‘ปานปรีย์’ ชู 3 แนวทางโลก ‘รับมือ-ป้องกัน’ ระบาดใหญ่

มีรายงานจากกระทรวงการต่างประเทศในวันที่ 20 ก.ย.2566 ตามเวลาสหรัฐ นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกัน การเตรียมความพร้อม และการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ (Pandemic Prevention, Preparedness and Response: PPPR) ในช่วงสัปดาห์การประชุมระดับสูงของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 78 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก

 

 

 

นายปานปรีย์กล่าวว่า โรคโควิด-19 เป็นหนึ่งใน “วิกฤติที่มีหลากหลายมิติ” และร้ายแรงที่สุดในยุคปัจจุบัน โดยปานปรีย์ชี้ให้เห็นถึงแนวทางสำคัญ 3 ประการที่โลกต้องเร่งดำเนินการในลำดับต้น เพื่อยกระดับ PPPR ดังนี้

1.การลงทุนที่เพิ่มขึ้นในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งในช่วงเวลาปกติและภาวะฉุกเฉินเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้แน่ใจว่าระบบสุขภาพจะสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ มีมาตรการคุ้มครองทางสังคมความยุติธรรมทางสังคม รวมทั้งความเท่าเทียมด้านสุขภาพ

2.ประชาคมระหว่างประเทศควรเร่งปฏิรูปโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมด้านสาธารณสุขของโลกให้มีความเท่าเทียม ครอบคลุมทุกกลุ่มประชากร และมีความสอดคล้องกับข้อริเริ่มอื่น ๆ ผ่านการเสริมสร้างขีดความสามารถ ความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพดิจิทัล การเจรจาตราสารระหว่างประเทศว่าด้วยการระบาดใหญ่ และการปรับแก้กฎอนามัยระหว่างประเทศ ปี ค.ศ. 2005 ภายใต้องค์การอนามัยโลก

3.จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มความร่วมมือด้านการพัฒนาสำหรับ PPPR ซึ่งจำเป็นต่อความมั่นคงด้านสุขภาพของโลก ด้วยวิธีการที่เป็นนวัตกรรม รวมถึงผ่านการแบ่งปันสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับสุขภาพ
ผ่านการดำเนินงานระหว่างประเทศภายใต้ข้อริเริ่ม COVID-19 Technology Access Pool (C-TAP)

ในการประชุมครั้งนี้มีผู้แทนระดับสูงเข้าร่วมจำนวนมาก อาทิ ผู้นำประเทศ ผู้แทนระดับรัฐมนตรี ผู้สังเกตการณ์สมัชชาสหประชาชาติและระบบสหประชาชาติ องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรด้านสุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มแรงสนับสนุนทางการเมืองในงานเกี่ยวกับการเสริมสร้างขีดความสามารถของโลกในเรื่อง PPPR รวมทั้งการเจรจาตราสารระหว่างประเทศว่าด้วยการระบาดใหญ่ในกรอบองค์การอนามัยโลก

การประชุมครั้งนี้เป็นเวทีสำหรับประเทศไทยในการยืนยันความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศในการยกระดับ PPPR ของโลก นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้รับรองปฏิญญาทางการเมืองว่าด้วย PPPR ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ประชาคมระหว่างประเทศมีความสมานฉันท์และพร้อมที่จะทำงานร่วมกันบนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือระหว่างกันเพื่อประโยชน์สาธารณะ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...