สุ่มตรวจ “องุ่นไชน์มัสแคท” พบสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 95.8%

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย. ) ได้แถลงผลทดสอบสารเคมีเกษตรในองุ่นไชน์มัสแคททั่วกรุงเทพและปริมณฑล

ทัศนีย์ แน่นอุดร  บรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยนิตยสารฉลาดซื้อ มีพันธกิจเฝ้าระวังคุณภาพสินค้าและบริการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน “ฉลาดซื้อได้รับคำถามและข้อเสนอจากผู้บริโภคว่า

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
สุ่มตรวจองุ่นไชน์มัสแคท

องุ่นไชน์มัสแคทที่มีขายอยู่ทั่วไปในช่วงเวลานี้ มีโปรโมชันและการเชิญชวนให้ซื้อมากๆ เช่น การลดราคาหรือการแถมแบบ  ซื้อ 1 กล่องแถม 1 กล่อง เป็นต้น อีกทั้งยังมีวางจำหน่ายไปทั่ว ทั้งในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ ร้านสะดวกซื้อ รถเร่ แผงข้างทางและร้านค้าออนไลน์ ซึ่งผู้บริโภคส่วนหนึ่งกังวลว่าจะมีความเสี่ยงในเรื่องของสารพิษตกค้างหรือไม่ ฉลาดซื้อจึงชวนเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) มาร่วมกันตรวจสารพิษตกค้างในองุ่นไชน์มัสแคท”

การเก็บตัวอย่างองุ่นไชน์มัสแคทครั้งนี้เราเก็บองุ่นไชน์มัสแคททั้งหมด 24 ตัวอย่าง จาก 15 สถานที่จำหน่ายในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ทั้งในห้างดัง และตามตลาดขายผลไม้ ซึ่งมีราคาตั้งแต่กิโลกรัมละ 100  ถึง 699 บาท ดังนั้นบางตัวอย่างอาจพบว่า เป็นยี่ห้อที่ซ้ำกัน แต่ก็มาจากแหล่งจำหน่ายต่างสถานที่กัน

ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) อธิบายถึงกระบวนการวิเคราะห์และแปลผลว่า เราได้ส่งตัวอย่างองุ่นไชน์มัสแคททั้ง 24 ตัวอย่าง ไปยังห้องปฏิบัติการ BVAQ ซึ่งได้การรับรอง ISO 17025 เพื่อวิเคราะห์หาสารพิษตกค้างจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยมีขอบเขตการวิเคราะห์สารพิษตกค้าง 419 รายการ และแปลผลการวิเคราะห์โดยอ้างอิงพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 387 , 393, 419 และ 449) เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง ซึ่งกำหนดให้อาหารที่มีสารพิษตกค้างต้องมีมาตรฐาน โดยตรวจไม่พบวัตถุอันตรายทางการเกษตร ชนิดที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย เว้นแต่วัตถุอันตรายทางการเกษตรชนิดอื่นให้เป็น ดังนี้

  • ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit; MRL)
  • ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดโดย Codex Alimentarius Commission (Codex MRL) โดยใช้เกณฑ์การจำแนกกลุ่มสินค้าเกษตรตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9045-2559 การจัดกลุ่มสินค้าเกษตร: พืช
  • ค่าดีฟอลต์ลิมิต (default limit)
  • ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่ปนเปื้อนจากสาเหตุที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ (Extraneous Maximum Residue Limit; EMRL)

ข้อค้นพบสำคัญของการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในองุ่นไชน์มัสแคท

