โจทย์ใหญ่ผู้ว่าฯ กนอ. คนใหม่ ลุยเปิดพื้นที่นิคมฯ รับการลงทุน

ภาพรวมยอดขาย-เช่าพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 (ต.ค. 66-มิ.ย. 67) กว่า 5 พันไร่ สูงกว่าเป้าหมายที่ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ตั้งไว้ในปี 2567 ที่ 4-4.5 พันไร่ ดังนั้น กนอ. จึงคาดการณ์ว่าปีงบประมาณ 2567 (ต.ค. 66-ก.ย. 67) จะมียอดขาย/เช่าพื้นที่นิคมฯ ราว 7 พันไร่

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ประธานกรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการสรรหาผู้ว่าการ กนอ. คนใหม่ แทนนายวีริศ อัมระปาล ที่ลาออกไปและมีผลเมื่อช่วงต้นเดือนก.ย. 2567 ที่ผ่านมาว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) บริหาร กนอ. เดือนนี้ จะนำเสนอรายชื่อคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าฯ กนอ. ดังนั้น ตามขั้นตอนมั่นใจว่าจะเป็นไปตามกรอบเวลารัฐวิสาหกิจที่ให้ดำเนินการสรรหาให้แล้วเสร็จเพื่อให้การดำเนินงานต่อเนื่องไม่เกิน 1 ปีแน่นอน 

ทั้งนี้ กนอ. ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในการจัดตั้ง “ศูนย์สุขภาพ กนอ.” เพื่อให้บริการด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ ยกระดับคุณภาพชีวิตบุคลากรของ กนอ.ให้มีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมควบคู่กับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม 

อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นปี 2568 ตั้งเป้าหมายยอดขาย/ให้เช่าพื้นที่รวม 3,000-4,000 ไร่ จากพื้นที่ที่ยังมีอยู่ประมาณ 25,215 ไร่ สิ่งสำคัญคือการให้ความสำคัญกับการจัดตั้งนิคมฯ แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนสี เช่น การประกาศเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษก็จะต้องมีพื้นที่พร้อมที่จะรองรับการลงทุน เราทราบปัญหากันดีว่ากระบวนการเปลี่ยนสีจะเจอพื้นที่สาธารณะ หรือพื้นที่ ส.ป.ก. และอีกเรื่องคือ การประเมิณผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ก็ต้องใช้เวลาเช่นกันนานกว่า 2 ปี

ดังนั้น หากจะแข่งขันก็ยาก ยกตัวอย่าง เมื่อมีบริษัท IT ชั้นนำของโลกต้องการมาตั้งโรงงานในไทยก็ต้องรอ หากใช้เวลานานก็ตัดสินใจไปลงทุนประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น ต้องเร่งขั้นตอนให้เร็วขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยปรับปรุงโครงสร้างการผลิตเพื่อให้แข่งขันได้ ไม่อย่างนั้นจะช้า ยืนยันว่าไม่ใช่ไม่เคารพกฎหมาย แต่หากมีช่องทางเพื่อลดขั้นตอนให้สามารถแข่งขันได้ในช่วงเวลาสั่น ๆ ก็จะดีต่อประเทศไทย จึงควรแก้โจทย์ที่ละเรื่องให้ประเทศไทยกลับมาดึงดูดการลงทุนได้ตามเป้าหมาย 

อย่างไรก็ตาม จากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์นักลงทุนต่างย้ายฐานการลงทุนมากลุ่มอาเซียน ยืนยันว่า ที่ตั้งไทยเป็นจุดขาย และในแง่โครงสร้างพื้นฐาน โลจิสติกส์พร้อมถือเป็นจุดยุทศาสตร์ เมื่อจำนวนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เข้ามาจะต้องใช้เวลาตั้งโรงงาน จาก 68 นิคมฯ ที่เขามา แต่การมาของกับกนอ. จริงๆ ระดับ 30 กว่านิคมฯ ซึ่งนิคมฯ ที่ล้าช้าอยู่ในกระบวนการ แต่ด้วยการที่กนอ. เป็นรัฐวิสาหกิจตลอด 50 ปี พร้อมที่จะค้ำประกันว่าควบคุมสิ่ต่าง ๆ ได้เพื่อให้โอกาสให้ไทยแข่งขันที่ดี 

“เราแก้ระเบียบเองได้ต้องแก้ก่อน การรับนโยบาย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม คือประกาศเขตนิคมฯ ให้เร็วขึ้น เพราะเมื่อเดินทางไปเกาหลี จีน ทุกคนสนใจลงทุนทั้งนั้น ตอนนี้เหลือพื้นที่น้อยกว่าความต้องการมาก ซัพพลายไปไม่พอ ต้องยอมรับว่าเราอยู่ในยุคปลาเร็วกินปลาช้า จึงต้องเร็วภายใต้คุณภาพ การตั้งโรงงานในนิคมฯ ได้จะช่วยให้ประชาชนมีงานทำ แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน จึงเป็นเรื่องสำคัญ” นายยุทธศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ เป้าอาจจะต้องเพิ่มตัว KPI ให้กนอ. ไม่ใช่จำนวนพื้นที่ที่ขายได้ แต่ต้องเป็นจำนวนนิคมฯ ที่เปิด เพราะตอนนี้มีค้าง 40 นิคมฯ พื้นที่ระดับแสนไร่ ที่ยังเปิดไม่ได้ อยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เดิมที่ติดปัญหาหลายเรื่อง จึงต้องปรับจำนวนเร่งปรกาศเขต ให้มีพื้นที่รองรับการลงทุน ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถเตรียมตัวรับการลงทุนได้ซึ่งนายเอกนัฏ ได้ทำราบปัญหาและมีการหารือกับนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนครี แล้ว ซึ่งทุกฝ่ายต้องจับมือไปด้วยกันเพื่อแก้ปัญหา เร็วๆ นี้น่าจะได้ความชัดเจถ้าไม่จบปีนี้ก็เหนื่อย เพราะคนรอมาลงทุนเยอะ

