เปิด 35 รายชื่อ คณะกรรมการศึกษาทำประชามติ ยังไร้ตัวแทน พรรคก้าวไกล

เปิด 35 รายชื่อ คณะกรรมการทำประชามติ ยังไร้ตัวแทนจากพรรคก้าวไกล เผย มาจากทุกสาขาอาชีพ ทั้งนักการเมือง-นักวิชาการ-ตร.-ทหาร-นักกิจกรรม-นักศึกษา เผย 3 วิธี ทำประชามติ ย้ำ ไม่แตะ หมวด1 หมวด 2 และพระราชอำนาจ 

วันที่ 3 ต.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายชื่อ 35 รายชื่อ คณะกรรมการทำประชามติ 1. นายภูมิธรรม เวชยชัย ประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติและแนวทางร่างรัฐธรรมนูญ 2. นายชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง 3. นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง 4. นายนิกร จำนง เป็นกรรมการและโฆษกคณะ

คณะกรรมการ

5. พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม 6. นายพิชิต ชื่นบาน เป็นตัวแทนที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี  7. พล.อ.ชัชวาลย์ ขำเกษม 8. พล.ต.อ.สุเทพ เดชรักษา 9. พล.ต.อ.วินัย ทองสอง 10. นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ 11. นายวิรัตน์ วรศสิริน 12. นายศุภชัย ใจสมุทร 13. นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท 14. นายวิเชียร ชุบไธสง 15. นายวัฒนา เตียงกูล

16. นายยุทธพร อิสรชัย 17. นายไพบูลย์ นิติตะวัน 18. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา 19. นายพรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย 20. นายประวิช รัตนเพียร 21. นายนพดล ปัทมะ 22. นายธนกร วังบุญคงชนะ 23. นายธงชัย ไวยบุญญา

24. นายเทวัญ ลิปตพัลลภ 25. นายเดชอิศม์ ขาวทอง 26. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ 27. นายชาติพงษ์ จีระพันธุ 28. นายชนะโรจน์ เทียนธนะวัฒน์ 29. นางสิริพรรณ นกสวน สวัสดี 30. น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์


31.นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ 32. ผู้แทนพรรคก้าวไกล 33. นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส ปลัดสำนักนายกฯ เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ 34. นายนพดล เภรีฤกษ์ รองเลขาธิการกฤษฎีกา c]t35. นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกฯ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

...

อย่างไรก็ตาม เป็นไปตามที่ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ โฆษกพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน  พรรคก้าวไกลยังไม่ตอบรับเข้าร่วม คณะกรรมการศึกษาประชามติรัฐธรรมนูญ พร้อมถามรัฐบาล 2 ข้อ ต้องตอบให้ชัด กรอบใหญ่ยืนยัน จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ โดย สสร.มาจากเลือกตั้งทั้งหมดหรือไม่

ล่าสุด ที่ทำเนียบรัฐบาล  นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงข่าวเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  โดย นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีสรุปสาระสำคัญการหารือ ดังนี้

แนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่มีมติ ครม.เมื่อ 13 ก.ย.2566 โดย นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามจัดตั้ง คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ แก้ไขปัญหาความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยเป็นการสรรหาที่ได้คุยกันในหลักการก่อน โดยจะร่าง รธน.ผ่านการทำประชามติก่อน หลักการ คือ ไม่แตะต้องหมวด 1-2 และไม่แตะต้องพระราชอำนาจ แต่มีกระบวนการเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และต้องเสร็จสิ้นภายใน 4 ปี ของการทำงานรัฐบาล โดยเสร็จสิ้นถึงกฎหมายลูกด้วย

วิธีการในการทำประชามติ 1. ประชาชน 50,000 คนเข้าชื่อ ซึ่งวิธีนี้ต้องใช้เวลาตรวจสอบตัวตนค่อนข้างมาก 2. ยื่นเสนอผ่านรัฐสภาใช้เวลามากเช่นกันและอาจตกได้ 3.ให้คณะรัฐมนตรีมีมติทำประชามติ ครม. ซึ่งถือเป็นการลัดขั้นตอน จึงตั้ง คณะกรรมการเพื่อจัดทำ โดยมีหลักการเดียวกัน แต่อาจแตกต่างในรายละเอียด

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...