  • ประเทศผู้ผลิตองุ่นไชน์มัสแคท 24 ตัวอย่าง ที่สุ่มซื้อมาจากการสั่งออนไลน์ 2 ตัวอย่าง มาจากร้านค้าและตลาด 7 ตัวอย่าง และจากโมเดิร์นเทรด 15 ตัวอย่าง สามารถระบุได้เพียง 9 ตัวอย่างว่ามาจากประเทศจีน อีก 15 ตัวอย่างไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้
  • 95.8% ของตัวอย่างองุ่นไชน์มัสแคทหรือ 23 จาก 24 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่าที่กฎหมายกำหนด แบ่งเป็น 2 กรณี 1) องุ่น 1 ตัวอย่าง พบสารคลอร์ไพริฟอสซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ทั้งนี้ตามกฎหมายต้องตรวจไม่พบเนื่องจากยกเลิกค่า MRL แล้ว 2) องุ่นอีก 22 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้าง 14 ชนิด เกินค่าดีฟอลต์ลิมิต (สารพิษตกค้างที่ไม่มีค่า MRL ตามกฎหมายกำหนดให้พบได้ไม่เกินค่าดีฟอลต์ลิมิต 0.01 mg/kg) ซึ่งสารเหล่านี้อาจยังไม่มีการประเมินความปลอดภัย ได้แก่ Procymidone, Imazalil, Thiamethoxam, Tetraconazole, Chlorfenapyr, Flonicamid, Ethirimol, Pyriproxyfen, Lufenuron, Bupirimate, Prochloraz, Hexaconazole, Bromacil และ Isopyrazam
  • พบสารพิษตกค้างทั้งหมด 50 ชนิด พบว่าเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 จำนวน 26 ชนิด เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ยกเลิกการใช้ในประเทศไทย) จำนวน  2 ชนิด ได้แก่ Chlorpyrifos และ Endrin aldehyde และเป็นสารที่อยู่นอกบัญชีวัตถุอันตรายมากถึง 22 ชนิด ซึ่งเป็นสารที่ยังไม่มีการประเมินใดๆภายใต้กฎหมายไทย ได้แก่ Triasulfuron, Cyflumetofen, Chlorantraniliprole, Flonicamid, Etoxazole, Spirotetramat, Bifenazate, Dinotefuran, Fluopyram, Boscalid, Fluopicolide, Pyrimethanil, Ametoctradin, Tetraconazole, Ethirimol, Metrafenone, Fludioxonil, Bupirimate, Isopyrazam, Oxathiapiprolin, Biphenyl และCyazofamid
  • จากสารพิษตกค้าง 50 ชนิด มีสารประเภทดูดซึม (Systemic pesticide) 37 ชนิด หรือคิดเป็น 74% ของสารพิษตกค้าง โดยสารกลุ่มนี้มีโอกาสตกค้างอยู่ในเนื้อเยื่อขององุ่น ซึ่งการล้างสารกลุ่มนี้ออกจากเนื้อเยื่อพืชคงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้โดยง่าย
  • องุ่นไชน์มัสแคทแต่ละตัวอย่างพบสารพิษตกค้างระหว่าง 7-18 ชนิด โดยจำนวน 23 จาก 24 ตัวอย่างพบสารพิษตกค้างเกินค่าที่กฎหมายกำหนด 1-6 ชนิด

เภสัชกรหญิงสุภาวดี ธีระวัฒน์สกุล ผู้อำนวยการกองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูกาลที่มีองุ่นนำเข้ามาขายในประเทศ  อย. และ Thai- PAN ได้ประสานความร่วมมือในการเฝ้าระวังผัก ผลไม้ มาระยะหนึ่งแล้ว  ซึ่งได้มีการกำหนดแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังผัก ผลไม้ร่วมกัน  จากผลการตรวจวิเคราะห์องุ่นในครั้งนี้ มีข้อสังเกตว่าสารตกค้างที่พบส่วนใหญ่เป็นสารที่ไม่มีกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข  หรือ CODEX ทำให้ไม่มีปริมาณสูงสุดที่ยอมรับได้ หรือค่า MRL จึงต้องไปใช้ค่า default limit แทน ซึ่งกำหนดค่าไม่เกิน 0.01 ppm ทำให้ตกมาตรฐาน โดยที่สารเหล่านี้ไม่มีข้อมูลการประเมินความปลอดภัยของปริมาณสารตกค้างสูงสุดที่ยอมรับได้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ อย. ต้องนำมาใช้วิเคราะห์หามาตรการเฝ้าระวังความปลอดภัยให้ผู้บริโภคต่อไป ซึ่ง Thai-PAN  ได้ส่งต่อข้อมูลดังกล่าวให้ อย.แล้ว ทั้งนี้ อย.ได้ยกระดับการเฝ้าระวังผัก ผลไม้ นอกจากการดำเนินการที่ด่านอาหารและยาแล้ว กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำความผิด นอกจากดำเนินคดี และไม่สามารถนำเข้าผัก ผลไม้ที่ตรวจพบสารตกค้างเกินมาตรฐานแล้ว ถ้าตรวจพบสารตกค้างผิดมาตรฐาน 3 ครั้งใน 1 ปี โดยเป็นหรืออาหารชนิดเดียวกันจากผู้นำเข้าเดียวกัน หรือตรวจพบวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เช่น chlorpyrifos 2 ครั้งใน 1 ปี  โดยเป็นอาหารชนิดเดียวกันผู้นำเข้าเดียวกัน ผู้นำเข้าจะถูกพักใช้ใบอนุญาตนำเข้าไม่เกิน  120 วัน และในปีงบประมาณ 2568 นี้ อย. ยังมีแผนร่วมกับ Thai-PAN เก็บตัวอย่างผักและผลไม้ 19 ชนิด จำนวน 300 ตัวอย่าง จากสถานที่จำหน่ายส่งตรวจวิเคราะห์ ในพื้นที่ 12 จังหวัด ที่เป็นตัวแทน 4 ภาค และนำข้อมูลผลวิเคราะห์ไปใช้ในการวางแนวทางการแก้ไขปัญหาเชิงระบบ 

