'ก้าวไกล' ยังไม่ตอบรับร่วม กก.ประชามติ รธน. ถาม สสร.เลือกตั้งทั้งหมดหรือไม่

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 นายพริษฐ์ วัชรสินธุ โฆษกพรรคก้าวไกล ระบุถึงกรณีปรากฏในรายงานข่าวเมื่อวานนี้ (2 ต.ค.) ว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ระบุพรรคก้าวไกลได้ตอบรับเข้าร่วมคณะกรรมการศึกษาแล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้ส่งรายชื่อนั้น

นายพริษฐ์ ระบุว่า พรรคก้าวไกลต้องชี้แจงว่าเรายังไม่ได้ตอบรับเข้าร่วมคณะกรรมการดังกล่าว ทางตัวแทนจากพรรคเพื่อไทยได้ประสานมาที่ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกลเมื่อกลางสัปดาห์ที่แล้ว และชัยธวัชได้แจ้งกลับไปว่าจะนำมาหารือกับ สส. พรรค ซึ่งจะประชุมกันในวันนี้ ก่อนจะกลับมาให้คำตอบ โดยเหตุผลหลักที่พรรคก้าวไกลยังไม่ตอบรับเข้าร่วม เพราะพรรคยังไม่ได้รับความชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายหรือกรอบของการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมการชุดนี้จะยึดถือ เพื่อใช้เป็นหลักสำหรับการหารือเพิ่มเติมในรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องประชามติ

นายพริษฐ์ ระบุอีกว่า ที่ผ่านมา พรรคก้าวไกลได้แสดงจุดยืนมาตลอดว่าหลักการพื้นฐานที่พรรคก้าวไกลยึดถือและมองว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย คือ (1) จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ (ไม่ใช่การแก้ไขเพียงบางหมวด หรือ บางมาตรา) และ (2) จัดทำโดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด (ไม่ใช่ สสร. ที่มีส่วนผสมของการแต่งตั้ง)

ทั้ง 2 หลักการนี้ ไม่เป็นแต่เพียงจุดยืนของพรรคก้าวไกล แต่ยังเป็นข้อสรุปที่หลายฝ่ายทางการเมืองเคยมีร่วมกัน ผ่านทั้งผลการศึกษาของคณะกรรมาวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 ในปี 2562-2563 ที่ได้ข้อสรุปว่าส่วนใหญ่เห็นตรงกันให้ ‘มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่’ โดย ‘สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากประชาชน’ อยู่ในหน้า 122 ของรายงาน 

รวมถึงผลการลงมติของรัฐสภาต่อร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่จะนำไปสู่การมี สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด มาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในปี 2563-2564 โดยในวาระที่ 1 สมาชิกรัฐสภาลงมติเห็นชอบ 2 ร่างที่จะนำไปสู่การมี สสร. มาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ด้วยคะแนน 88% และ 79% ตามลำดับ ส่วนวาระที่ 2 สมาชิกรัฐสภาลงมติเห็นชอบให้ สสร. มาจากการเลือกตั้งทั้งหม
 

โฆษกพรรคก้าวไกล ระบุด้วยว่า หากทางรัฐบาลยังไม่ยืนยันว่าการทำงานและการหารือของคณะกรรมการศึกษาจะอยู่ภายใต้ 2 หลักการสำคัญดังกล่าว พรรคก้าวไกลมีความกังวลว่าคณะกรรมการศึกษาชุดนี้ (ซึ่งมีองค์ประกอบของตัวแทนจากรัฐบาลหรือคนที่รัฐบาลทาบทามเองเป็นส่วนใหญ่) อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการย้อนหลักการสำคัญที่เคยได้ข้อสรุปร่วมกันมาก่อนแล้วเรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง

"แต่หากทางรัฐบาลยืนยันว่าการทำงานและหารือของคณะกรรมการศึกษาจะอยู่ภายใต้ 2 หลักการสำคัญนี้ เชื่อว่า สส. พรรคก้าวไกล จะยินดีให้ตัวแทนพรรคเข้าร่วมเพื่อให้ความเห็นและทำงานร่วมกันเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับรายละเอียดเรื่องแนวทางการทำประชามติ เช่น จำนวนครั้ง กรอบเวลา คำถาม และแนวทางด้านอื่นๆ เช่น จำนวน สสร. กรอบเวลาทำงานของ สสร." โฆษกพรรคก้าวไกล ระบุ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...