok และ Snapchat

แน่นอนว่าตอนนี้ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่า การปล้นเหล่านี้ล้วนกระทำโดยเยาวชนทั้งสิ้น แต่ถ้ามองโลกอย่างไม่ไร้เดียงสาจนเกินไป ก็จะสามารถพูดได้ว่า การปล้นเหล่านี้ส่วนใหญ่กระทำโดยเยาวชน และการกระทำที่เย้ยกฎหมายเช่นนี้ ก็เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยไม่สามารถจัดการจับผู้กระทำผิด จนกลายเป็นเทรนด์ ณ ตอนนี้

ขณะที่ในยุโรป ปัญหาจากมิจฉาชีพ โดยเฉพาะการล้วงกระเป๋า หรือแม้กระทั่งการปล้น ก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานและยังแก้ไม่ตก ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นในแทบทุกเมืองใหญ่ของยุโรป อาทิ บาร์เซโลนาของสเปน กรุงโรมของอิตาลี กรุงปารีสของฝรั่งเศส และสิ่งที่น่าแปลกใจคือ จำนวนไม่น้อยในกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้ก็เป็นเยาวชน และทำกันเป็นทีม

ดังนั้น “เยาวชน” กับ “ความรุนแรง” จึงน่าจะเป็นประเด็นที่สังคมควรให้ความสนใจ ช่วยกันคิดและหาทางรับมือ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่น่าเศร้าเช่นนี้อีกในอนาคต

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...