'สว.' ถือไพ่นำ เกม 'แก้รธน.' ฮุบ 'ปธ.กมธ.' คุม 'ประชามติ'
วันที่ส่ง: 31/10/2024 - ผู้เขียน: กรุงเทพธุรกิจ
แม้จะเป็นที่ยอมรับว่า การแก้ไข “พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ” เพื่อปลดล็อกหลักเกณฑ์ “เสียงข้างมาก2ชั้น” ทำเสร็จไม่ทัน ใน ต.ค.นี้ เพื่อให้สอดคล้องกับ ปฏิทิน “ออกเสียงประชามติ” แก้รัฐธรรมนูญ ในห้วงเดียวกับการเลือกตั้ง “ท้องถิ่น” ทั่วประเทศ ใน เดือน ก.พ.68 หรือ อีกประมาณเกือบ 4 เดือนจากนี้
ด้วยข้อติดขัด เรื่อง กรอบเวลา “เทอมแรก” ของการประชุมสภา ในปีที่2 ซึ่งหมดลงในวันที่ 30 ต.ค. ทำให้การทำงานภายใต้ “กรรมาธิการร่วมกันของ 2 สภา” ไม่อาจหาข้อยุติในความเห็นต่างกันได้ และไม่สามารถเสนอกลับมายังแต่ละสภาให้ลงมติว่าจะเห็นชอบหรือไม่
ทำให้การประชุมนัดแรกของ “กรรมาธิการร่วมฯ” เมื่อ 30 ต.ค. หลังตั้งกมธ.ในตำแหน่งต่าง ๆ ได้วางกรอบปฏิทินทำงาน แบบหลวมๆ ว่า ภายในช่วงปิดสมัยประชุม ประมาณ 5 สัปดาห์ จะใช้เวลาให้คุ้มค่า หารือกันให้รอบด้าน ประกอบด้วย
1.ด้านความเห็นของ “กมธ.” แต่ละคน ในประเด็นบทบัญญัติที่เห็นไม่ตรงกัน ระหว่าง “สส.” และ “สว.” คือ หลักเกณฑ์การผ่านประชามติเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ ที่ “สส.” ต้องการให้ใช้ เกณฑ์เสียงข้างมากชั้นเดียว คือ “เสียงข้างมากผู้ที่มาลงคะแนน” ขณะที่ “สว.” ต้องการคงเกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น คือ “มีผู้ออกมาใช้สิทธิ์ เป็นเสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์” และ “เสียงเห็นชอบต้องเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาลงคะแนน” รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งหมายถึง “ทางเลือกที่3” ที่ถูกมองว่าจะเป็นทาง “ประนีประนอม” แต่ยังคงหลักการของ “ความเชื่อถือ-เชื่อมั่น” ต่อเสียงที่มีต่อการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ เช่น จำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิ หากเห็นว่า “เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์” มากเกินไป อาจลดระดับเหลือ 1 ใน 4 ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงประชามติ เป็นต้น
เช่น หากมีผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ 50 ล้านคน หากใช้เกณฑ์เสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ หรือ 25 ล้านคนมากไป อาจลดระดับที่ 1 ใน 4 ของจำนวนผู้มีสิทธิหรือ จำนวน 12.5ล้านคน อย่างน้อยเพื่อเป็น จำนวนที่ถือเป็นเสียงการันตีความชอบธรรม ต่อการทำประชามติเรื่องสำคัญ
ทว่าในทางเลือกที่ 3 นี้ ยังไม่เห็นท่าทีจากฝั่ง “สว.” ว่าจะคิดอ่านอย่างไร ขณะที่ “ฝ่าย สส.” มีทิศทางที่จะโอนอ่อนให้ เพื่อเป้าหมายที่สามารถทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ 2560 และส่งผ่านไปยังการ “จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยประชาชน” ให้ทันภายในสภาฯชุดปัจจุบัน
และ 2.ด้านการเตรียมการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ “คณะกรรมการการเลือกตั้ง” (กกต.) และ “บริษัท ไปรษณีย์ไทย” ฐานะองค์กรและกลไก สำคัญที่จะทำให้การออกเสียงประชามติ เป็นไปตามเป้าหมายและผลลัพธ์ตรงตามเจตนาของ “ผู้มาออกเสียงลงประชามติ”
แน่นอนว่า อาจมีความจำเป็นที่ต้องใช้เป็น “เสียงสะท้อน” ในแง่ของการปฏิบัติงานภายใต้กฎหมายที่มีความจำเป็นต่อการทำความเข้าใจของ “เสียงค้าน” โดยเฉพาะหลักการที่ต้อง “ปลดล็อก” เสียงข้างมาก แบบ “กึ่งหนึ่ง2ชั้น”
