'กฟผ.' ลงทุนโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ 2,472 เมกะวัตต์ ต้นทุนผลิตไฟ 2 บาท

นายธวัชชัย สำราญวานิช รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กฟผ. อยู่ระหว่างการศึกษาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ ตามร่างแผน PDP 2024 จำนวน 3 โครงการ กำลังผลิตรวม 2,472 เมกะวัตต์ ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับเขื่อนจุฬาภรณ์ กำลังการผลิต 801 เมกะวัตต์ กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ(COD) ปี 2577 โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับเขื่อนวชิราลงกรณ กำลังการผลิต 891 เมกะวัตต์ กำหนด COD ปี 2579 และโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับเขื่อนกระทุน จ.นครศรีธรรมราช กำลังการผลิต 780 เมกะวัตต์ กำหนด COD ปี 2580 ซึ่งทั้ง 3 โครงการมูลค่าลงทุนรวมประมาณ 9 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ ปัจจุบัน กฟผ.ได้ทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับเขื่อนจุฬาภรณ์ แล้ว และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม แล้ว เมื่อเดือน เม.ย.2567 ที่ผ่านมา โดยขั้นตอนอยู่ในกระบวนการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน ส่งให้กระทรวงพลังงานพิจารณา เพื่อเสนอขออนุติจาก ครม.ต่อไป

อย่างไรก็ตาม หากผลการศึกษาโครงการดังกล่าวสำเร็จ ขั้นตอนต่อไปจะต้องเสนอเข้าบอร์ด กฟผ. เห็นชอบ จากนั้นจะเสนอไปยังกระทรวงพลังงาน หากสอดคล้องกับแผน PDP 2024 และผลตอบแทนเชิงเศรษฐศาสตร์ ทางกระทรวงพลังงานจะส่งเรื่องขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจะรวบรวมความเห็น เพื่อเสนอไปยัง ครม. ต่อไป

สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ ข้อดีคือเป็นระบบกักเก็บพลังงานประเภทหนึ่งที่มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยต่ำ หรือประมาณ 2 บาทต่อหน่วยเท่านั้น ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตไฟฟ้าได้ การผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าชนิดนี้ใช้หลักการเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำทั่วไป คือเก็บกักน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำ แล้วปล่อยน้ำผลิตไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้ามาก ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าทดแทนไฟฟ้าจากพลังลมหรือแสงอาทิตย์ที่ขาดหายไปได้อย่างทันท่วงที

นายธวัชชัย กล่าวภายหลังศึกษาดูงานที่ศูนย์ข้อมูลด้านพลังงาน Hainan Energy Data Center มณฑลไห่หนาน ประเทศจีน ว่า Hainan Energy Data Center เพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลและให้บริการด้านพลังงานของมณฑลไห่หนาน สำหรับกำหนดนโยบายและวางแผนการพัฒนาพลังงานรองรับและสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด อาทิ ข้อมูลการใช้พลังงานของประชากรและบริษัทอุตสาหกรรมทั้งในปัจจุบันและอดีต ข้อมูลสมดุลการผลิตและใช้พลังงานของมณฑลไห่หนาน การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากพลังงานที่ใช้ในพื้นที่ต่างๆ ได้

ขณะที่ประเทศไทยได้นำเทคโนโลยีมาบริหารจัดการโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย ยืดหยุ่น (Grid Modernization) เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียน อาทิ จัดตั้งศูนย์พยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Forecast Center) โดยนำข้อมูลการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ของโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) จำนวน 29 แห่ง ที่เชื่อมต่อกับระบบของ กฟผ. มาวิเคราะห์และประมวลผลพยากรณ์กำลังการผลิตไฟฟ้าเพื่อนำไปใช้วางแผนการผลิตไฟฟ้าร่วมกับโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งมีทั้งรูปแบบการพยากรณ์การผลิตไฟฟ้าระยะสั้น (Day-ahead Forecast) แบบล่วงหน้า 10 วัน เพื่อใช้สำหรับวางแผนการผลิตไฟฟ้าระยะสั้น-กลาง และการพยากรณ์ภายในวัน (Intraday Forecast) ทุก 1 ชั่วโมง และ 6 ชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันเพื่อใช้สำหรับการวางแผนควบคุมระบบไฟฟ้าแบบเรียลไทม์ 

นอกจากนี้ กฟผ.ได้จัดตั้งศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response Control Center) เพื่อลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้าที่สมัครใจในช่วงความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงเพื่อสร้างความสมดุลให้ระบบไฟฟ้า และลดต้นทุนค่าไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศ เตรียมพร้อมต่อยอดสู่โรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power Plant) ในการบริหารจัดการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนได้อย่างต่อเนื่อง

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

'จีน' ผ่านงบใหญ่ 10 ล้านล้านหยวน ลุยแก้หนี้แฝงรัฐบาลท้องถิ่น

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่าในวันนี้ (8 พ.ย.67) ที่ประชุมคณะกรรมาธิการสภาประชาชนแห่งชาติของจีน มีมติ...

‘ทรัมป์’ เลือก ‘ซูซี่ ไวลส์’ เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว สตรีคนแรกรับตำแหน่งนี้

การแต่งตั้ง “ซูซี่ ไวลส์” ดำรงตำแหน่ง ‘แม่บ้านทำเนียบขาว’ เป็นเพียงการประกาศครั้งแรกจากการประกาศแต่ง...

ธนาคารและบริษัทโทรศัพท์ ต้องรับผิดชอบต่อการหลอกลวงออนไลน์

กฎหมายนี้จะเน้นไปที่การหลอกลวงแบบ Phishing เช่น เว็บไซต์ปลอม อีเมลปลอม หรือ SMS ปลอม ที่มิจฉาชีพปลอม...

‘ซาราห์ แม็คไบรด์’ หญิงข้ามเพศคนแรกในสภาสหรัฐ

“ซาราห์ แม็คไบรด์” สมาชิกวุฒิสภาสองสมัยจากรัฐเดลาแวร์ กลายเป็น “ผู้หญิงข้ามเพศคนแรก” ที่ชนะการเลือกต...