“สมศักดิ์” เผย ยังต้องจับตาน้ำล้นตลิ่ง พื้นที่เกษตร เสียหายแล้ว 18 จังหวัด

“รองนายกฯ สมศักดิ์” เตือน สถานการณ์น้ำยังน่าห่วง เผย สทนช.รายงานให้เฝ้าระวังน้ำหลากดินถล่ม “เชียงใหม่-ตาก-กำแพงเพชร-ลำพูน-แพร่-ลำปาง” พร้อมจับตาน้ำล้นตลิ่ง ยืนยัน รัฐบาลให้ความสำคัญดูแลเต็มที่ หลังพื้นที่เกษตร เสียหายแล้ว 18 จังหวัด กว่า 3 แสนไร่

วันที่ 4 ตุลาคม 2566 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา ตนได้รับรายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ จาก สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. โดยมีเรื่องที่ตนยังเป็นห่วง จึงอยากช่วยประชาสัมพันธ์ เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบ เพราะเรื่องนี้ทางรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญและเป็นห่วงพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก จึงได้กำชับทุกหน่วยงานในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ที่ผ่านมา ให้บูรณาการทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด

นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า สถานการณ์ภาพรวมที่ตนเป็นห่วงคือ ในระหว่างนี้ จนถึงวันที่ 7 ตุลาคม จังหวัดที่ต้องเฝ้าระวังน้ำหลากดินถล่ม เนื่องจากได้รับอิทธิพลของร่องมรสุมทำให้มีฝนตกหนัก ได้แก่ จ.เชียงใหม่ (อ.จอมทอง แม่แจ่ม อมก๋อย แม่วาง แม่แตง ฝาง ดอยเด็ก ฮอด ดอยสะเก็ด และกัลยาณิวัฒนา) จ.ตาก (อ.เมืองตาก ท่าสองยาง สามเงา บ้านตาก แม่ระมาด วังเจ้า อุ้มผาง แม่สอด และพบพระ) จ.กำแพงเพชร (อ.โกสัมพีนคร คลองสานและปางศิลาทอง) จ.ลำพูน (อ.ลี้ และทุ่งหัวช้าง) จ.แพร่ (อ.วังชิ้น และลอง) จ.ลำปาง (อ.เถิน แม่ทะ เสริมงาม และเกาะคา) 

รองนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวต่อว่า ส่วนจังหวัดที่ต้องเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำคือ 1.แม่น้ำวัง ได้แก่ อ.สามงา และบ้านตาก จ.ตาก 2.แม่น้ำยม ได้แก่ อ.สวรรคโลก ศรีนคร ศรีสำโรง ศรีสัชนาลัย ทุ่งเสลี่ยม และเมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 3.แม่น้ำเจ้าพระยา คาดการณ์จะมีน้ำหลาก จากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำคลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และ ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ทำตินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1.00-1.50 ม. ทั้งนี้ ในส่วนของภาคอื่นๆ ที่เสี่ยงน้ำหลาก ดินถล่ม ในช่วง 1-3 วัน ยังมี ศรีสะเกษ สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ตราด และนราธิวาส

...


นายสมศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า ความเสียหายในพื้นที่เกษตรกรรม ขณะนี้ เสียหายแล้ว 18 จังหวัด รวม 314,829 ไร่ ได้แก่ ลำพูน สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร ขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี นครพนม สกลนคร ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง ซึ่งเรื่องนี้ รัฐบาลกำลังพิจารณาถึงมาตรการช่วยเหลือ โดยขอให้มั่นใจและย้ำอีกครั้งว่า รัฐบาลนี้ให้ความสำคัญกับพี่น้องประชาชนเป็นที่ตั้ง

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...