นายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย แนะไทยปรับสู่โหมดส่งออกอาหารอนาคต

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย  กล่าวในการสัมมนา Thailand Challenge : ความท้าทายประเทศไทย หัวข้อ Thailand Challenge: Opportunity and Position of Thailand ที่จัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ว่า ปัจจุบันโลกอยู่ในภาวะ Polycrisis หรือภาวะหลายวิกฤติ ประกอบด้วย  1.เศรษฐกิจชะลอตัวเกิดปัญหาเงินเฟ้อ ที่หลายประเทศใช้วิธีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อกดให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับนิ่งหรือลดลงให้ได้มากที่สุด ซึ่งการขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลเชิงลบต่อภาคธุรกิจทำให้มีต้นทุนธุรกิจเพิ่มขึ้น บางธุรกิจเพิ่งฟื้นจากผลกระทบโควิดมาเจอเรื่องอัตราดอกเบี้ยอีก

2.ปัญหาสิ่งแวดล้อม  ซึ่งไทยประกาศในเวที COP26  จะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ขณะที่หลายประเทศที่ไปร่วมประชุมก็ให้คำมั่นในเรื่องนี้แต่ระยะเวลาแตกต่างกันในการลดคาร์บอน แต่ในเชิงการค้าเริ่มนำมาตรการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมาใช้กับการค้าโลก เช่น  มาตรการซีแบมของสหภาพยุโรปหรือภาษีคาร์บอนข้ามพรมแดน

3.ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นระหว่าง 2 ประเทศหรือหลายประเทศ ซึ่งประเทศไทยเดินทางถูกทางแล้วที่ไม่อยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  เช่น กรณีสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน เราก็ค้าขายกับ 2 ประเทศ

4.ปัญหาเงินเฟ้อ คาดว่าสหรับน่าจะขึ้นเป็นรอบสุดท้าย และกลับมากระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่  และ 5.เทคโนโลยีดิจิทัล  ถือเป็นเรื่องอนาคต ซึ่งไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชนด้านเทคโนโลยีในหลายประเทศ

ส่วนสภาวะเศรษฐกิจประเทศไทยในปัจจุบันก็อยู่แบบกลางไม่ถึงกับแย่มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยกกร.ประเมินว่า จีดีพีไทยปีนี้จะเติบโต  2.2-3.2 % การส่งออก ติดลบ0.2-1%  เงินเฟ้อ 1.7-2.2 % ด้านตัวเลขการค้าไทย จะเห็นว่าในช่วงโควิดการส่งออกของไทยยังไปได้ดีในสินค้าหลายตัว เช่น อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค แต่หลังโควิดการส่งออกของไทยเริ่มลดลง ซึ่งถือเป็นความท้าทาย

นายวิศิษฐ์ กล่าวว่า  อุตสาหกรรมอาหารของไทยถือเป็นหนึ่งอยู่ในอันดับที่ 15 ของโลก ช่วงโควิดการส่งออก-นำเข้า อาหารไทย สูงขึ้นแต่ก็ไม่ใช่อาหารทุกตัว โดยเฉพาะอาหารที่ใช้ในภาคการบริการ การท่องเที่ยวลดลงมาก ผู้ประกอบบางรายก็ปรับตัวส่งอาหารสู่มือผู้บริโภคโดยตรง

ปัจจุบันเทรนด์อาหารโลกจะเป็นอาหารแห่งอนาคตที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย การตรวจสอบย้อนกลับ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และดีต่อสุขภาพ ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของโลกที่ช่วยสร้างความยั่งยืนและเพิ่มมูลค่าด้วยนวัตกรรม

นอกจากนี้ยังมีอาหารFunctional Foodหรืออาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ  แพลนต์ เบส ฟู้ด ที่เน้นการทานอาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก แทนการบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์ อาหารเพลนเบด ซึ่งเป็นอาหารทางเลือก อาหารสำหรับผู้สูงอายุ ที่ย่อยง่ายและอร่อย  อาหารที่มีไมโครไบโอ ที่กำลังเป็นเทรนด์โลกเพราะเป็นอาหารที่มีจุลินทรีสำหรับการย่อยอาหารของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นโอกาสและความท้าทายของอุตสาหกรรมอาหารของไทย

ทั้งนี้อยากฝากรัฐบาลใหม่ว่า ไทยจะวางตัวอย่างไรภายใต้ความขัดแย้งของโลก ที่ผ่านมาไทยวางตัวได้ดีและต้องทำต่อไป ในส่วนของการค้าระหว่างประเทศนั้น ต้องจับตาดูมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศคู่ค้าที่จะออกมาที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้อยากให้รัฐบาลเร่งเปิดการเจรจากรอบความตกลงทางการค้า หรืแอฟทีเอ ซึ่งจะเป็นแต้มต่อการค้าของไทยและชดเชยสิทธิพิเศษทางศุลกากรที่หาย ปัจจุบันหากไม่มีเอฟทีเอเราก็จะสูญเสียตลาดไปเรื่อยๆ ล่าสุดไทยเปิดเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู รอบแรกไปแล้วถือเป็นสัญญาณที่ดี หากทำสำเร็จก็จะทำให้การส่งออกของไทยกลับมาเหมือนเดิม รวมทั้งเอฟทีเออื่นๆด้วย

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...