อย่างน้อยเพื่อให้เกิดความเห็นพ้อง ในเวที “กรรมาธิการร่วมฯ” ที่ประกอบด้วย “ฝ่ายการเมือง” พรรคต่างๆ และตัวแทนที่มีอิทธิพลของสังคม ซึ่งมีผลต่อการทำประชามติ ในพื้นที่ ที่เป็น “ฐานเสียง”
นอกจากนั้นแล้วในกระแสความเคลื่อนไหวต่อเรื่องนี้ ผ่านการประชุมนัดแรก ที่ดูเหมือนจะประนีประนอมกันได้ แต่ในรายละเอียดพบว่า ยังคงมีการชิงความได้เปรียบ โดยเฉพาะการกำหนดตัวบุคคลที่จะทำหน้าที่ “ประธานกรรมาธิการ”
ใน “ฝั่งของ สส.” วางตัว “ประยุทธ์ ศิริพานิชย์” สส.อาวุโสจากพรรคเพื่อไทย ทำหน้าที่ เพื่อหวังคุมเกมและความได้เปรียบในกมธ. โดยเฉพาะการ “ถกเถียง” บทบัญญัติที่เห็นต่างกัน
ทว่า ฝั่ง “สว.” ที่ถูกส่งเป็น “กมธ.” ไม่ยอมตกเป็น “ลูกไล่” เลือกส่ง “พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ แสงเพชร” สว.สายกฎหมาย อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรจว.บุรีรัมย์ มาชิงดำ และแพ็กเสียงกันแบบไม่มีแตกแถว
ทำให้ “ฝ่าย สว.” ได้รับเลือกนั่งในตำแหน่งสำคัญ ขณะที่ “สส.” เกาะกลุ่มไม่แน่นพอ เพราะมีการเปลี่ยนตัวกมธ. บางคนลาประชุม และ สส.ที่นั่งอยู่ กลับเลือก “งดออกเสียง”
แม้ว่าในตำแหน่ง “ประธานกมธ.” ตามบทบาท ดูเหมือน “ไร้อำนาจ” เพราะมีหน้าที่กำกับการประชุมให้เรียบร้อย เซ็นต์เอกสารต่างๆ ทว่าในมุมของการ “ถกเถียง” ในประเด็นที่เป็นทีเด็ดทีขาดเรื่องการเมือง “ประธาน กมธ.” มีสิทธิ์ที่จะชี้ทิศทาง ที่เรียกว่า “ชี้ขาด” ในมตินั้นได้
เหมือนอย่างกรณีการกลับมติ ว่าด้วย “เสียงข้างมาก2ชั้น” ของ “กรรมาธิการฯวุฒิสภา” ที่ตอนนั้น “พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ” เป็นประธานกมธ. ที่ใช้การประชุมนัดสุดท้าย โหวตพลิก “มติกมธ.” ให้ใช้เกณฑ์ “เสียงข้างมาก2ชั้น” หักหน้า “สส.” เคยเกิดมาแล้ว
ดังนั้น กรณีบทบัญญัติใน “ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ” ที่เห็นต่างกัน 2 ฝั่งของกมธ. ว่าด้วย “เกณฑ์ผ่านประชามติ” ระหว่างเสียงข้างมากชั้นเดียว กับ เสียงข้างมากสองชั้น หากท้ายสุดต้องลงมติตัดสิน และเสียงที่มาประชุม “ได้คะแนนเท่ากัน” สิทธิการชี้ขาดจะอยู่ที่ “ประธานกมธ.” ทันที
ดังนั้นหาก “ประธาน กมธ.” แสดงท่าทีชัดเจนว่าอยู่ข้างไหน การได้ตำแหน่งนี้ ถือเป็น “เครื่องชี้” ได้ว่า แนวของประชามติ เพื่อนำไปสู่ “รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประชาชน” จะไปทิศทางไหน
แต่ในชั้นนี้ ใน “กมธ.ร่วมกัน” ยังหวังใจว่า จะเคลียร์กันได้ ด้วยวิถีประนีประนอม “พบกันครึ่งทาง”.
คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ
ผลการเลือกตั้งสหรัฐจะนำไปสู่การสร้างสันติภาพโลก?
การเลือกตั้งผู้นำสหรัฐที่จะมีขึ้นในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ จะนำไปสู่การสร้างสันติภาพ หรือสงครามจะยิ่งข...
เกาหลีเหนือทดสอบขีปนาวุธพิสัยไกล รอบนี้ไม่ธรรมดา l World in Brief
เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธพิสัยไกลลงทะเลญี่ปุ่น คณะเสนาธิการร่วมแถลง ขีปนาวุธเกาหลีเหนือถูกยิงในมุมสูงจา...
‘เทมู’ จ่อถูก ‘ยุโรป’ สอบเข้ม กรณีขายสินค้าผิดกฎหมาย
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า คณะกรรมาธิการยุโรปเตรียมสอบสวน “เทมู” (Temu) แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยักษ์...
กรณีศึกษา ค่าธรรมเนียมรถติด ทำนาบนหลังชนชั้นกลาง? | กันต์ เอี่ยมอินทรา
กลายเป็นดงกระสุนตกทันทีเมื่อรัฐบาลออกไอเดีย เก็บค่าธรรมเนียมรถติด การออกมาโยนหินถามทางในกรณีค่าธรรมเ...
ยอดวิว