นอกจากนี้ อย. ยังมีแผนร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในการตรวจโรงคัดบรรจุผักและผลไม้ทั่วประเทศ และเก็บตัวอย่างผัก ผลไม้ ส่งตรวจวิเคราะห์หาสารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง จำนวน 1,530 ตัวอย่าง เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคอีกด้วย

  • วิดีโอยอดนิยม
  • เรื่องที่คุณอาจพลาด
02:51

ทหารรัสเซียปักธงอีก 1 เมืองยูเครน | ทันโลก EXPRESS | 24 ต.ค. 67

06:03

"มิว ศุภศิษฏ์" เซอร์ไพรส์ขอ "ตุลย์ ภากร" แต่งงาน

03:10

อิสราเอลถล่มเดือดเมืองท่องเที่ยวเลบานอน | ทันโลก EXPRESS | 24 ต.ค. 67

39:18

Exclusive Talk | วิเคราะห์ตำรวจ จับบอสพอล เป็นหน้าที่ หรือ ปิดปาก ? | คุยข้ามช็อต

01:58

"Ka-52" เฮลิคอปเตอร์ล่ารถถังของรัสเซีย | ทันโลก EXPRESS | 24 ต.ค. 67

08:35

เดือด ชลน่าน VS พิเชษฐ์ "เพื่อไทยทะเลาะกันเอง" | เข้มข่าวค่ำ | 24 ต.ค. 67

โปรแกรมบอลไทยลีก 1 แมตช์วีค 11 พร้อมตารางคะแนน เวลาแข่งขัน

อะเมซิ่ง ไทยแลนด์ มาราธอน จัด 1 ธ.ค.ตั้ง "คิปโชเก้" ทูตท่องเที่ยวกีฬา

"บาร์เซโลน่า" เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดนัดชิงยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ปี 2027

เควิน เดอ บรอยน์ นักเตะแห่งแมนซิตี้กับตำแหน่งกองกลางระดับโลก

“เชียงใหม่” ติด Top 10 เมืองน่าเที่ยวแห่งปี 2025 โดย Lonely Planet

“เจมส์ เว็บบ์” พบดาวแคระน้ำตาลนอกทางช้างเผือกดวงแรก!

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

อสังหาริมทรัพย์ยืนหนึ่ง'Safe Haven'ของนักลงทุน

สุรเชษฐ์ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ พร็อพเพอร์ตี้ดีเอ็นเอ (Property DNA) ให้ความเห็นว่า คนรุ่นใหม่ คนวั...

เปิด 5 เศรษฐีหุ้นอสังหาฯ ดังของเมืองไทย

แม้ว่า กระทรวงการคลังจะปลุกเร้ากระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ ผ่านโครงการสินเชื่อบ้าน Happy Home ...

กรมวิชาการเกษตร หนุนใช้ พีจีพีอาร์-ทู, แหนแดง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรเห็นถึงความสำคัญในการดำเนิน...

สถิติ 9 เดือน 'ยานยนต์ไฟฟ้า' ป้ายแดง จับตาโค้งสุดท้ายปีนี้ ส่อชะลอตัว

ยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) เป็นอีกหนึ่งนโยบายที่รัฐบาลต้องการสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้ โดยที่ผ่านมาได้มีกา...