ผลสำรวจชี้'ทรัมป์'นำโด่ง'ประเด็นเศรษฐกิจ'

ในระดับประเทศ อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีคะแนนนำรองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส 48% ต่อ 46% ค่าความคลาดเคลื่อนทางสถิติ 3.1%  ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนสิงหาคม ใน 7 รัฐสมรภูมิ ทรัมป์มีคะแนนนำ 48% ต่อ 47% มีค่าความคลาดเคลื่อน 4%

 ทรัมป์ได้รับความนิยมนำแฮร์ริสด้านเศรษฐกิจ

ปัญหาเศรษฐกิจยังคงเป็นข้อกังวลที่สำคัญที่สุดของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทรัมป์มีคะแนนนำอย่างโดดเด่นท่ามกลางผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ให้ความสำคัญกับปัญหาเงินเฟ้อ เศรษฐกิจ และการตอบสนองความต้องการของชนชั้นกลาง โดย  42% ระบุว่าพวกเขาจะมีฐานะทางการเงินที่ดีขึ้นหากทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง ขณะที่ 24% คิดว่าแฮร์ริสจะช่วยให้พวกเขามีฐานะทางการเงินที่ดีขึ้น

ส่วน 29 % ระบุว่าสถานะทางการเงินของพวกเขาจะไม่เปลี่ยนแปลงไม่ว่าใครจะได้รับเลือก

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ระบุว่าเงินเฟ้อ ค่าครองชีพ และเศรษฐกิจโดยรวมเป็นปัญหาสำคัญที่สุด โดยประเด็นนี้ทรัมป์ได้คะแนนนำแฮร์ริส 13 จุด เงินเฟ้อยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่สุดตลอดรอบการเลือกตั้ง “แม้ว่าข้อมูลจะแสดงให้เห็นว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอตัวลง แต่ในช่วงสามไตรมาสที่ผ่านมา เงินเฟ้อกลับกลายเป็นประเด็นสำคัญในสายตาของผู้คน ไม่ได้สำคัญน้อยลงเลย” เจย์ แคมป์เบลล์ หุ้นส่วนของ Hart Research บริษัทสำรวจความคิดเห็นซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้สำรวจความคิดเห็นของพรรคเดโมแครตที่จัดทำการสำรวจครั้งนี้กล่าว

ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นว่าทรัมป์มีคะแนนนำ 35 จุดในกลุ่มผู้ลงคะแนนที่กังวลมากที่สุดเกี่ยวกับคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย และนำ 19 จุดในประเด็นอาชญากรรมและความปลอดภัย

แฮร์ริสได้รับความนิยมผู้นำทรัมป์ในประเด็นรองต่างๆ ซึ่งเป็นประเด็นที่คนกังวลน้อยกว่าเรื่องเศรษฐกิจ แฮร์ริสมีคะแนนนำ 31 จุดในกลุ่มคนที่เกี่ยวกับการทำแท้ง 9 จุดในประเด็นการปกป้องประชาธิปไตย 8 จุดในประเด็นการดูแล สุขภาพ และ 60 จุดในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ความนิยมของทรัมป์ดีขึ้น 

คำถามสำคัญสำหรับแฮร์ริสคือการได้สนับสนุนสูงในประเด็นรองเหล่านั้นจะเพียงพอมาชดเชยการเสียความนิยมในประเด็นเศรษฐกิจซึ่งเป็นประเด็นสำคัญได้หรือไม่ ผู้สมัครทั้งสองคนเสมอกันในภาพรวมว่าใครจะสามารถนำการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกมาสู่ประเทศได้มากกว่า

ปัญหาทางบุคลิกภาพดูเหมือนจะทำให้การแข่งขันสูสี แฮร์ริสได้คะแนนสูงกว่า 13 จุดเมื่อผู้ตอบแบบสอบถามถูกถามว่า ใครมีสุขภาพจิตและร่างกายที่ดีกว่าที่จะเป็นประธานาธิบดี เธอมีคะแนนนำทรัมป์ 10 จุดในเรื่องใครซื่อสัตย์และน่าเชื่อถือมากกว่า อย่างไรก็ตาม ตัวเลขทั้งสองแสดงให้เห็นว่า ทรัมป์ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการสำรวจของ NBC เมื่อเดือนกันยายน

แต่ทรัมป์ก็มีคะแนนความชื่นชมต่อตัวเขาดีขึ้น คะแนนความนิยมที่ลบ-13 คะแนน จากเดือนสิงหาคมดีขึ้นมาอยู่ที่ลบ -6 ในระดับประเทศมุมมองต่อแฮร์ริสลดลงมาที่ -10 เมื่อเทียบ กับ -8 ในเดือนสิงหาคม

แฮร์ริสทำคะแนนได้ดีขึ้นในรัฐสมรภูมิด้วยคะแนนชื่นชมต่อตัวเธอที่ลบ -5 เท่ากับของทรัมป์

ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวอเมริกันแบ่งตามเชื้อชาติ เพศ เศรษฐกิจ และการศึกษา ช่องว่างทางเพศยังคงเป็นช่องว่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด โดยทรัมป์ได้คะแนนในกลุ่มผู้ชายมากกว่าแฮร์ริส 17 จุด 

