Brand Mascot กลยุทธ์สร้างรายได้ สเกลธุรกิจไปทั่วโลก

Brand Mascot ระดับโลกหลายๆ ตัวที่เกิดมาจากความนิยมชั่วข้ามคืนแบบนี้ และถูกนำมาต่อยอดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่สเกลไปได้ทั่วโลก อาทิ Mickey Mouse ของ Disney, Hello Kitty เป็นต้น

ในตอนนี้จึงพาทุกท่านมารู้จักกลยุทธ์การสร้างรายได้ธุรกิจในแบบ Brand Mascot ว่าคิดและทำอย่างไร

การสร้างรายได้ด้วย Brand Mascot คือการใช้มาสคอตที่เป็นตัวแทนของแบรนด์หรือบริษัทในการเพิ่มโอกาสสร้างรายได้ผ่านหลายช่องทาง มาสคอตสามารถทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค สร้างความจดจำ ความทรงจำและความสัมพันธ์ทางอารมณ์ (People engagement)

และเมื่อผู้คนให้ความนิยมรู้สึกรักและผูกพัน กลายเป็นสาวกแบรนด์มาสคอตนั้นๆ ทำให้สามารถนำไปต่อยอดสร้างรายได้ในหลากหลายช่องทางต่อไป

หัวใจสำคัญของการออกแบบ Brand Mascot คือการสร้างตัวแทนที่สามารถสื่อสารและเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยควรคำนึงถึงปัจจัยสำคัญดังนี้

1.ความสอดคล้องกับจิตวิญญาณแบรนด์ (Brand Spiritual) Mascot ควรสะท้อนตัวตน คุณค่าและบุคลิกของแบรนด์อย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดการจดจำและความเข้าใจที่ถูกต้อง เช่น ถ้าแบรนด์มีจิตวิญญาณที่เน้นความสนุกและความเป็นมิตร มาสคอตควรมีบุคลิกที่เป็นมิตรและสนุกสนาน เป็นต้น

2.การดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย (Target Audience Appeal) มาสคอตควรออกแบบให้เข้ากับรสนิยมและความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เช่น ถ้าเป็นเด็ก มาสคอตควรน่ารักและมีสีสันสดใส แต่ถ้าเป็นกลุ่มผู้ใหญ่ก็อาจต้องดูทันสมัยและมีสไตล์ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ

3.ความเรียบง่ายและจดจำง่าย (Simplicity and Memorability) มาสคอตควรออกแบบให้มีลักษณะที่เข้าใจง่ายและจดจำได้ทันที ไม่ควรมีรายละเอียดซับซ้อนเกินไป เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถจดจำได้ทันทีหลังจากพบเห็น

4.ความสามารถในการใช้งานหลายช่องทาง (Versatility) มาสคอตควรสามารถใช้ในสื่อหลายรูปแบบได้ ไม่ว่าจะเป็น ในโฆษณาทางโทรทัศน์ สื่อสังคมออนไลน์ งานอีเวนต์หรือสินค้า โดยต้องสามารถแสดงในมิติที่หลากหลายได้

5.ความแตกต่างและเอกลักษณ์ (Uniqueness) มาสคอตต้องมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร เพื่อสร้างความโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่ง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างแบรนด์ให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น

6.การสื่อสารอารมณ์ (Emotional Connection) Mascot ควรสามารถสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์กับผู้บริโภค ทำให้ลูกค้ารู้สึกผูกพันกับแบรนด์มากขึ้น โดยการใช้ท่าทางหรือสีหน้าของมาสคอตในการสื่อสารความเป็นมิตร ตื่นเต้นหรือความสุข

7.ความยั่งยืน (Timelessness) มาสคอตควรออกแบบให้สามารถใช้งานได้ยาวนาน ไม่ตกเทรนด์ง่าย ซึ่งจะช่วยลดความจำเป็นในการเปลี่ยนมาสคอตบ่อยครั้ง และเสริมความต่อเนื่องในการจดจำแบรนด์ การออกแบบ Brand Mascot ที่ดีจะช่วยให้แบรนด์มีความโดดเด่นและเชื่อมต่อกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์การสร้างรายได้ด้วย Brand Mascot มีกี่รูปแบบ

1.ขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ Mascot Merchandise Sales : ขายสินค้าที่มีแบรนด์มาสคอตเป็นสัญลักษณ์ เช่น เสื้อยืด หมวก ของเล่น ของสะสม สติกเกอร์หรือสินค้าอื่นๆ ที่มีภาพลักษณ์ของ Mascot 

ตัวอย่าง: มาสคอตของบริษัทใหญ่ๆ อย่าง Mickey Mouse ของ Disney ที่ถูกใช้ในการผลิตของเล่นและสินค้าหลากหลายชนิด

2.Brand Licensing และ ลิขสิทธิ์แบรนด์ Brand Licensing คือการให้สิทธิ์การใช้งานมาสคอตแก่บริษัทหรือองค์กรอื่นๆ ในการผลิตสินค้า สื่อหรือบริการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะสร้างรายได้ในรูปของค่าลิขสิทธิ์ 