“ประเทศไทยต้องปรับปรุงกระบวนการอนุญาตดำเนินธุรกิจเชิงรุกให้มีความสะดวกมากขึ้น ให้ไทยเป็นห้องสวีทในการลงทุนที่เพียบพร้อม ไม่ใช่มองแค่เรื่องค่าแรงของไทยว่าแพงกว่าเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามที่ค่าแรงถูกกว่า แบบนั้นเราก็แข่งลำบาก แต่เรามีของดีที่พรีเมียมกว่า เช่น พลังงานสะอาด กฎเกณฑ์ที่ถูกต้องโปร่งใสมีมาตรฐาน ทำให้ไทยเป็นพรีเมียมที่ไม่แพง และคุ้มค่าในการลงทุน“ นายยุทธศักดิ์ กล่าว

นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ กรรมการ กนอ. รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า ไทยต้องเร่งรัดให้เกิดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) ได้ง่ายขึ้น และทันต่อความต้องการเข้ามาลงทุนในไทยที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึง 2-3 แสนไร่ในอนาคต เพราะการพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมต้องใช้เวลา หากไทยล่าช้าจะไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ เพื่อไปสู่เป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนเอฟดีไอให้ได้ 27% จากปัจจุบันอยู่ที่ 24% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) คิดเป็นมูลค่า 3.5 แสนล้านบาทต่อปี ในระยะข้างหน้า

อย่างไรก็ตาม แข่งขันได้ทั้งโครงสร้างพท้นฐาน โลจิสติกส์ ดังนั้น สิ่งสำคัญคือนักลงทุนต้องการความเชื่อมั่นว่ามาแล้วเร็ว มาแล้วไม่ติดอะไร เป็นสิ่งที่ต้องปรับปรุงโดยเฉพาะขั้นตอน จึงต้องหารือทุกภาคส่วนเพื่อพยายามประกาศเขตที่ไม่ต้องรอ EIA แม้จะมีปัญหาในชุมชนบางจุด สำคัญสุดประเทศข้องการพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญในการขาย จะ 10 กนอ. หรือ 10 บีโอไอก็ไม่รอดเพราะถ้าสุดท้ายก็ไม่มีพื้นที่ให้ขาย จะดึงนักลงทุนต้องมีมาตรฐาน และเร่งกระบวนการจัดกาานิคมฯ ให้สะดวกรวดเร็ว มีคุณภาพ

“เราต้องทำอินฟาซัคเจอร์ ทั้ง RE100 ไฟสะอาด นโยบายกไกลดก๊าซเรือนกระจก ถ้ารัฐบาลช้าเรื่องคาร์บอนเครดิต อุตสาหกรรมเราปล่ิยคาร์บอนเยอะจะทำอย่างไรให้มีกฎหมายรองรับเองเพื่อซัพพอร์ท อย่างน้อยกนอ.จะต้องสนับสนุนการขายเพื่อรับกติกาโงก เช่น การทำพลังงานสะอาดเมื่อทำได้ได้ก่อนก็ทำก่อน และเรื่องสาธารณูปโภคด้วย” นายสุเมธ กล่าว

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

กรมส่งเสริมการเกษตร ชวนทำเกษตรกรรม บนพื้นที่รกร้างในเขตเมือง

นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากแนวคิดในการสร้างรายได้เพิ่มให้ก...

เมื่อโอกาส “มี” แต่ ทีมงาน “ไม่มีความพร้อม” !

Part.1. เมื่อโอกาส กลายเป็นแค่ อากาศ ที่สูญสลาย! เจ้าของกิจการ หรือ ผู้นำ มักจะแสวงหาโอกาสในทุกสถานก...

'การบินไทย' ยกครัวไทยเสิร์ฟทั่วโลก เปิดตัว 4 เมนู 'Streets to Sky'

อาหารไทยริมทาง หรือที่เรียกว่า Street Food (สตรีทฟู้ด) เป็นอีกหนึ่งจุดแข็งของประเทศไทย นักท่องเที่ยว...

รายได้ภาษีลด – หนี้สาธารณะพุ่ง ! ‘TDRI’ ห่วงการคลังไทยไม่พร้อมรับมือวิกฤติ

ประเทศไทยใช้งบประมาณแบบขาดดุลงบประมาณมาเป็นระยะเวลากว่า 20 ปี จนหลายคนอาจมองเป็นเรื่องปกติแต่สิ่งที่...