ส่วนรองประธานาธิบดีแฮร์ริสได้รับคะแนนนิยมในกลุ่มผู้หญิงมากกว่าทรัมป์ 12 จุด แฮร์ริสรักษาคะแนนนำในกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งผิวสีมากกว่าทรัมป์ถึง 27 จุด แต่คะแนนลด ลง 10 จุดเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม เธอมีคะแนนนำในกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีผิวสีมากกว่าทรัมป์ 38 จุดในรัฐสมรภูมิ เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม ทรัมป์มีคะแนนในกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีการศึกษาต่ำและมีรายได้น้อยสูงกว่า ในขณะที่แฮร์ริสทำผลงานได้ดีขึ้นในกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งชนชั้นกลางและรายได้สูง

“ข้อได้เปรียบของทรัมป์ก็เพราะว่าเขาชนะใจผู้ชายมากกว่า เสียคะแนนผู้หญิงไป” ไมคาห์ โรเบิร์ตส์ หุ้นส่วนของ Public Opinion Strategies ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้สำรวจความคิดเห็นของพรรครีพับลิกันในการสำรวจครั้งนี้ กล่าว “ความต่างเกิดจากกลุ่มผู้ชายที่อายุน้อย และความนิยมของทรัมป์ในกลุ่มผู้ชายที่อายุน้อยกว่านั้นชัดเจนมาก แต่สำหรับแฮร์ริสนั้นไม่ได้คะแนนนำชัดเจนนักในผู้หญิงที่อายุน้อยและผู้หญิงที่อายุมาก”

แฮร์ริสมีคะแนนนำ 8 จุดในกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ทั่วประเทศ แต่ยังคงเท่ากับทรัมป์ในกลุ่มรัฐสมรภูมิ

เงินเฟ้อยังคงเป็นปัญหา

แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่วัดอย่างเป็นทางการจะลดลงอย่างรวดเร็ว แต่การสำรวจของ CNBC แสดงให้เห็นว่าชาวอเมริกันไม่ได้รู้สึกเช่นนั้นเลย ประชาชนสามในสี่เชื่อว่าราคา สินค้ายังคงเพิ่มขึ้น โดยร้อยละ 45 กล่าวว่าราคาเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่เคยเป็นมา มีเพียง  16% เท่านั้นที่บอกว่าราคาได้คงที่แล้ว และมีเพียง  6% เท่านั้นที่เห็นว่าราคาลดลง มีเพียง 7%  ที่เห็นว่ารายได้ของตนเพิ่มขึ้นเร็วกว่าอัตราเงินเฟ้อ ขณะที่ 27% บอกว่ารายได้ของตนอยู่ในระดับที่เท่าๆ กับอัตราเงินเฟ้อ และ 63% บอกว่ารายได้ของตนกำลังลดลง 

ในขณะเดียวกัน มีเพียง 26% เท่านั้นที่บอกว่า เศรษฐกิจดีเยี่ยมหรือดี โดย 73% ตอบว่าดีปานกลางหรือแย่ลง ซึ่งภาพรวมถือว่าดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนสิงหาคม อย่างไรก็ตาม ประชาชน 37% เชื่อว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นในปีหน้า ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี การเพิ่มขึ้นนี้โดยปกติจะเกิดขึ้นในช่วงการเลือกตั้ง และอาจเกี่ยวข้องกับมุมมองของชาวอเมริกันต่อผลการเลือกตั้งมากกว่ามุมมองของพวกเขาต่อเศรษฐกิจ

 อนึ่ง การสำรวจความเห็นครั้งนี้ดำเนินการระหว่างวันที่ 15-19 ตุลาคม และมีผู้เลือกตัวอย่างทั้งหมด 1,000 คนทั่วประเทศ ตัวอย่างทั่วประเทศประกอบด้วย 186 คนจากรัฐที่เป็นสมรภูมิ ได้แก่ แอริโซนา จอร์เจีย มิชิแกน เนวาดา นอร์ทแคโรไลนา เพนซิลเวเนีย และวิสคอนซิน และมีการสัมภาษณ์เพิ่มเติมอีก 400 คนในรัฐเหล่านั้น ทำให้ได้ตัวอย่างทั้งหมด 586 คนจากรัฐที่เป็นสมรภูมิ ทั้งในระดับประเทศและในรัฐสมรภูมิ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘มาริษ’ ประกาศกลางเวที ไทยพร้อมเป็นตัวเชื่อมระหว่าง BRICS กับกลุ่มอื่น ๆ

นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำระหว่างกลุ่มประเท...

'จีน' ประกาศควบคุมส่งออก 'สินค้าทางทหาร' หวังไม่ให้ถึงมือรัสเซีย

โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีนออกมาเน้นย้ำว่า จีนพยายามจำกัดการส่งออกสินค้าทางทหารที่ผิดกฎหมายไปยังรัสเซีย เพ...

ผลสำรวจชี้'ทรัมป์'นำโด่ง'ประเด็นเศรษฐกิจ'

ในระดับประเทศ อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีคะแนนนำรองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส 48% ต่อ 46% ค่าค...

‘มาริษ’ เผย ‘เลขา UN-ปูติน’ ชื่นชมไทย ในเวที BRICS Plus Summit

นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยหลังการประชุมระดับผู้นำระหว่างกลุ่มปร...