ตัวอย่าง: Hello Kitty ซึ่งถูกนำไปใช้ในสินค้ามากมายผ่านการให้ลิขสิทธิ์แก่ผู้ผลิตสินค้าอื่นๆ

3.Sponsorship และโฆษณา Sponsorship คือ ใช้มาสคอตเพื่อเป็นสื่อในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้สนับสนุนหรือพันธมิตรทางการตลาด เช่น การใช้มาสคอตเป็นตัวแทนในแคมเปญโฆษณาหรือกิจกรรมต่างๆ 

ตัวอย่าง: มาสคอต Tony the Tiger ของ Frosted Flakes ที่ใช้ในโฆษณาสินค้าและร่วมมือกับแบรนด์อื่นๆ

4.สร้างคอนเทนต์หรือสื่อบันเทิง Entertainment & Media คือ การสร้างรายได้จากการผลิตสื่อบันเทิงที่เกี่ยวข้องกับมาสคอต เช่น การ์ตูน ภาพยนตร์ เกม หรือคอนเทนต์ออนไลน์ โดยมาสคอตเป็นตัวหลักในการเล่าเรื่อง 

ตัวอย่าง: Pokémon ที่เริ่มจากการเป็นมาสคอตในเกมและขยายไปสู่สื่ออื่นๆ เช่น การ์ตูน ภาพยนตร์และสินค้าต่างๆ

5.กิจกรรมการตลาดและโปรโมชัน Marketing Campaigns คือการใช้มาสคอตในการโปรโมตสินค้าหรือบริการเฉพาะ โดยมาสคอตช่วยดึงดูดลูกค้าและสร้างการจดจำในแบรนด์ สร้างรายได้ผ่านการเพิ่มยอดขายหรือความสนใจในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ 

ตัวอย่าง: Ronald McDonald ของ McDonald's ที่เป็นสัญลักษณ์ในการโปรโมทสินค้าหลายชนิดของบริษัทที่ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้รวดเร็ว เช่น ชุด Happy meal เป็นต้น

6.สร้างประสบการณ์ (Experiential Marketing) Live Events & Experiences คือ การใช้มาสคอตในงานอีเวนต์หรือกิจกรรมที่ลูกค้าสามารถพบเจอกับมาสคอตโดยตรง เช่น งานเทศกาล งานเปิดตัวสินค้าหรือสถานที่เฉพาะที่ใช้มาสคอตเป็นจุดดึงดูด

ตัวอย่าง: Theme parks ของ Disney ที่ใช้ตัวละครมาสคอตเป็นแรงดึงดูดในสถานที่ท่องเที่ยว

7.สินทรัพย์ทางดิจิทัล (Digital Asset) Virtual Goods & NFTs: ขายสินค้าดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับมาสคอต เช่น สติกเกอร์ อวาตาร์ หรือ NFT ที่ใช้มาสคอตเป็นตัวแทน ซึ่งเป็นช่องทางการสร้างรายได้แบบใหม่

ตัวอย่าง: การใช้มาสคอตในแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ผ่านการขายสินค้าหรือไอเท็มเสมือน Brand Mascot สามารถสร้างรายได้ได้จากหลายช่องทาง ทั้งการขายสินค้า การให้ลิขสิทธิ์ การโฆษณา การสร้างสื่อบันเทิงและการสร้างประสบการณ์

สำหรับในประเทศไทยยังมี Brand Mascot น้อยมากที่สามารถสร้างรายได้ และใช้เป็นการสเกลธุรกิจไปต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น บาบีก้อน หมีเนย ทั้งสองมาสคอตนี้เริ่มมาได้ดีแต่ต้องต่อยอดให้ไปไกลและมีการวางแผนที่ชัดเจน จึงจะสามารถสร้างรายได้สู่รูปแบบ Brand Mascot ได้อย่างยั่งยืน.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

เวที Sustainability Forum 2025: Synergizing for Driving Business พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง

เมื่อ "ความยั่งยืน" กลายเป็นกติกาสำคัญต่อโลก ด้วยกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่หลากหลาย ทั้งการเปลี...

ผ่อนคลายโดยพร้อมเพรียง

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา เราได้เห็นการผ่อนคลายนโยบายเศรษฐกิจในสามประเทศสำคัญ อันได้แก่ สหรัฐ จีน และไทย ...

วอลุ่มเทรดคึก ‘ธุรกิจบล.’ ฟื้น การเมืองนิ่ง-กระตุ้นศก. หนุนเชื่อมั่นนักลงทุน

นับตั้งแต่สถานการณ์การเมืองมีความชัดเจน หลังได้นายกรัฐมนตรีคนที่ 31 “แพทองธาร ชินวัตร” ส่งผลให้เกิดแ...

‘หนี้เสีย‘ แบงก์ทะลัก 5.3 แสนล้าน ’กรุงเทพ-กสิกร-กรุงศรี‘ หนี้ค้างยังไหลต่อ

หากดูสถานการณ์ “หนี้เสีย” หรือ “หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้” (NPL) ถือว่ายังคง “น่าห่วง” อย่างต่อเนื่...