ตะคริวตอนนอนอันตรายหรือไม่? วิธีบรรเทาและเมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์?

ตะคริว อาการกล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งตัวอย่างฉับพลัน มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง ทำให้เกิดความเจ็บปวดบริเวณที่กล้ามเนื้อหดเกร็ง บริเวณที่เกิดได้บ่อยคือกล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังและด้านหน้า ส่วนการเป็นตะคริวตอนกลางคืนขณะนอนหลับที่ทำให้ต้องตื่นมากลางดึก จะเรียกว่า ตะคริวตอนกลางคืน (Nocturnal Leg Cramps) ที่ยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่มีข้อมูลพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพของกล้ามเนื้อ การทำงานผิดปกติของเส้นประสาท และการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อทำได้ไม่ดี

Freepik/KrishnaTedjo
เป็นตะคริว

อีกทั้งยังมีเรื่องของภาวะความเจ็บป่วยบางอย่าง รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น

  • นอนในท่าที่ผิด ขณะนอนหลับ หากวางเท้าในลักษณะที่ไม่ถูกต้องก็อาจเป็นตะคริวได้
  • ในตอนกลางวันมักนั่งหรือยืนในท่าเดิมนานๆ ไม่ค่อยขยับร่างกาย
  • กล้ามเนื้อทำงานหนักมากเกินไป เช่น ออกกำลังกายหนัก มีการทำงานหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงขาหนักมาก
  • กล้ามเนื้อขาดความยืดหยุ่น มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
  • มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งหรือหลอดเลือดตีบตัน ทำให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อทำได้ไม่ดี
  • มีปัญหาสุขภาพในด้านต่างๆ เช่น เส้นประสาททำงานผิดปกติ เส้นประสาทเสื่อมจากโรคเบาหวาน ปลายประสาทอักเสบ โรคพาร์กินสัน โรคหัวใจ ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โรคตับ โรคไต หรือภาวะขาดน้ำ เป็นต้น
  • ปัญหาโครงสร้างร่างกาย เช่น เท้าแบน หรือโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ

ซึ่งการเกิดตะคริวอาจมีหลายปัจจัยร่วมกัน ดังนั้นเราจึงควรสังเกตอาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นร่วมด้วย เพื่อแจ้งแก่แพทย์ จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคและเริ่มการรักษาได้เร็วขึ้น

ตะคริวตอนนอน ควรพบแพทย์

  • เป็นตะคริวตอนกลางคืนบ่อยครั้งจนรบกวนการนอน แม้ดูแลตัวเองดีแล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น
  • มีอาการขาบวมแดง หรือผิวหนังเปลี่ยนแปลงไป
  • มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย

เมื่อมาพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ ถามถึงอาการและประวัติการใช้ยาต่างๆ จากนั้นจะตรวจร่างกายเพื่อค้นหาสาเหตุที่เป็นไปได้ รวมถึงอาจมีการเจาะเลือดเมื่อแพทย์สงสัยว่ามีปัญหาอย่างอื่นร่วมด้วย เพื่อจะได้ทำการวินิจฉัยและรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไป

แก้อาการ “ตะคริวตอนนอน” ด้วยตัวเอง

โดยส่วนใหญ่ “ตะคริวตอนนอน” มักไม่เป็นอันตราย และเราสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยตัวเอง โดยใช้วิธีง่ายๆ ดังนี้

  • นวดคลึงกล้ามเนื้อบริเวณที่เป็นตะคริวเบาๆ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว
  • ยืดกล้ามเนื้อ โดยเหยียดขาให้ตรง ค่อยๆ กระดกข้อเท้าขึ้นให้ปลายนิ้วเท้าเข้าหาตัว
  • ประคบร้อนในบริเวณที่เป็นตะคริวด้วยกระเป๋าน้ำร้อนหรือผ้าชุบน้ำร้อน หรือประคบเย็นด้วยผ้าเย็นหรือถุงน้ำแข็งที่ห่อด้วยผ้าขนหนูอีกชั้นหนึ่ง
  • หากมีอาการปวดสามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือยาไอบูโพรเฟน ได้

ป้องกันไม่ให้เป็นตะคริวตอนนอน

  • พยายามยืดเหยียดกล้ามเนื้อบ่อยๆ อย่านั่งหรือยืนในท่าเดิมนานๆ
  • ควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อทั้งก่อนและหลังเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย
  • พยายามกระดกข้อเท้าขึ้นลงบ่อยๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดี และป้องกันกล้ามเนื้อน่องหดตัว
  • ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อย 8-10 แก้วต่อวัน เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะขาดน้ำ
  • พยายามลดการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น กาแฟ ช็อกโกแลต เป็นต้น
  • ควรเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เช่น โยเกิร์ต ชีส นมถั่วเหลือง อาหารที่มีโพแทสเซียม เช่น โกโก้ ลูกพรุน เมล็ดทานตะวัน กล้วย ปลาแซลมอน ผักโขม และอาหารที่มีแมกนีเซียม เช่น กล้วย ถั่วลันเตา ผักโขม ข้าวโพด เมล็ดฟักทอง งา โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์ควรได้รับสารอาหารเหล่านี้มากกว่าคนทั่วไป

ช่วงเวลาการนอนเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข และเป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการเพื่อการซ่อมแซมและชาร์ตพลังงานให้กลับมาสดชื่นในเช้าวันใหม่ แต่หากการนอนหลับพักผ่อนต้องมาสะดุดเพราะเป็น “ตะคริวตอนกลางคืน” บ่อยๆ คงไม่ดีแน่ เพราะคุณภาพการนอนจะเสียไปและส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว ใครที่มีปัญหานี้จึงควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุเพื่อรักษาให้ตรงจุด

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์

  • วิดีโอยอดนิยม
  • เรื่องที่คุณอาจพลาด
04:41

หมูเด้งฟีเวอร์! สวนสัตว์ติดกล้อง ชมความน่ารัก ตลอด 24 ชม. | เข้มข่าวค่ำ | 20 ก.ย. 67...

02:35

ฮิซบอลเลาะห์รับเสียหายหนักเหตุระเบิดอุปกรณ์สื่อสาร | ทันโลก EXPRESS | 20 ก.ย. 67

03:55

ผอ.สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ชี้แจงดรามากักขัง "น้องหมูเด้ง" | The Expose Highlight

02:39

วิดีโอเกม “ซุนหงอคง” กระตุ้นการท่องเที่ยวในมณฑลซานซี | ทันโลก EXPRESS | 20 ก.ย. 67

08:29

กพฐ.เผยผลสอบ "ครูเบญ" ไม่ผ่านเกณฑ์ | เข้มข่าวค่ำ | 20 ก.ย. 67

01:54

ทรัมป์ชี้เฟดลดดอกเบี้ยเพราะเศรษฐกิจไม่ดี | ทันโลก EXPRESS | 20 ก.ย. 67

ปรินทร์-อชิรญาณ์ คว้าแชมป์กอล์ฟ ไทยแลนด์ อเมเจอร์ โอเพ่น 2024

“Black Myth: Wukong” กระตุ้นการท่องเที่ยวในมณฑลซานซีของจีน

อาร์เตต้า ยกย่อง "รายา" เซฟยอดเยี่ยมช่วยอาร์เซน่อลแบ่งแต้มแชมเปี้ยนส์ลีก

"กิ๊ฟ วิลาวัณย์" นำอดีตนักกีฬาทีมชาติมอบอุปกรณ์กีฬาที่สุราษฎร์ฯ

22 ก.ย.นี้ ชวนติดตาม "วันศารทวิษุวัต" ปรากฏการณ์กลางวันนานเท่ากลางคืน!

เลือกตั้งสหรัฐฯ 2024: “ทรัมป์” ชี้ เฟดลดดอกเบี้ยเพราะเศรษฐกิจแย่ยุค “ไบเดน”

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

'นิคมโรจนะ'โซนอันตรายเหลือขายสูงสุดมูลค่า1.7หมื่นล้าน

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เผยผลสำรวจอุปทานโดยรวมภาคกลาง ในช่วงครึ่งแรกปี 2567 ที่อยู่อาศัยเสนอขายทั...

ตลาดหุ้นสหรัฐแทบไม่ขยับ นักลงทุนชะลอซื้อหลังดัชนีพุ่งแรงวันก่อน

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันศุกร์ (20 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการเข้าซื้อหุ้น...

เจาะพอร์ต 5 เซียนชื่อดัง ถือหุ้นปันผลสูงเกิน 5% รวม 18 หลักทรัพย์

การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้องค์ความรู้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ในทุกปัจจัยอย่างละเอียด ซึ่งม...

น้ำนมดิบอินทรีย์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรครบวงจร

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (...